เชื่อว่าหลาย ๆ คน คงเคยได้ยินคำพูดที่ว่า “ดวงตากับสมองเชื่อมถึงกัน” จึงไม่แปลกใจเลยว่า ผู้ป่วยไมเกรนส่วนใหญ่มักมีอาการตาแพ้แสง สู้แสงไม่ได้ ซึ่งจากสถิติพบว่า มีผู้ป่วยไมเกรนมากถึง 80% ที่มีอาการตาไวต่อแสงร่วมด้วย!!
แต่ก่อนอื่น เรามาทำความรู้จักกับ “โรคไมเกรน” และอาการ “ตาไวต่อแสง” ให้มากขึ้นกันก่อน
ทำความรู้จัก “ไมเกรน”
ไมเกรน คือ พบได้ประมาณร้อยละ 10 -15 ของประชากรทั่วไป พบได้ในคนทุกวันแต่พบมากในช่วงอายุ 10-30 ปี พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายประมาณ 3.5 เท่า
โรคนี้มักเป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรังเป็นแรมปี เริ่มเป็นครั้งแรกตอนย่างเข้าวัยรุ่น หรือระยะหนุ่มสาว โดยเฉพาะผู้ป่วยหญิงมักเป็นโรคนี้ตอนเริ่มมีประจำเดือน บางรายเริ่มเป็นโรคนี้ตั้งแต่เด็ก ซึ่งมักมีอาการปวดท้อง เมารถเมาเรือด้วย มีน้อยรายที่จะมีอาการเป็นครั้งแรกเมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไปแต่ผู้หญิงที่เคยเป็นไมเกรนมาก่อนเมื่อถึงวัยใกล้หมดประจำเดือน (40-50 ปี) อาจมีอาการปวดศีรษะบ่อยขึ้นบางรายอาจทุเลาหรือหายไปเองเมื่ออายุ มากกว่า 50-60 ปีขึ้นไป แต่บางรายอาจเป็นตลอดชีวิต
ไมเกรนจัดว่าเป็นโรคที่ไม่มีอันตรายร้ายแรง แต่สร้างความรำคาญน่าทรมาน และทำให้เสียการเสียงาน โรคนี้เกิดได้กับคนทุกระดับไม่เกี่ยวกับฐานะทาง สังคมหรือระดับสติปัญญา แต่ผู้ที่มีฐานะดีหรือมีการศึกษามักจะปรึกษาแพทย์บ่อยกว่า ผู้ที่เป็นโรคนี้อยู่เป็นประจำมักเป็นคนประเภทเจ้าระเบียบ จู้จี้จุกจิก
ทำความรู้จัก “ตาไวต่อแสง”
ตาไวต่อแสง (ตากลัวแสง) หรือตาสู้แสงไม่ได้ คือ อาการที่สายตาทนแสงไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นจากแสงอาทิตย์โดยตรง หรือจากแหล่งของแสงอื่นๆ เช่น โคมไฟ หรือไฟถนน
“แสง” ตัวการสำคัญ! ที่กระตุ้นไมเกรน
เมื่อผู้ป่วยไมเกรน สัมผัสกับแสงจ้า แสงเหล่านี้จะกระตุ้นเซลล์ประสาทบริเวณจอประสาทตา (Retinal ganglion cell; RGC) แล้วส่งสัญญาณไปยังสมองส่วน “ทาลามัส” ซึ่งเชื่อมต่อกับระบบประสาทที่รับความรู้สึกเจ็บปวดได้ (Trigeminovascular system) ทำให้เกิดอาการปวดไมเกรน และตาไวต่อแสง สู้แสงไม่ได้
ป้องกันอาการตาไวต่อแสง เพื่อลดการเกิด “ไมเกรน” อย่างไรดี?
หากมีอาการปวดหัวไมเกรน และเกิดภาวะตาแพ้แสงร่วมด้วย เราสามารถลดความเสี่ยงได้ด้วยวิธีต่อไปนี้
- สวมแว่นกรองแสง ที่ช่วยกรองแสงสีฟ้าและตัดแสงที่กระตุ้นไมเกรน
- หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่มีแสงจ้า ควรอยู่ในที่มืดและอากาศเย็น จะช่วยให้อาการปวดหัวดีขึ้น
- ทานยาแก้ปวด จะช่วยลดอาการปวดศีรษะ อาการไวต่อแสง