การตรวจหาค่าสังกะสี (Zinc)

การตรวจหาค่าสังกะสี (Zinc) เป็นการวัดระดับสังกะลีในซีรั่ม  ซึ่งเป็นแร่ธาตุ ที่มีอยู่ในธรรมชาติ ที่สำคัญมีเอนไซม์และโปรตีนมากกว่าร้อยละ 80  และมีบทบาทเป็นเอนไซม์ของสารเร่งปฏิกิริยาเคมี

สังกะสี  เกิดขึ้นตามธรรมชาติ  เช่น ในน้ำและในอาหารส่วนใหญ่ ความเข้มข้นสูงของสังกะสีจะพบในเนื้อ  อาหารทะเล  ผลิตภัณฑ์นมธัญพืชขัดสีน้อย (whole grains) ถั่ว (nuts)  และพืชตระกูลถั่ว (legumes) การขาดสังกะสีจะทำให้การเผาผลาญ การเจริญเติบโต  และการพัฒนาการในร่างกายผิดปกติอย่างมาก

วัตถุประสงค์
                       เพื่อตรวจหาพิษของสังกะสี

ผลการตรวจที่ผิดปกติ

      ค่าปกติ    สังกะสีในพลาสม่า     =       70 –  120    µg / dl

ผลการตรวจที่ผิดปกติ

  1. ระดับของสังกะสีในซีรั่มที่ลดลง  อาจบ่งชี้ถึงการรับประทานอาหารไม่เพียงพอ  หรือเนื่องจากเป็นโรคอื่นมาก่อน  หรือมีภาวะพร่องสังกะสีจากกรรมพันธุ์
  2. ระดับของสังกะสีที่ต่ำลงอย่างชัดเจน  พบบ่อยในผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาว (leukemia) และอาจเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของ  Zinc – dependent enzyme  systems
  3. ระดับของสังกะสีที่ต่ำ  พบบ่อยร่วมกับตับแข็งจากแอลกอฮอล์ (alcoholic Cirrhosis  of  the  liver) กล้ามเนื้อหัวใจตาย  (myocardial  infarction) ลำไส้เล็กส่วนล่างอักเสบ (ileitis) ไตวายเรื้อรัง (chronic renal  failure) ข้ออักเสบรูมาตอยด์ (rheumatoid  arthritis) และภาวะซีด (เช่น hemolytic, sickle cell  anemia)
  4. ระดับของสังกะสีสูงขึ้น  หากระดับของสังกะสีในซีรั่มมีแนวโน้มเป็นพิษอาจเป็นผลมาจากการรับประทานสังกะสีเข้าไปโดยไม่ตั้งใจ   (accidental  ingestion)  หรือ สัมผัสจากสิ่งแวดล้อมประเภทโรงงานอุตสาหกรรม (industrial  exposure)
[Total: 0 Average: 0]