สถานการณ์โควิดยังคงเป็นปัจจัยลบที่กระทบต่อเศรษฐกิจโลกไปอีกอย่างน้อยๆ 2 ปี

4 เครื่องวัดอุณหภูมิร่างกาย ไอเทมยอดฮิตประจำปี covid-19 คือ รักษา วัคซีน โอไมครอน โควิด เดลต้า

ธนาคารโลก (World Bank) ประเมินว่าปี 2022 เศรษฐกิจโลกยังคงชะลอตัว โดยมีอัตราเติบโตอยู่ที่ 4.1% ลดลงจากการประเมินครั้งก่อน
.
ส่วนถัดไปในปี 2023 สถานการณ์อาจยังดีขึ้นไม่มาก ทำให้อัตราเติบโตน้อยลงไปอีก อยู่ที่เพียง 3.2% ซึ่งสาเหตุหลักมาจากสถานการณ์โควิดนั่นเอง
.
ปี 2020 เศรษฐกิจโลกได้รับผลกระทบอย่างมากจากวิกฤตโควิดรอบแรก ขณะที่ธุรกิจใหญ่ๆ ทั่วโลก เช่น สายการบิน ค้าปลีกและอุตสาหกรรมน้ำมันก็ซบเซาอย่างหนัก
.
จากนั้นนักลงทุนทั่วโลกก็ตกเป็นฝ่ายตั้งรับต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และลงทุนอย่างระมัดระวัง เพราะแทบทุกครั้งที่ชีพจรเศรษฐกิจโลกดีขึ้น ไม่นานก็เกิดการระบาดอีก นี่ทำให้เศรษฐกิจโลกคล้ายคนไข้ที่อาการมีแต่ทรงกับทรุด
.
ช่วงปลายปี 2021 การระบาดลดลงไปมาก จนเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มฟื้นตัว แต่แล้วข่าวร้ายก็ปรากฏ โดยโควิดเกิดการพันธุ์เป็นสายพันธุ์โอไมครอน และระบาดลามไปทั่วโลก
.
นอกจากนี้ยังมีรายงานการผสมกับโรคอื่นๆ เช่น การติดเชื้อซ้ำซ้อน ทั้งโควิดและไข้หวัดใหญ่ ที่เรียกว่า ฟลอโรน่าในอิสราเอล
.
ส่วนประเทศใหญ่ๆ ก็มีรายงานผู้ติดเชื้อรายวันแบบสูงสุดเป็นสถิติใหม่ (New High) ให้เห็น ล่าสุดคือในฝรั่งเศส โดย 11 มกราคมจำนวนผู้ติดเชื้อ อยู่ที่ราว 368,000 คน ทำลายสถิติเดิมที่ราว 332,000 คนของเมื่อ 5 มกราคม
.
ด้านจีนแม้ยังรับมือการระบาดได้ดี แต่จำนวนเมืองที่จำเป็นต้องกลับมาใช้มาตรการล็อกดาวน์ก็กำลังเพิ่มขึ้น และมีแนวโน้มต้องประกาศใช้เพิ่มขึ้นอีก เพื่อจำกัดวงการระบาดให้ได้มากที่สุด ก่อนเทศกาลตรุษจีน และโอลิมปิกฤดูหนาวที่ใกล้มาถึงช่วงกุมภาพันธ์นี้
.
ทั้งหมดทำให้ธนาคารโลกประเมินว่าเศรษฐกิจโลกจะชะลอตัว โดยปี 2022 อัตราเติบโตจะอยู่ที่ 4.1% ลดลงจากเดิมที่คาดไว้เมื่อมิถุนายนปี 2021 ว่าจะโต 4.3% และยังลดลงจากเมื่อต้นปี 2021 ที่คาดว่าหากสถานการณ์โดยรวมดีขึ้นปี 2022 เศรษฐกิจโลกจะโตถึง 5.5%
.
แยกย่อยลงไปสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ในปีนี้ก็ไม่สู้ดีนัก โดยธนาคารประเมินว่า เศรษฐกิจสหรัฐโต 3.7% ลดลงจากการประเมินครั้งก่อนที่อาจโตถึง 5.6% เศรษฐกิจจีนจะโต 5.1% ลดลงจากการประเมินครั้งก่อนที่อาจจะโตถึง 8%
.
David Malpass ประธานธนาคารโลก กล่าวว่า “นอกจากสถานการณ์โควิดแล้ว ภาวะเงินเฟ้อที่สูงสุดในรอบ 13 ปี วิกฤต Supply Chain และวิกฤตหนี้ ก็เป็นปัจจัยลบที่ตรึงเศรษฐกิจโลกให้ติดอยู่ในภาวะชะลอตัว รัฐบาลแต่ละประเทศจึงต้องดำเนินนโยบายอย่างระมัดระวังเพื่อคลี่คลายสถานการณ์ที่ไม่เคยเผชิญมาก่อน
.
และประเทศที่ฐานะการเงินการคลังดีกว่าควรจะผ่อนปรนหรือช่วยเหลือ ประเทศเล็กหรือประเทศยากจน / theguardain, ap, cnbc

[Total: 0 Average: 0]

Leave a Reply

Discover more from HEALTH ME NOW

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading