การผ่าตัดมดลูกผ่านกล้องส่องช่องท้อง: ไร้แผล ไร้กังวล

กินปัสสาวะ ไม่ไร้สาระ คือ ข้อเสียอันตราย ประโยชน์ ฉี่

    ในอดีต นรีเแพทย์ทำการผ่าตัดที่อวัยวะใดๆ ในช่องท้องและอุ้งเชิงกรานโดยผ่าเปิดแผลที่ผิวหนังบริเวณหน้าท้องเข้าไปจนถึงอวัยวะที่ต้องการผ่าตัดนั้นโดยตรง ต่อมามีการพัฒนาการผ่าตัดอวัยวะในช่องท้องและอุ้งเชิงกรานโดยการเจาะเป็นรูขนาดเล็กๆ ที่ผนังหน้าท้อง เพื่อสอดใส่กล้องและเครื่องมือผ่าตัดลงไปทำการผ่าตัด เรียกว่า การผ่าตัดผ่านกล้องส่องช่องท้อง หรือที่รู้จักกันแพร่หลายและเรียกสั้นๆ ว่า การผ่าตัดผ่านกล้องฯ ซึ่งจัดเป็นการผ่าตัดยุคใหม่ที่รุกล้ำน้อย (Minimally invasive surgery) หรือมีการบาดเจ็บเนื้อเยื่อน้อยนั่นเอง

        การผ่าตัดมดลูกผ่านกล้องฯ มีหลักสำคัญ คือ แผลขนาดเล็ก เจ็บปวดน้อย หายเร็ว และสวยงามโดยที่ยังคงมีประสิทธิภาพเฉกเช่นเดียวกับการผ่าตัดผ่านแผลหน้าท้องขนาดใหญ่แบบดั้งเดิม โดยทั่วไปการผ่าตัด  ผ่านกล้องฯ อาศัยแผลบนผนังหน้าท้องขนาดเล็กๆ ยาว 0.5 – 1.0 เซนติเมตร จำนวน 3 – 4แผล (รูปที่ 2) เพื่อใช้เป็นทางผ่านเข้าไปของเครื่องมือผ่าตัดและกล้องส่องช่องท้อง ที่เรียกว่า  แลปพาโร-สโคป  ซึ่งต่อเชื่อมกับเครื่องรับสัญญาณเพื่อแสดงผลที่หน้าจอภาพ ทำให้แพทย์สามารถมองเห็นอวัยวะภายในช่องท้อง  อุ้งเชิงกราน  และควบคุมการผ่าตัดจากภายนอกช่องท้องได้ผ่านทางเครื่องมือที่สอดผ่านแผลบริเวณหน้าท้องเข้าไป

        ในปัจจุบัน การผ่าตัดผ่านกล้องได้รับการพัฒนาให้ก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น โดยลดจำนวนแผลลงจากหลายแผลเหลือเพียงแผลเดียว (Single port laparoscopy) บริเวณสะดือ และในที่สุดไม่จำเป็นต้องมีแผลอีกต่อไป ซึ่งมีข้อดียิ่งขึ้น คือ ลดความเจ็บปวดแผล และไม่ต้องกังวลเรื่องแผลเป็นบริเวณหน้าท้องอีกต่อไป เพราะแพทย์สามารถทำการผ่าตัดทั้งหมดผ่านกล้องทางช่องคลอด เรียกย่อๆ ว่า NOTES หรือเป็นที่รู้จักกันว่า “การผ่าตัดไร้แผล” นั่นเอง (รูปที่ 4) นับว่าเป็นการก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ของการผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช ซึ่งมีการพัฒนาการตลอดเวลาอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง

การผ่าตัดผ่านกล้องไร้แผลแตกต่างจากการผ่าตัดผ่านกล้องทั่วไปอย่างไร

        การผ่าตัดผ่านกล้องไร้แผล คือ วิธีการผ่าตัดผ่านกล้องแบบใหม่ ที่พัฒนามาจากแบบเดิมซึ่งมีแผลผ่าตัดเล็กๆ ที่หน้าท้อง 3 – 4 แผล มาเป็นแบบไม่มีแผลที่หน้าท้อง เพราะแพทย์สามารถผ่าตัดทั้งหมดผ่านทางช่องคลอด โดยมีอุปกรณ์พิเศษที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อใส่ในช่องคลอด ทำหน้าที่ปกป้องผนังช่องคลอด และเป็นช่องทางให้แพทย์สอดเครื่องมือผ่าตัดและกล้องแลปพาโรสโคปผ่านเข้าไปทำการผ่าตัดในช่องท้อง อนึ่ง การผ่าตัดไร้แผลนี้ ใช้หลักการผ่าตัดและเครื่องมือเช่นเดียวกับการผ่าตัดผ่านกล้องฯ ทั่วไป แต่แพทย์ผู้ผ่าตัดจำเป็นต้องมีทักษะสูงและอาจจำเป็นต้องใช้เครื่องมือบางชิ้นที่ออก แบบมาเพื่อการนี้โดยเฉพาะ

ข้อดีของการผ่าตัดผ่านกล้องไร้แผลมีอะไรบ้าง

        ข้อดีของการผ่าตัดผ่านกล้องแบบทั่วไปและแผลเดียว ได้แก่ แผลผ่าตัดเล็ก สวยงาม เสียเลือดน้อย เจ็บแผลน้อย ระยะพักฟื้นสั้น สำหรับการผ่าตัดผ่านกล้องไร้แผลนั้น มีข้อดียิ่งขึ้นไปอีก คือ การที่ไม่มีแผลผ่าตัดบริเวณหน้าท้องเลย ย่อมลดความเจ็บปวดหลังผ่าตัดลงไปอีก และไม่มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวเนื่องกับแผลหน้าท้อง เช่น แผลบวมช้ำ อักเสบ ติดเชื้อ แผลเป็น หรือไส้เลื่อน เป็นต้น (รูปที่ 5) จึงเหมาะสมอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องน้ำหนักเกิน เพราะจะทำให้ระยะพักฟื้นสั้นลง สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้เร็วขึ้น

ข้อจำกัดของการผ่าตัดผ่านกล้องไร้แผลมีอะไรบ้าง

        ในทางเทคนิคการผ่าตัดผ่านกล้องไร้แผลยังมีข้อจำกัดอยู่บ้าง เนื่องจากไม่มีแผลที่หน้าท้องจึงเป็นการผ่าตัดที่ยากกว่าการผ่าตัดผ่านกล้องแบบทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่มีพังผืดในอุ้งเชิงกราน หรือมดลูกมีขนาดใหญ่มากๆ หรือช่องคลอดมีขนาดแคบเกินไป ฉะนั้น นอกจากการมีเครื่องมือและอุปกรณ์ผ่าตัดที่เหมาะสมและทันสมัยแล้ว ยังต้องอาศัยทักษะความชำนาญของแพทย์ผู้ผ่าตัดที่มีประสบการณ์ผ่าตัดผ่านกล้องที่มากพอและได้รับการฝึกอบรมมาอย่างถูกต้อง อนึ่ง ผู้ป่วยที่ไม่แน่ใจว่าตนเองเหมาะสมต่อการผ่าตัดผ่านกล้องไร้แผลหรือไม่ กรุณาสอบถามแพทย์ผู้ดูแลคุณได้ถึงรายละเอียดเฉพาะกรณีไป

ค่าใช้จ่ายของการผ่าตัดผ่านกล้องไร้แผลเป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับการผ่าตัดแบบดั้งเดิม

        โดยทั่วไปค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดสำหรับการผ่าตัดผ่านกล้องแบบทั่วไป (หลายแผล) จะสูงกว่าหัตถการชนิดเดียวกันที่ทำผ่านแผลหน้าท้องประมาณสองเท่า เพราะว่ามีใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ผ่าตัดที่ทันสมัยและมีเทคโนโลยีสูงกว่า สำหรับการผ่าตัดผ่านกล้องไร้แผลจะมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นกว่าการผ่าตัดผ่านกล้องทั่วไปอีกอย่างน้อยห้าหมื่นบาท ขึ้นกับโรคที่คุณเป็นและระยะเวลาที่ใช้ในการผ่าตัด ซึ่งแพทย์ผู้ผ่าตัดจะทำการประเมินความยากง่ายของหัตถการ ตลอดจนวางแผนก่อนผ่าตัดเป็นกรณีไป

[Total: 0 Average: 0]

Leave a Reply