การผ่าตัดปลูกถ่าย/เปลี่ยนกระจกตา (Cornea Transplant Surgery)

การผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตา (Cornea Transplant) คือการตัดเอาเนื้อเยื่อกระจกตาส่วนที่มีปัญหาของผู้ป่วยออก แล้วแทนที่ด้วยกระจกตาของผู้บริจาคดวงตา

กระจกตาเป็นชั้นเนื้อเยื่อใสส่วนหน้าสุดของลูกตา ทำหน้าที่เสมือนหน้าต่าง ช่วยให้จอประสาทตาสามารถโฟกัสแสงได้เป็นปกติ ก่อนส่งภาพที่ได้ไปแปลผลในสมองส่วนที่เกี่ยวข้องทำให้เรามองเห็นภาพต่างๆ ได้ชัดเจน

เมื่อกระจกตาถูกทำลาย ความโปร่งใสก็จะลดลง รูปร่างของกระจกตาเปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้กระบวนการนำแสงไปสู่จอประสาทตาผิดปกติ ภาพที่ถูกส่งไปแปลผลที่สมองจึงผิดรูปหรือไม่ชัดเจน จึงจำเป็นต้องผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตา เพื่อให้สามารถมองเห็นได้ชัดเจนเป็นปกติอีกครั้ง

กระจกตา คืออะไร

กระจกตาเป็นส่วนที่อยู่หน้าสุดของดวงตา มีหน้าที่สำคัญคือช่วยในการมองเห็น เนื่องจากกระจกตามีลักษณะที่บางใส และช่วยคงความคงที่ให้พอเหมาะอยู่ตลอดเวลา จึงทำให้แสงที่ส่องผ่านกระจกตา สามารถโฟกัสรวมภาพที่จุดรับภาพได้พอดี และทำให้เกิดการมองเห็นที่สมบูรณ์ หากมีโรคเกิดขึ้นกับกระจกตา จะมีผลทำให้คุณสมบัติด้านการมองเห็นสูญเสียไป เช่น โรคที่กระจกตาผิดปกติแต่กำเนิด โรคกระจกตาเป็นแผล การติดเชื้อ กระจกตาเสื่อมที่เกิดภายหลังการผ่าตัดตา อุบัติเหตุที่มีการฉีกขาดของกระจกตา ทั้งหมดล้วนมีผลเกิดแผลเป็นที่กระจกตา กระจกตาบวมหรือความโค้งที่ผิดรูปร่างไป ซึ่งทำให้เกิดการสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวร ซึ่งการแก้ไขคือ การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตานั่นเอง

การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตามีรายละเอียดดังนี้

1. การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาเป็นวิธีเดียวที่จะแก้ไขภาวะตาบอดจากโรคกระจกตาได้โดยการตัดเอากระจกตาส่วนที่เป็นโรคออกและนำเอากระจกตาคุณภาพดีที่ได้รับการบริจาคมาเย็บเข้าไปแทน
2. หลังการผ่าตัด เมื่อกระจกตาใหม่ทำงานได้ตามปกติแล้วจะทำให้มองเห็นได้ดีขึ้น ‎
3. การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาต้องทำโดยจักษุแพทย์ที่เชี่ยวชาญ

ทำการผ่าตัดแล้วได้ผลดีแค่ไหน ‎

1. การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตานับเป็นการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะชนิดหนึ่งที่ได้ผลดีที่สุด ทั้งนี้เพราะกระจกตามีความใสและไม่มีเส้นเลือดเข้ามาเลี้ยงโดยตรงซึ่งต่างจากอวัยวะอื่นๆ ‎2. ปกติร่างกายของผู้ได้รับอวัยวะจะเกิดภูมิต้านทานอวัยวะที่ไม่ใช่ของตนโดยผ่านทางกระแสเลือด ดังนั้นหลังการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาจึงมีโอกาสน้อยที่ร่างกายของผู้ที่ได้รับจากเกิดต่อต้าน ทำให้กระจกตาที่เปลี่ยนไปนั้นยังคงความบางใสและกลับมามองเห็นได้ปกติหรือใกล้เคียงปกติ ‎3. ผู้ที่ได้รับการเปลี่ยนกระจกตาต้องได้รับยากดภูมิต้านทานไประยะหนึ่ง และควรได้รับการตรวจติดตามโดยจักษุแพทย์อยู่ตลอดเพื่อป้องกันและรักษาโรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น ‎4. การเปลี่ยนกระจกตาในโรคบางชนิดอาจได้ผลไม่ดีนะ ได้แก่กลุ่มโรคกระจกตาที่เกิดจากการโดนสารเคมีหรือความร้อนเข้าตา โรคแพ้ยาอย่างรุนแรง ซึ่งกลุ่มโรคเหล่านี้จะส่งผลให้มีเส้นเลือดผิดปกติจำนวนมากงอกเข้ามาในกระจกตา นำไปสู่การเกิดภูมิต่อต้าน นอกจากนี้หากผู้ป่วยมีโรคของดวงตาส่วนอื่นร่วมอยู่ด้วย เช่น โรคต้อหิน โรคจอประสาทตาหลุดลอก ก็ทำให้การมองเห็นหลังการผ่าตัดไม่ดีเท่าที่ควร

[Total: 0 Average: 0]