เจ็บเข่าใต้กระดูกสะบ้า

อาการเจ็บเข่าใต้กระดูกสะบ้าพบได้บ่อยที่สุดในกลุ่มอาการการใช้งานมากเกินไปในเด็ก (Overuse Syndrome) ความผิดปกติในกลุ่มอาการนี้เกิดจากการเคลื่อนไหวซ้ำๆหรือการบาดเจ็บที่เกิดจากออกกำลังกายต่อเนื่องนานๆ ของตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งในร่างกายโดยเฉพาะข้อต่อและเส้นเอ็น ความผิดปกติพวกนี้มักเจอในผู้ใหญ่(เทนนิสหรือกอล์ฟเอลโบ, คาร์ปาลทันนัล ซินโดรม ฯลฯ) มากกว่าในเด็กอาการเจ็บเข่าใต้กระดูกสะบ้าหมายถึงอาการเจ็บด้านหน้าของเข่าขณะทำกิจกรรมที่มีแรงกดลงบนข้อต่อที่เกิดจากกระดูกสะบ้า (พาเทลล่า) และกระดูกต้นขา (ฟีเมอร์)เมื่อมีอาการปวดข้อเข่าร่วมกับการเปลี่ยนแปลงของพื้นผิวกระดูกอ่อนด้านในของกระดูกสะบ้า

ทางการแพทย์เรียกว่า "กระดูกอ่อนเคลือบกระดูกสะบ้านิ่ม" (chondromalacia of the patella หรือchondromalacia patellae)ชื่อเรียกอื่นๆ ที่ใช้เรียกอาการนี้ได้แก่ patellofemoral syndrome, anterior knee pain, chondromalacia of patella, chondromalacia patellae

สาเหตุ เจ็บเข่าใต้กระดูกสะบ้า

พบได้น้อยในเด็กอายุไม่เกิน 8 ปีและพบมากขึ้นๆ ในช่วงวัยรุ่น เจอในเพศหญิงมากกว่าเพศชายนอกจากนี้เด็กที่มีมุมหัวเข่าผิดปกติเช่น การผิดรูปแบบเข่าชนกัน (knock-knees, genu valgum) หรือการผิดรูปแบบขาโก่ง (bow legs, genu varum)และเด็กที่มีแนวของกระดูกสะบ้าผิดไปจากปกติและไม่มั่นคงก็มีโอกาสในการเกิดโรคนี้ได้มากขึ้น

อาการ เจ็บเข่าใต้กระดูกสะบ้า

ผู้ป่วยมีอาการปวดเข่าด้านหน้าซึ่งเป็นมากขึ้นเวลาทำกิจกรรม เช่น วิ่ง ปีนขึ้นลงบันได นั่งยองๆ กระโดดเป็นต้น และปวดมากขึ้นเวลานั่งนานๆ ในท่างอเข่า

การรักษา เจ็บเข่าใต้กระดูกสะบ้า

อาการเจ็บเข่าใต้กระดูกสะบ้าในเด็กที่สุขภาพแข็งแรงเป็นสิ่งที่ใช้ในการวินิจฉัย(โดยไม่จำเป็นต้องเจาะเลือดหรือเอกซเรย์) การตรวจร่างกายพบว่ามีอาการเจ็บมากขึ้นถ้ากดที่กระดูกสะบ้าหรือดันไม่ให้กระดูกสะบ้าเคลื่อนขึ้นด้านบนเวลาเกร็งกล้ามเนื้อต้นขา (ควอดดริเซปส์)

ในเด็กส่วนมากที่ไม่มีความผิดปกติอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น มุมหัวเข่าผิดปกติหรือแนวของกระดูกสะบ้าผิดไปจากปกติอาการเหล่านี้มักไม่มีอันตรายและหายเองได้แต่หากอาการปวดมีผลต่อการเล่นกีฬาหรือการทำกิจวัตรประจำวันการออกกำลังกายเพื่อให้กล้ามเนื้อต้นขาแข็งแรงจะสามารถช่วยได้การประคบเย็นหลังจากออกกำลังกายก็สามารถลดอาการปวดได้เช่นกัน

[Total: 0 Average: 0]