เดินเซ

การทรงตัวหรือการทำงานประสานกันบกพร่อง อาจเกิดขึ้นเพราะมีความเสียหายที่สมอง เส้นประสาท หรือกล้ามเนื้อ

สาเหตุ เดินเซ

สาเหตุที่พบบ่อยการทรงตัวบกพร่องอาจมีสาเหตุที่ไม่ได้มาจากโรคพื้นเดิม ตัวอย่างเช่น ภาวะยาเป็นพิษหรือแอลกอฮอล์เป็นพิษ

ตัวอย่างโรคที่มักพบว่าเป็นสาเหตุของอาการเซ เช่น

  • อาการบาดเจ็บทางศีรษะ เช่น ศีรษะกระแทกจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ อาจทำให้สมองและกระดูกสันหลังได้รับความเสียหายจนเกิดอาการเซในทันทีทันใด  
  • โรคหลอดเลือดสมอง เมื่อเลือดไปเลี้ยงสมองได้ไม่พอหรือน้อยเกินไป จะทำให้ออกซิเจนและสารอาหารไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ และทำให้เซลล์สมองตาย
  • สมองพิการ (Cerebral Palsy) เป็นกลุ่มโรคความผิดปกติในการพัฒนาสมองตั้งแต่เด็ก อาจเกิดได้ตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์ไปถึงหลังคลอดไม่นาน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการควบคุมกล้ามเนื้อของร่างกาย
  • กลุ่มโรคภูมิต้านทานตนเอง (Autoimmune Disease) เช่น โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งหรือโรคเอ็มเอส โรคซาคอยโดซิส (Sarcoidosis) โรคเซลิแอค (Celiac Disease) หรือแพ้กลูเตน
  • เนื้องอกสมอง ทั้งชนิดที่เป็นเซลล์มะเร็งและไม่เป็นมะเร็งล้วนแต่สร้างความเสียหายให้กับสมองส่วนเซรีเบลลัมได้เช่นกัน
  • ยาและสารพิษบางชนิด เช่น ยาในกลุ่มบาร์บิทูเรต (Barbiturate) หรือยาเคมีบำบัดบางตัว แอลกอฮอล์ พิษของสารเคมีและโลหะหนัก
  • การขาดวิตามินอี วิตามินบี 12 และวิตามินบี 1 เนื่องจากร่างกายไม่สามารถดูดซึมวิตามินเหล่านี้ได้จากสภาวะทางร่างกายบางอย่าง เช่น ผู้ที่ติดสุราเรื้อรัง จึงส่งผลให้เกิดอาการเซตามมา
  • ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณเล็กน้อยอาจทำให้เกิดอาการเดินเซได้ชั่วคราว แต่ในคนที่ดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนักอาจทำให้เดินเซได้ถาวร และส่งผลให้เส้นประสาทในส่วนของเซรีเบลลัมเสื่อม

อาการ เดินเซ

อาการเดินเซ (Ataxia) แบ่งออกเป็น 3 ประเภทดังนี้

  1. การเดินเซที่เกิดจากการรับส่งประสาททั่วไป (proprioceptive ataxia) ซึ่งอาจเกิดจากรอยโรคที่ ไขสันหลัง ไปจนถึงก้านสมองทำให้การทำงานของขาไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ (proprioceptive ataxia) ซึ่งจะกล่าวถึงในบทความนี้
  2. การเดินเซ จากปัญหาของสมองน้อย (cerebellar ataxia)
  3. การเดินเซ จากปัญหาของระบบการทรงตัว (vestibular ataxia)

 Proprioceptive ataxia คือ การเดินเซ ที่เกิดจาก ประสาทการรับรู้เกี่ยวกับการทำให้ร่างกายอยู่ในท่าทางปกติ มันผิดเพี้ยนไปจากปกติ หรือยกตัวอย่างง่ายให้นึกถึง สุนัขที่เป็น อัมพาตสองขาหลัง หรือ อัมพาตทั้งสี่ขา

โดยปกติ ร่างกายจะอยู่ในลักษณะท่าทางที่ควรจะเป็น หากต้องการจะยืน ก็จะยืนได้ หรือต้องการจะเดิน ก็จะเดินได้ปกติซึ่งการทำงานให้ทุกอย่างมันอยู่ในลักษณะที่ปกติ ต้องใช้ 3 ส่วนประกอบหลัก ได้แก่

  1. ประสาทการรับรู้ (sensory) ที่ต้องผ่านประสาทขาเข้า (afferent pathway)
  2. ศูนย์ประมวลผล (สมอง) 
    3. กลุ่มกล้ามเนื้อที่ถูกสั่งการ ให้เกิดการเคลื่อนไหว(motor activity)ซึ่งต้องผ่านเส้นประสาทขาออก (efferent pathway)

การรักษา อาการเซ

แนวทางในการรักษาจะขึ้นอยู่กับประเภทและสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการเซเป็นหลัก จึงไม่มีวิธีเฉพาะเจาะจง การรักษามักมุ่งเน้นให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้เป็นปกติหรือใกล้เคียงสภาพปกติมากที่สุด ซึ่งแบ่งออกได้หลายวิธี

การรักษาตามสาเหตุ หากพบว่าอาการเซเกิดจากโรคหรือความผิดปกติของร่างกาย แพทย์จะรักษาต้นตอที่ทำให้เกิดอาการ แต่ถ้าเกิดจากสภาพแวดล้อมหรือปัจจัยกระตุ้นอื่น ๆ แพทย์จะแนะนำให้หลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านั้นให้มากที่สุด และแนะนำวิธีรักษา เช่น รับประทานวิตามินและแร่ธาตุเสริมในรายที่มีอาการขาดวิตามิน ควรเลี่ยงการสัมผัสหรือหยิบจับสารพิษที่เป็นต้นเหตุ การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินปริมาณควรงดการดื่มและถอนพิษจากแอลกอฮอล์ ซึ่งบางรายแพทย์อาจให้รับประทานไทอะมีน (Thiamine) หรือวิตามินบี 1 เพิ่มเติม รวมถึงการรักษาโดยการผ่าตัด ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งในการรักษาโรคที่เป็นสาเหตุ เช่น เนื้องอกสมอง ฝีในสมอง หรือน้ำคลั่งในโพรงสมอง ซึ่งผลการรักษาจะแตกต่างกันในแต่ละราย

[Total: 0 Average: 0]