บ้านหมุนจากการเปลี่ยนท่า

บ้านหมุนจากการเปลี่ยนท่า คือ ภาวะนี้หมายถึง อาการวิงเวียนแบบบ้านหมุนหรือ สิ่งรอบตัวหมุนที่เกิดขึ้นเป็นช่วงสั้นๆ ร่วมกับอาการตา กระตุก (nystagmus) และเกิดขึ้นฉับพลันขณะมีการ เปลี่ยนท่าหรือเคลื่อนไหวศีรษะ ภาวะนี้จัดเป็นสาเหตุ ของอาการบ้านหมุน (vertigo) ที่พบได้บ่อยที่สุด จะพบได้มากขึ้นตามอายุที่มากขึ้น จึงพบได้บ่อยในผู้สูงอายุและพบได้น้อยในคนอายุต่ำกว่า 35 ปี

สาเหตุ บ้านหมุนจากการเปลี่ยนท่า

เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของหูชั้นในส่วนลาบิรินท์ (labyrinth) ที่ทำหน้าที่ควบคุมเกี่ยวกับการทรงตัว  ประกอบด้วยหลอดกึ่งวง 3 อัน (ด้านหน้า ด้านหลัง และด้านข้าง) ซึ่งภายในมีของเหลวและเซลล์ประสาท บรรจุอยู่หลอดกึ่งวงทั้ง 3 อันนี้มีช่องเชื่อมต่อกับกระ เปาะที่เรียกว่า “ยูทริเคิล (utrcle) และ “แซกคูล (saccule)” ในคนปกติจะมีผลึกหินปูนเกาะอยู่ในยูทรเคิลและแซกคูล ทำหน้าที่ช่วยในการรับรู้ทิศทางการเคลื่อนไหวของร่างกาย ถ้าหากมีผลึกหินปูนจำนวนมากหลุดออกมาจากส่วนนี้เข้าไปลอยอยู่ในของเหลวภายในหลอดกึ่งวง ก็จะเกิดการรบกวนเซลล์ประสาทภายใน หลอดกึ่งวง ทำให้เกิดอาการบ้านหมุนอย่างรุนแรง ผลึกหินปูนดังกล่าวสามารถหลุดลอยเข้าไปในหลอดกึ่งวงได้ทุกอัน แต่เข้าไปในหลอดกึ่งวงด้านหลัง (posterior semicircular canal) เป็นส่วนใหญ่ผนึกหินปูนที่ลอลอยู่ในหลอดกึ่งวง มีชื่อเรียกว่า “Canalith”

สาเหตุของการเกิดภาวะนี้ในผู้ป่วยอายุมากมัก เกิดจากความเสื่อมของอวัยวะการทรงตัวภายในหูชั้นในส่วนผู้ป่วย อายุต่ำกว่า 50 ปี มักเกิดจากการได้รับบาด เจ็บที่ศีรษะนอกจากนี้ ยังอาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัส หรือเป็นผลที่เกิดตามหลักการผ่าตัดหู และมีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่เกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด

ภาวะนี้อาจพบร่วมกับโรคอื่น ๆ เช่นไมเกรน โรคเมเนียส์ หูชั้นกลางอักเสบ

อาการ บ้านหมุนจากการเปลี่ยนท่า

ผู้ป่วยจะมีอาการวิงเวียนเห็นบ้านหมุนหรือสิ่ง รอบตัวหมุนอย่างรุนแรง ซึ่งเกิดขึ้นฉับพลันทันทีขณะ เปลี่ยนท่าหรือคลื่อนไหวศีรษะที่พบบ่อยคือท่าลุกขึ้น จากเตียงนอน  หรือท่านอนพลิกตะแคงตัว  บางรายก็อาจ เป็นขณะล้มตัวลงนอน ก้มศีรษะ  (ก้มหาของ  กวาดบ้าน กราบพระ) หรือเงยศีรษะ (เงยมองขึ้นข้างบนหาของสอยผลไม้ นอนบนเตียงทำฟัน นอนบนเตียงสระผม) อาการบ้านหมุนแต่ละครั้งจะเป็นอยู่นานประมาณ
20-30 วินาที (ส่วนใหญ่ไม่เกิน 1 นาที) และอาจกำเริบใหม่เมื่อเคลื่อนไหวศีรษะในท่านั้นอีก ขณะมีการบ้านหมุน ผู้ป่วยมักมีอาการตากระตุกร่วมด้วย

ในรายที่เป็นมาก แม้แต่การเคลื่อนไหวศีรษะเพียง เล็กน้อย ก็อาจกระตุ้นให้เกิดอาการบ้านหมุน และมีอาการเคลื่อนไส้หรือรู้สึกโคลงเคลงนานหลายนาทีถึงหลายชั่วโมง  

ในรายที่เป็นไม่มากหลังจากหายเวียนศีรษะแต่ละครั้งก็จะรู้สึกสบายดีเฉกเช่นคนปกติจนกว่าถูกกระตุ้น ให้เกิดอาการครั้งใหม่

ผู้ป่วยจะไม่มีอาการหูอื้อ หูตึง หรือแว่วเสียงดังในหูร่วมด้วย (ถ้ามีมักเกิดจากโรคของหูชั้นในแบบอื่นๆ)

อาการบ้านหมุนอาจกำเริบเป็นครั้งคราว (เมื่อเคลื่อนไหวศีรษะในท่าที่ทำให้เกิดอาการ) อยู่เรื่อยๆ นานหลายวัน หรือเป็นสัปดาห์ ๆ หรือเป็นเดือน ๆ แล้วก็หายไปได้เอง พอเว้นได้ระยะหนึ่ง  อาจเป็นสัปดาห์ ๆ หรือ เป็นแรมเดือน อาการก็หวนกลับมาเป็นใหม่ได้อีก

สิ่งตรวจพบ บ้านหมุนจากการเปลี่ยนท่า

การตรวจร่างกายมักไม่พบสิ่งผิดปกติชัดเจน การทดสอบดิกซ์ฮอลล์ไพก์ (Dix-Hallpike test) จะพบอาการตากระตุกร่วมกับอาการบ้านหมุน

ภาวะแทรกซ้อน บ้านหมุนจากการเปลี่ยนท่า

นอกจากความรู้สึกกลัวหรือทรมานขณะมีอาการ บ้านหมุนกำเริบแล้วโรคนี้มักจะไม่มีภาวะแทรกซ้อน ร้ายแรงใด ๆ ยกเว้นในผู้สูงอายุมากๆ หรือผู้ที่เคยได้รับบาดเจ็บหรือไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวร่างกาย หรือมีโรคทางหูร่วมด้วย อาจเกิดการหกล้มกระดูกหักได้

การป้องกัน บ้านหมุนจากการเปลี่ยนท่า

  1. โรคนี้แม้ว่าจะมีอาการบ้านหมุนรุนแรงจนผู้ป่วยบางคนรู้สึกตกใจกลัว และอาจเป็น ๆ หายๆ ได้บ่อยจนน่ารำคาญ แต่จัดเป็นภาวะที่ไม่มีอันตรายเป็นส่วนใหญ่  ผู้ป่วยควรสังเกตว่าท่าใดที่ทำให้อาการกำเริบแล้วหาทางหลีกเลี่ยงไม่ทำท่านั้นก็จะสามารถดำเนินชีวิตได้ เป็นปกติ 
  2. ในรายที่เป็นเรื้อรังหรือกำเริบบ่อยควรให้แพทย์ ที่มีความเชี่ยวชาญในการรักษาโรคนี้ทำการรักษาด้วยวิธีบริหารศีรษะและผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องหมั่นทำท่าบริหารเองที่บ้าน
  3. เนื่องจากโรคนี้มักพบในผู้สูงอายุ จึงควรแยกออกจากอาการบ้านหมุนจากภาวะหลอดเลือดตีบในสมอง ซึ่งมักมีอาการติดต่อกันนานๆ และอาจมีอาการผิดปกติทางสมอง (เช่น ตาเห็นภาพซ้อน พูดอ้อแอ้ เดินเซ แขน ขาชาหรือ่อนแรง) ร่วมด้วยส่วนอาการบ้านหมุนจากการเปลี่ยนท่ามักจะมีอาการเกิดขึ้นฉับพลันขณะเปลี่ยน ท่าเฉพาะบางท่า และเป็นอยู่เพียง 20-30  วินาทีอาจมี อาการคลื่นไส้ อาเจียน โคลงเคลงร่วมด้วยโดยที่ไม่มีอาการผิดปกติทางสมอง ส่วนใหญ่เมื่อหายจากอาการบ้านหมุนแล้ว ผู้ป่วยมักจะรู้สึกสบายดี อย่างไรก็ตามถ้าแยกแยะโรคไม่ได้ชัดเจน หรือผู้ป่วยมีปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะหลอดเลือดสมองตีบ (เช่น เป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง) ก็ควรส่งโรงพยาบาลเพื่อการวินิจฉัยที่แน่ชัด

การรักษา บ้านหมุนจากการเปลี่ยนท่า

1.  ควรแนะนำให้ผู้ป่วยปฏิบัติตัวดังนี้

  • ขณะมีอาการกำเริบให้ผู้ป่วยเปลี่ยนท่ามา นั่งคอตรง ๆ หรือนอนหงายศีรษะตรงทันที
  • ป้องกันไม่ให้อาการกำเริบซ้ำโดยการนอน หมุนหมอนอย่างน้อย 2 ใบ อย่านอนตะแคงข้างที่มีอาการ เวลาลุกจากเตียงนอนให้ลุกอย่างช้า ๆ และนั่งอยู่ขอบเตียงสักครู่ก่อนจะยืนขึ้นอย่าก้มศีรษะต่ำหรือเงย  มองขึ้นข้างบน หลีกเลี่ยงการทำงานที่ต้องก้มๆ  เงยๆ การสะบัดผมหรือสะบัดคอเร็ว ๆรวมทั้งท่าอื่น ๆ ที่กระตุ้นให้อาการกำเริบ
  • หลีกเลี่ยงการขับหรือทำงานเกี่ยวกับ เครื่องจักร เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น

2. ถ้าอาการไม่มากและเป็นอยู่ช่วงสั้นๆไม่ต้องใช้ยารักษา   แต่ถ้ามีอาการคลื่นไส้หรือโคลงเคลงมากและนานเป็นชั่วโมงๆ ก็ให้กินยาบรรเทาอาการ เช่นไดเมนไฮดริเนต ครั้งละ 1-2 เม็ด ซ้ำได้ทุก 6 ชั่วโมง    

3. ถ้าอาการไม่ดีขึ้นใน 1 สัปดาห์หรือมีอาการบ้านหมุนหรือาเจียนมากมีอาการหูอื้อหูตึง หรือแว่ว เสียงดังในหู เดินเซ แขนขาชาหรืออ่อนแรง พูดอ้อแอ้ กลืนลำบาก ตาเห็นภาพซ้อน หรือสงสัยมีความผิดปกติ รุนแรงอื่นๆ ควรส่งโรงพยาบาลอาจต้องทำการตรวจ พิเศษเพิ่มเติม เช่น ถ้าสงสัยโรคทางสมองอาจต้องตรวจ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์หรือถ่ายภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

ถ้าสงสัยความผิดปกติทางหู อาจต้องตรวจสมรรถภาพของการได้ยิน(audiogram) ตรวจคลื่นไฟฟ้า เกี่ยวกับอาการตากระตุก (electronystagmagraphy/ENG ทดสอบเก้าอี้หมุน (rotator chair test)

ถ้าพบว่าเป็นอาการบ้านหมุนจากการเปลี่ยนท่า แพทย์จะทำการรักษาด้วยท่าบริหารศีรษะที่เรียกว่า “Epley maneuver ” (หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “Canalith repositioning maneuver “) ซึ่งเป็นการทำให้ผลึกหินปูน ในหลอดกึ่งวง (โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลอดกึ่งวงด้านหลัง) ไหลกลับเข้าไปที่กระเปาะยูทริเคิล วิธีนี้ทำเพียงครั้งเดียวช่วยให้อาการหายได้ทันทีถึงร้อยละ 80 รายที่ไม่หายอาจต้องทำซ้ำ เมื่อหายแล้วประมาณร้อยละ 30 ของผู้ป่วย มีโอกาสกำเริบซ้ำใน 1 ปี และร้อยละ 50 กำเริบใน 5 ปี เมื่อกำเริบก็ต้องรักษาด้วยวิธีนี้ซ้ำอีก

ในรายที่ทำวิธีดังกล่าวไม่ได้ผลหรือทนต่อผลข้างเคียง (บ้านหมุน คลื่นไส้ อาเจียน) ไม่ได้ หรือมีข้อห้ามทำ แพทย์จะสอนให้ผู้ป่วยทำท่าบริหารที่เรียกว่า “Brandt-Daroff  exercise” โดยให้ทำเองที่บ้านทุกวัน วันละ 3 ครั้งนาน 2 สัปดาห์ (ส่วนใหญ่จะลุเลาเมื่อทำไปได้10 วัน) ในรายที่กำเริบบ่อยแพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยทำท่าบริหารนี้ต่อเนื่องทุกวัน

ส่วนนายที่การรักษาดังกล่าวไม่ได้ผลและมีอาการต่อเนื่องนานเกิน 1 ปี แพทย์อาจรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งได้ผลประมาณร้อยละ 90 

[Total: 1 Average: 5]