5 วิธีทำยังไงดีล่ะ? หากเป็น “ภาวะต่อมหมวกไตล้า”

ปวดหลัง

ปรึกษาแพทย์ หรือ ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย เพื่อซักประวัติ ตรวจร่างกาย และวินิจฉัยแยกโรคอื่นๆที่อาจมีอาการคล้ายคลึงกัน ด้วยการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม หากตรวจพบว่ามีภาวะต่อมหมวกไตล้าจริง ก็สามารถรักษาได้ เพียงปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หรือ รูปแบบการใช้ชีวิต เช่น

  1. เข้านอนให้เร็วขึ้น โดยเลี่ยงกิจกรรมที่ใช้แสงไฟจ้า1ชั่วโมงก่อนนอน เช่น งดดูทีวี เล่นมือถือ ทำงานคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ในช่วงเดือนแรกอาจรับประทาน เมลาโทนิน (Melatonin) เป็นตัวช่วยที่ปลอดภัยเพื่อให้นอนหลับได้เร็วยิ่งขึ้น
  2. ควรรับประทานอาหารเช้าทุกวัน โดยเน้นสารอาหารประเภทโปรตีน เช่น เนื้อสัตว์ นม ไข่ และคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนที่มี Glycemic index ต่ำ เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีต เพื่อให้พลังงานให้แก่ร่างกายได้อย่างยาวนาน
  3. ผู้ที่ไม่สามารถหาอาหารที่เป็นประโยชน์แก่ร่างกายได้เพียงพอ สามารถรับประทานอาหารเสริมเหล่านี้เพิ่มเติมได้ เช่น Vitamin C ,Magnesium, CoQ10
  4. ควรออกกำลังกายประเภท Stretching Exercise เช่น โยคะ พิลาทิส รำไท้เก๊ก แต่!ห้ามออกกกำลังกายหนัก เนื่องจากการที่ร่างกายต้องใช้พลังงานมากจะยิ่งส่งผลให้ต่อมหมวกไตทำงานหนักยิ่งขึ้น
  5. หาวิธีคลายความเครียด หรือ วิธีที่ตัวเองรู้สึกผ่อนคลาย เช่น นั่งสมาธิ เล่นดนตรี ฟังเพลง ช้อปปิ้ง ดูหนัง ดูคอนเสิร์ต ปลูกต้นไม้ เลี้ยงสัตว์ เดินทางท่องเที่ยว
[Total: 3 Average: 4.7]

Leave a Reply

Discover more from HEALTH ME NOW

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading