สเตรปโตค็อกคัส: เชื้อร้ายที่มากับ อาหาร ใกล้ตัว

เชื้อโรคสเตรปโตค็อกคัส ที่ทำให้มีคนเสียชีวิตกำลังทำให้หลายๆ คนแตกตื่นไม่น้อยเลยค่ะ โดยเฉพาะคนที่ชอบกินหมูกระทะหรืออาหารปิ้งย่าง เพราะมีการให้ข้อมูลว่าเจ้าเชื้อร้ายนี้จะอยู่ในเนื้อหมูนี่เอง วันนี้เรามาจักและป้องกันเชื้อโรคตัวนี้กัน

สเตรปโตค็อกคัส (Streptococcus) เป็นแบคทีเรียที่พบได้ตามธรรมชาติที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และมีด้วยกันหลายกลุ่ม ซึ่งแต่ละกลุ่มจะก่อให้เกิดอาการต่างกันออกไป สำหรับเชื้อสเตร็ปโตคอคคัสที่ได้รับกับมากที่สุดคือ สเตรปโตค็อกคัส ซูอีส (Streptococus suis) ซึ่งจะเป็นเชื้อที่มีอยู่ในเนื้อหมู

รับเชื้อสเตรปโตค็อกคัสได้อย่างไร

เราจะได้รับเชื้อจากการบริโภคเนื้อหมู เครื่องใน หรือเลือดหมูที่ไม่ผ่านการปรุงให้สุก เช่น ลาบ หรือหมูกระทะที่ย่างไม่สุก หรือสัมผัสกับเนื้อหมูดิบบ่อยๆ และได้รับเชื้อเข้าทางแผลถลอก หรือเยื้อบุตาได้

อาการที่เกิดขึ้นเมื่อได้รับเชื้อสเตรปโตค็อกคัส

เมื่อร่างกายได้รับเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัส ซูอีส (Streptococus suis) เข้าไปแล้วจะมีระยะฟักตัว 3 วัน หลังจากนั้นจะมีไข้ คลื่นไส้ ปวดศีรษะ จนเชื้อเข้าสู่กระแสเลือดและเข้าไปสู่เยื่อหุ้มสมอง ทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ข้ออักเสบ ม่านตาอักเสบตามมา และเนื่องจากเยื่อหุ้มสมอง อยู่ใกล้กับปลายประสาทหูชั้นในทั้งสองข้าง เชื้อจึงสามารถลุกลาม และทำให้เกิดหนองบริเวณปลายประสาทรับเสียงและประสาททรงตัว ทำให้หูตึง หูดับ จนหูหนวกร่วมกับอาการเวียนศีรษะและเดินเซตามมาได้ รวมทั้งเกิดอาการ Toxic Shock Syndrome ซึ่งอาการทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นภายใน 14 วัน หรืออาจเกิดติดเชื้อในกระแสโลหิตจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ในที่สุด

การรักษาสเตรปโตค็อกคัส

แพทย์จะจ่ายยาต้านจุลชีพให้ เช่น ฉีดยาเพนนิซิลลินขนาดสูง 18-24 ล้านยูนิตทางหลอดเลือดดำ เป็นเวลานานกว่า 2 สัปดาห์ให้เพื่อฆ่าเชื้อโรค หรือยาปฏิชีวนะ ได้แก่ Amoxicillin, Ampicillin, Cephalexin, Cephalothin และ Ciprofloxacin เป็นต้น เมื่อรักษาได้แล้ว ผู้ป่วยยังอาจมีความผิดปกติหลงเหลืออยู่ เช่น ความผิดปกติในการทรงตัว เนื่องจากเชื้อได้เข้าไปทำลายเยื่อหุ้มสมอง หรือหากเชื้อเข้าปลายระบบประสาทตา จะทำให้ม่านตาอักเสบ ลูกตาฝ่อ หรือตาบอดได้ นอกจากนี้ผู้ป่วยบางคนยังอาจเป็นอัมพาตครึ่งซีกได้เช่นกัน

การป้องกันสเตรปโตค็อกคัส

สำหรับเรา ๆ การหลีกเลี่ยงบริโภคเนื้อหมู เครื่องใน รวมทั้งเลือดหมูที่ดิบ หรือสุก ๆ ดิบ ๆ เป็นหนทางป้องกันที่ดีที่สุด เพราะเชื้อ Streptococus suis จะถูกทำลายได้ง่ายด้วยความร้อน ดังนั้นหากต้องการหลีกเลี่ยงเชื้อ Streptococus suis ก็อย่าลืมปรุงอาหารให้สุกก่อนทุกครั้ง

[Total: 1 Average: 4]

Leave a Reply

Discover more from HEALTH ME NOW

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading