ปวดเท้า

ความรู้สึกไม่สบายที่เท้า

สาเหตุทั่วไปของอาการ ปวดเท้า

การปวดเท้าอาจมีสาเหตุที่ไม่ได้มาจากโรคพื้นเดิม ตัวอย่างเช่น ร้องเท้าที่ไม่พอดีเท้า ยืนนานเกินไป การใช้เท้ามากเกินไป เช่น เดินระยะไกลหรือเดินมาราธอน เอ็นหรือกล้ามเนื้อยืดเกินไปหรือฉีกขาด หรือบาดแผล

การรักษา ปวดเท้า ด้วยตนเอง

การพักเท้าให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ การหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้ปวดมากขึ้น และการประคบเย็นนานไม่เกิน 20 นาทีวันละหลายๆ ครั้งอาจช่วยบรรเทาอาการปวดได้ การใช้ยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล ไอบูโพรเฟน หรือนาโพรเซน อาจช่วยได้เช่นกัน

ปวดเท้า เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์

ไปพบแพทย์ในกรณีต่อไปนี้

  • อาการบวมไม่ดีขึ้นใน 2-5 วัน
  • มีอาการปวดต่อเนื่องหรือแย่ลง
  • ทำงานหรือกิจกรรมประจำวันลำบาก
  • มีอาการชา ปวดแสบปวดร้อน หรือเสียวแปลบ

ไปพบแพทย์ทันทีในกรณีต่อไปนี้

  • มีบาดแผลเปิดหรือการผิดรูปอย่างชัดเจน
  • ปวดหรือบวมอย่างรุนแรง
  • ลงน้ำหนักที่เท้าไม่ได้เลย
  • มีร่องรอยการติดเชื้อ เช่น มีรอยแดงหรือมีไข้
  • บาดแผลไม่ดีขึ้น

โรคที่เกี่ยวข้องกับ ปวดเท้า

กล้ามเนื้อฉีก

กล้ามเนื้อหรือเนื้อเยื่อที่เชื่อมกล้ามเนื้อและกระดูก (เส้นเอ็น) ยืดหรือฉีกขาด การแสดงอาการ:

  • ปวดกล้ามเนื้อ
  • การจํากัดพิสัยการเคลื่อนไหว
  • ตะคริว

ข้อเท้าแพลง

การบาดเจ็บที่เกิดขึ้นเมื่อข้อเท้าหมุน พลิก หรือหันไปในทางที่ผิดปกติ การแสดงอาการ:

  • ปวดเท้า
  • ปวดข้อเท้า
  • ข้อเท้าหลวม

พังผืดอักเสบที่ฝ่าเท้า

การอักเสบของเนื้อเยื่อแถบหนาที่เชื่อมกระดูกส้นเท้าและนิ้วเท้า การแสดงอาการ:

  • ปวดเท้า
  • ปวดส้นเท้า
  • อาการกดเจ็บ

ปลายประสาทอักเสบ

กล้ามเนื้ออ่อนแรง อาการชา และอาการเจ็บปวดจากเส้นประสาทที่ถูกทำลาย มักเกิดที่มือและเท้า การแสดงอาการ:

  • ปวดเท้า
  • เหน็บชาและร้อนวูบทำให้ไม่สบายตัว
  • ปวดแบบแสบร้อน/คล้ายเข็มทิ่ม

เกาต์

ข้ออักเสบประเภทหนึ่งที่อาการรวมถึงความเจ็บรุนแรง ผิวแดง และมีอาการกดเจ็บที่ข้อต่อ การแสดงอาการ:

  • ปวดเท้า
  • อาการบวม
  • ข้ออักเสบ
[Total: 0 Average: 0]