7 ภาวะแทรกซ้อนโรคเบาหวาน

7 ภาวะแทรกซ้อนโรคเบาหวาน รักษา อาการ

มักเกิดกับผู้ป่วยเบาหวานที่ปล่อยปละละเลย ขาดการรักษา หรือดูแลรักษาไม่ถูกต้อง ภาวะแทรกซ้อนมีทั้งประเภทเฉียบพลัน (เช่น หมดสติ ติดเชื้อรุนแรง) และประเภทเรื้อรัง

ภาวะแทรกซ้อนประเภทเรื้อรัง มักเกิดในกลุ่มผู้ป่วยที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้อยู่เป็นเวลานาน (บางคนอาจใช้เวลา 5-10 ปีขึ้นไป) ทำให้หลอดเลือดแดงทั้งขนาดเล็กและใหญ่แข็งและตีบตัน   ส่งผลให้อวัยวะหลายส่วน (เช่น ตา ไต ระบบประสาท เท้า สมอง หัวใจ) ขาดเลือดไปเลี้ยง เป็นเหตุให้อวัยวะเหล่านี้เสื่อมสมรรถภาพ พิการ หรือเสียหน้าที่

ในที่นี้จะขอกล่าวถึงภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญหรือพบบ่อย ได้แก่

1. ภาวะหมดสติจากเบาหวาน

เป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นเฉียบพลันและรุนแรงหากไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงทีอาจเสียชีวิตได้

สาเหตุที่พบได้บ่อย คือ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ จะพบในผู้ป่วยเบาหวานที่กินยาหรือฉีดยาเบาหวานสม่ำเสมอ หรือควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ค่อนข้างดีอยู่แต่เดิมภาวะแทรกซ้อนชนิดนี้มักเกิดจากผู้ป่วยใช้ยาเบาหวานเกินขนาดอดอาหาร กินอาหารน้อยเกินไป หรือกินอาหารผิดเวลานานเกินไป  ดื่มแอลกอฮอล์มาก   หรือมีการออกแรงกายหนักและนานเกินไป

อาการ  ภาวะหมดสติจากเบาหวาน

นระยะแรกผู้ป่วยจะรู้สึกหิว ใจสั่น มือสั่น อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ มึนงง  คลื่นไส้ หงุดหงิด กระสับสระส่าย เหงื่อออก ตัวเย็น ตาพร่ามัว หรือเห็นภาพซ้อน ถ้าผู้ป่วยรีบกินน้ำตาลหรือน้ำหวาน อาการต่างๆ จะทะลุได้ภายในเวลาสั้นๆ แต่หากไม่ทำการแก้ไขดังกล่าวก็จะมีอาการขากรรไกรแข็งซักเกร็งไม่ค่อยรู้สึกตัวหรือหมดสติตรวจเลือดจะพบว่าน้ำตาลในเลือดต่ำ  ตรวจปัสสาวะไม่พบน้ำตาลในปัสสาวะ  

นอกจากนี้ ภาวะหมดสติจากเบาหวาน ยังอาจ เกิดจากสาเหตุร้ายแรงอื่นๆ ได้แก่
ภาวะคีโตแอซิโดซิส (ketoacidosis) พบเฉพาะ ในผู้ป่วยทีเป็นหวานชนิดที่ 1 ที่ขาดการฉีด อินนานๆ หรือพบในภาวะติดเชื้อหรือได้รับบาดเจ็บ ซึ่งร่างกายต้องการอินซูลินมากขึ้น ร่างกายจะมีการเผาผลาญไขมันแทนน้ำตาล ทำให้เกิดการคั่งของสารคีโตนในเลือด จนเลือดจนเกิดภาวะเลือดเป็นกรด (เรียกว่า dabetic ketoacidosis/DKA) ผู้ป่วยจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน กระหายน้ำอย่างมาก หายใจหอบลึก และลมหายใจมีกลิ่นหอม (กลิ่นของสารคีโตน) มีไข้ กระวนกระวาย มีภาวะขาดน้ำรุนแรง (ตาโบ๋ หนังเที่ยว ความดันต่ำ ชีพจรเบาเร็ว) อาจมีอาการปวดท้อง ท้องเดิน ผู้ป่วยจะ ซึมลงเรื่อยๆ จนกระทั้งหมดสติ จะตรวจพบน้ำตาลในเลือดสูงพบน้ำตาลในปัสสาวะและพบสารคีโตนในเลือดและในปัสสาวะ

ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงรุนแรง (non-ketotic  hyperglycemic hyperosmolar coma /NKHHC) มักพบในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เป็นโรคโดยไม่รู้ตัว หรือที่ขาดการรักษา หรือมีภาวะติดเชื้อรุนแรง (เช่น ปอดอักเสบ กรวยไตอักเสบ โลหิตเป็นพิษ) หรือมีการใช้ยาบางชนิด (เช่น สตีรอยด์ ยาขับปัสสาวะ) ร่วมด้วย ทำให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากๆ (สูงเกิน 600 มก./ดล. ขึ้นไป) ผู้ป่วยจะเกิดภาวะขาดน้ำรุนแรง ซึม เพ้อ ชัก หมดสติ โดยก่อนหน้าจะหมดสติเป็นวันหรือสัปดาห์ ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลีย ปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำบ่อย

2.การติดเชื้อจากเบาหวาน 

ผู้ป่วยเบาหวานจะเป็นโรคติดเชื้อง่ายเนื่องจากภูมิคุ้มกันต่ำ อาจเป็นการติดเชื้อซ้ำซาก เช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบ กลาก โรคเชื้อราแคนดิดา ช่องคลอดอักเสบเป็นฝีหรือพุพอง เป็นต้น อาจจะเป็นการติดเชื้อรุนแรง เช่น ปอดอักเสบ กรวยไตอักเสบเฉียบพลัน หูชั้นนอกอักเสบรุนแรง เท้าเป็นแผลติดเชื้อซึ่งอาจลุกลามจนเท้าเน่า เป็นต้น หรืออาจจะเป็นโรคติดเชื้อเรื้อรัง เช่น วัณโรคปอด

3.  ภาวะแทรกซ้อนของตาจากเบาหวาน

ที่สำคัญ คือ จอประสาทตาเสื่อม (retinopathy) เกิดจากการตีบตันของ หลอดเลือดแดงขนาดเล็กที่มาเลี้ยงจอประสาทตาทำให้จอประสาทตาและหลอดเลือดในบริเวณนี้เกิดความผิดปกติแบบค่อยเป็นค่อยไปในระยะแรกผู้ป่วยจะไม่รู้สึกผิดปกติจนกระทั่งเป็นมากแล้วก็จะเกิดอาการตามัวตาบอดได้ ดังนั้นจึงควรไปพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจเช็กตาปีละครั้ง(ผู้ป่วยเบาหวานขณะตั้งครรภ์ควรตรวจตาตั้งแต่อายุครรภ์ 3 เดือนแรกและตรวจเป็นระยะจนกระทั่งหลังคลอด 1 ปี เนื่องจากการตั้งครรภ์อาจทำให้จอประสาทตาเสื่อมมากขึ้น) ถ้าพบเป็นตั้งแต่ระยะ แรกเริ่มจะได้ ให้การรักษา (ประกอบด้วยการยิงเลเซอร์ไปที่หลอดเลือดที่ผิดปกติ) ป้องกันตาบอด

นอกจากนี้ยังอาจพบว่าผู้ป่วยเบาหวานเป็นต้อกระจกก่อนวัยหรือต้อหินเรื้อรัง เลือด ซึ่งถ้าไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้ตาบอดได้

4.  ภาวะแทรกซ้อนของไตจากเบาหวาน

ที่สำคัญ คือ ไตเสื่อมหรือไตวายเรื้อรัง (nephropathy หรือ chronic renal failure) เกิดจากการตีบตันของหลอดเลือดแดงขนาดเล็กที่มาเลี้ยงไต ทำให้ไตเสื่อมลงแบบค่อยเป็นค่อยไปอย่างช้าๆ ในระยะแรกจะพบว่ามีสารไข่ขาว (แอลบูมิน) หลุดออกมาในปัสสาวะจำนวนน้อย (30-299 มก./วัน ซึ่งเรียกว่า microalbuminuria) ระยะนี้ยังมีทางบำบัด เพื่อป้องกันภาวะไตเสื่อมได้

ดังนั้นจึงควรไปพบแพทย์เพื่อป้องกันภาวะไตเสื่อมได้ เพื่อตรวจสารไข่ข่าวในปัสสาวะอย่างน้อยปีละครั้ง หากปล่อยปละละเลยจนไตเสื่อมถึงที่สุดก็จะกลายเป็นไตวายเรื้อรัง ซึ่งในที่สุดอาจต้องทำการฟอกล้างไตวายเรื้อรัง ซึ่งในที่สุดาอาจต้องทำการฟอกล้างของเสียหรือล้างไต (dialysis) หรือผ่าตัดปลูกถ่ายไต

5.  ภาวะแทรกซ้อนของระบบประสาทจากเบาหวาน

ได้แก่ ระบบประสาทเสื่อม (neuropahy) เนื่องจากหลอดเลือดแดงขนาดเล็กที่มาเลี้ยงระบบประสาทเกิดการแข็งและ ตีบ ถ้าเกิดกับประสาทส่วนปลายมือปลายที่เลี้ยงแขนขา ในระยะแรกอาจมีอาการปลายมือปลายเท้าแสบร้อนหรือเจ็บเหมือนถูกเข็มทิ่มแทง มักเป็นมากตอนกลางคืนจนบางรายนอนไม่หลับอาการจะทุเลาหรือหายได้เมื่อคุมเบาหวานได้ดี ถ้าปล่อยให้น้ำตาลในเลือดสูงต่อไปนานๆ ก็จะเกิดอาการชาปลายมือปลายเท้าซึ่งจะค่อยๆ ลุกลามสูงขึ้นมาเรื่อยๆ (คล้ายใส่ถุงมือถุงเท้า อาการชาดังกล่าวเมื่อเกิดขึ้นแล้วจะไม่หายแม้ว่าต่อมาจะคุมเบาหวานได้ดีขึ้นก็ตามจนในที่สุดจะไม่มีความรู้สึก จึงเกิดบาดแผลที่เท้าง่าย  เมื่อเหยียบถูกของมีคมหรือของร้อนๆ หรือถูกของแหลมทิ่มตำ เมื่อเกิดบาดแผลก็มีโอกาสติดเชื้ออักเสบเนื่องจากภูมิคุ้มกันต่ำและเนื่องจากมีภาวะขาด เลือดจากภาวะหลอดเลือดแดงแข็งและตีบ ทำให้แผลหายยาก บางครั้งอาจลุกลามรุนแรงหรือเป็นเนื้อเน่าตาย (gangrene) จำเป็นต้องตัดนิ้วเท้าหรือข้อเท้า เกิดความพิการได้   ผู้ป่วยเบาหวานควรหมั่นดูแลเท้าอย่าให้เกิดบาดแผลและหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่เพราะจะเสริมให้หลอดเลือดแข็งและตีบมากขึ้น

บางรายอาจมีประสาทเลี้ยงกล้ามเนื้อตาเสื่อมทำให้กล้ามเนื้อตาเป็นอัมพาต มีอาการตาเหล่ หนังตาตก หลับตาไม่สนิท รูม่านตาขยาย มองเห็นภาพซ้อน อาการเหล่านี้มักหายได้เองภายใน 6-12   สัปดาห์

นอกจากนี้ ยังอาจมีความเสื่อมของระบบประสาทอัตโนมัติ (autonomic neuropathy) ซึ่งควบคุมอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกาย ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะจากภาวะความดันตกในท่ายืน อาการอาหารไม่ย่อยหรือแสบลิ้นปี่จากโรคกรดไหลย้อน ปวดท้อง ท้องเดิน หรือท้องผูกเรื้อรังจากโรคลำไส้แปรปรวน กระเพาะปัสสาวะหย่อนสมรรถภาพ (ทำให้ถ่ายปัสสาวะออกไม่หมด เกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบเรื้อรัง) ต่อมเหงื่อไม่ทำงาน (ทำให้ผิวแห้ง) องคชาตไม่แข็งตัว (erectile dysfunction ซึ่งนอกจากเกิดจากประสาทที่ไปเลี้ยงองคชาตเสื่อมแล้วยังเป็นผลมาจากหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงองคชาตเกิดการแข็งและตีบอีกด้วย)

6.   ภาวะหลอดเลือดแดงขนาดใหญ่แข็ง (stherosclerosis) 

ทำให้หลอดเลือดตีบตัน ขาดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะสำคัญๆ ได้แก่ หัวใจ สมอง ทำให้เกิดโรคหัวใจ ขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้ามีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ความดันโลหิตสูงไขมันในเลือดสูงหรือผิดปกติ อ้วนสูบบุหรี่ เป็นต้น ก็ยิ่งมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน เหล่านี้ได้มากยิ่งขึ้น ผู้ป่วยเบาหวานต้องควบคุมเบาหวาน และปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้พร้อมๆ กันไป รวมทั้งจำเป็นต้องกินแอสไพรินเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้

นอกจากนี้ หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงขาและเท้า ก็เกิดการตีบตันได้ เลือดไปเลี้ยงขาและเท้าไม่พอ ทำให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อน่องขณะเดินมากๆ (intermittent claudication) ถ้าเกิดเป็นแผลที่เท้า แผลหายยาก หรือนิ้วเท้าเป็นเนื้อตายเน่า (gangrene) และอาจพบเป็น ตะคริวตอนกลางคืนได้บ่อย

ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ จากโรคเบาหวาน

ผู้ป่วยเบาหวานยังอาจ เป็นปัจจัยของการเกิดโรคอื่นๆ อีก เช่น ภาวะไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง  นิ่วนำดี เส้นประสาท มือถูกพังผืดรัดแน่น ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจพิการ (cardiomyopathy ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจวาย) ได้ ภาวะไขมันสะสมในตับ (fatty liver ซึ่งอาจทำให้กลายเป็นตับแข็งหรือมะเร็งตับ) รวมทั้งมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับอ่อนมากขึ้น

ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ไม่ดีมีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย เนื่องจากภูมิคุ้มกันโรคต่ำ (เม็ดเลือดขาวทำหน้าที่กำจัดเชื้อโรคได้น้อยลง) นอกจากนี้ ผู้ป่วยเบาหวานยังก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในลักษณะอื่นๆ เป็นเหตุให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้อีกหลากหลาย

[Total: 3 Average: 5]

Leave a Reply

Discover more from HEALTH ME NOW

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading