COVID-19: คืออะไร รู้ครบจบทุกเรื่องโควิด

4 เครื่องวัดอุณหภูมิร่างกาย ไอเทมยอดฮิตประจำปี covid-19 คือ รักษา วัคซีน โอไมครอน โควิด เดลต้า

โรคโควิด-19 คืออะไร

เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่มโคโรนาที่ทำให้มีไข้ และอาการระบบทางเดินหายใจ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ หายใจไม่สะดวก บางรายอาจมีปอดอักเสบรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

อาการ โรคโควิด-19 คืออะไร

โควิด-19 ส่งผลต่อผู้คนในรูปแบบที่แตกต่างกันไป ผู้ที่ติดเชื้อส่วนใหญ่จะมีอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง และหายจากโรคได้เองโดยไม่ต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาล

อาการทั่วไปมีดังนี้

อาการที่พบไม่บ่อยนักมีดังนี้

การป้องการ โรคโควิด-19 คืออะไร

ปกป้องตนเองและคนรอบตัวโดยการหาข้อมูลและปฏิบัติตามข้อควรระวังที่เหมาะสม รวมถึงปฏิบัติตามคำแนะนำจากหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่

โปรดขอคำแนะนำที่เหมาะสมกับภูมิภาคของคุณที่สุดจากหน่วยงานด้านสาธารณสุขในท้องถิ่น

วิธีป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19

  • รักษาระยะห่างที่ปลอดภัยจากผู้อื่น แม้ว่าผู้นั้นจะไม่ได้ป่วยก็ตาม
  • สวมหน้ากากอนามัยในที่สาธารณะ โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในพื้นที่ปิดหรือเว้นระยะห่างไม่ได้
  • หลีกเลี่ยงพื้นที่ปิด พยายามอยู่ในพื้นที่เปิดโล่งและอากาศถ่ายเทสะดวก เปิดหน้าต่างเมื่ออยู่ในพื้นที่ปิด
  • ล้างมือบ่อยๆ โดยใช้สบู่และน้ำ หรือเจลล้างมือที่มีส่วนผสมหลักเป็นแอลกอฮอล์
  • รับวัคซีนเมื่อได้รับสิทธิ์ ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในพื้นที่เกี่ยวกับการฉีดวัคซีน
  • ปิดจมูกและปากด้วยข้อพับด้านในข้อศอกหรือกระดาษชำระเมื่อไอหรือจาม
  • เก็บตัวอยู่บ้านเมื่อรู้สึกไม่สบาย

หากมีไข้ ไอ และหายใจลำบาก โปรดไปพบแพทย์ โดยติดต่อล่วงหน้าเพื่อที่ผู้ให้บริการด้านสุขภาพจะได้แนะนำให้คุณไปยังสถานพยาบาลที่ถูกต้อง ซึ่งจะช่วยปกป้องคุณ รวมถึงป้องกันการแพร่กระจายของไวรัสและการติดเชื้ออื่นๆ

หน้ากากอนามัย

หน้ากากอนามัยที่กระชับกับใบหน้าช่วยป้องกันไม่ให้ผู้ที่สวมแพร่กระจายไวรัสไปยังผู้อื่น อย่างไรก็ตาม หน้ากากอนามัยเพียงอย่างเดียวป้องกันเชื้อโควิด-19 ไม่ได้ จึงควรรักษาระยะห่างและหมั่นทำความสะอาดมือร่วมด้วย รวมถึงปฏิบัติตามคำแนะนำจากหน่วยงานด้านสาธารณสุขในท้องถิ่น

การรักษา โรคโควิด-19 คืออะไร

การดูแลตนเอง

  • หลังจากสัมผัสกับผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 โปรดทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
  • โทรหาผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพหรือสายด่วนโควิด-19 เพื่อหาสถานที่และเวลาเพื่อรับการตรวจ
  • ให้ความร่วมมือตามขั้นตอนการติดตามผู้สัมผัสเพื่อหยุดการแพร่กระจายของไวรัส
  • หากยังไม่ทราบผลตรวจ ให้อยู่บ้านและอยู่ห่างจากผู้อื่นเป็นเวลา 14 วัน
  • ขณะที่กักตัว อย่าออกไปที่ทำงาน โรงเรียน หรือสถานที่สาธารณะ ขอให้ผู้อื่นนำของอุปโภคบริโภคมาให้
  • รักษาระยะห่างจากผู้อื่นอย่างน้อย 1 เมตร แม้จะเป็นสมาชิกในครอบครัวก็ตาม
  • สวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น รวมถึงในกรณีที่คุณต้องเข้ารับการรักษา
  • ล้างมือบ่อยๆ
  • กักตัวเองในห้องแยกจากสมาชิกครอบครัวคนอื่นๆ หากทำไม่ได้ ให้สวมหน้ากากอนามัย
  • จัดให้ห้องมีอากาศถ่ายเทสะดวก
  • หากใช้ห้องร่วมกับผู้อื่น ให้จัดเตียงห่างกันอย่างน้อย 1 เมตร
  • สังเกตอาการตนเองเป็นเวลา 14 วัน
  • โทรหาผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพทันทีหากพบสัญญาณอันตรายต่อไปนี้ ได้แก่ หายใจลำบาก สูญเสียความสามารถในการพูดและเคลื่อนไหว แน่นหน้าอกหรือมีภาวะสับสน
  • ติดต่อกับคนที่คุณรักด้วยโทรศัพท์หรือทางออนไลน์ รวมถึงออกกำลังกายที่บ้าน เพื่อให้คุณมีสภาพจิตใจที่ดีอยู่เสมอ

การรักษาทางการแพทย์

  • นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกกำลังค้นหาและพัฒนาแนวทางการรักษาโควิด-19
  • การรักษาแบบประคับประคองที่ดีที่สุด ได้แก่ การให้ออกซิเจนสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงและผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง รวมถึงการดูแลระบบทางเดินหายใจขั้นสูงอื่นๆ เช่น การใช้เครื่องช่วยหายใจสำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะวิกฤต
  • เดกซาเมทาโซนเป็นคอร์ติโคสเตียรอยด์ที่ช่วยลดระยะเวลาใช้เครื่องช่วยหายใจ และช่วยชีวิตผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงหรืออยู่ในภาวะวิกฤตได้

COVID-19 มีชื่อเต็มว่าอย่างไร

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

อาการของผู้ป่วยไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 มีอาการอย่างไร

อาการทั่วไป ได้แก่ อาการระบบทางเดินหายใจ มีไข้ ไอ หายใจถี่ หายใจลำบาก ในกรณีที่อาการรุนแรงมาก อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ปอดบวม ปอดออักเสบ ไตวาย หรืออาจเสียชีวิต

ระยะฟักตัวของ โควิด-19 คืออะไร

ระยะฟักตัว 2-14 วัน

ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 สามารถแพร่กระจายเชื้อได้อย่างไร

ส่วนใหญ่แพร่กระจายผ่านการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อ ผ่านทางละอองเสมหะจากการไอ จาม น้ำมูก น้ำลาย

เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ถูกค้นพบที่ไหน

ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 คือ ไวรัสในกลุ่มโคโรนาที่เพิ่งมีการค้นพบใหม่ (ไม่เคยมีการพบเชื้อนี้ในคนมาก่อน) โดยพบครั้งแรกที่เมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์สาธารณรัฐประชาชนจีน ในช่วงปลายปี 2019

เมื่อท่านมีอาการป่วยท่านควรป้องกันการแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่นอย่างไร

ควรพักอยู่ที่บ้าน ปิดปากและจมูกด้วยทิชชูทุกครั้งที่ไอหรือจาม และทิ้งลงถังขยะ ทำความสะอาดและทำลายเชื้อตามวัสดุสิ่งของ และผิวสัมผัสต่างๆ

นอกเหนือจากการล้างมือ ควรทำอย่างไรเพื่อป้องกันตัวเองจาก โควิด-19

• หลีกเลี่ยงการอยู่สถานที่ที่มีผู้คนแออัด หรือรวมกลุ่มกันจำนวนมาก
• สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าตลอดเวลาเมื่อออกนอกบ้าน
• หากต้องอยู่ในสถานที่สาธารณะ ควรเว้นระยะห่างจากบุคคลอื่นอย่างน้อย 1-2 เมตร
• หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสบริเวณดวงตา ปาก และจมูก
• รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่เสมอ

ประโยชน์ของการรับวัคซีนโควิด 19 คืออะไร

วัคซีนโควิด 19 ช่วยปกป้องร่างกายจากโรคโควิดโดยกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันที่ตอบสนองต่อไวรัส SARS-Cov-2 เมื่อร่างกายของเราได้สร้างภูมิคุ้มกันผ่านการรับวัคซีน ความเสี่ยงที่จะเกิดโรคและผลกระทบอื่น ๆ ที่ตามมาก็จะลดลง และในกรณีที่เราได้รับเชื้อมา ภูมิคุ้มกันนี้ก็จะช่วยให้ร่างกายต่อสู้กับไวรัสได้ การรับวัคซีนยังสามารถปกป้องคนรอบข้างได้ด้วย เพราะหากเราได้รับการปกป้องจากการติดเชื้อและการเกิดโรค โอกาสที่เราจะแพร่เชื้อให้คนอื่นก็น้อยลง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อปกป้องผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะป่วยหนักจากโควิด 19 เช่น ผู้ให้บริการด้านสุขภาพ ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว

ใครที่ไม่ควรรับวัคซีนโควิด 19

แพทย์คือผู้ที่ให้คำแนะนำได้ดีที่สุดว่าเราควรรับวัคซีนป้องกันโควิด 19 หรือไม่ มีภาวะทางสุขภาพเพียงไม่กี่ประการที่ทำให้บุคคลไม่ควรเข้ารับวัคซีน จากหลักฐานที่มีอยู่ ผู้ที่มีประวัติการแพ้อย่างรุนแรงต่อส่วนประกอบใด ๆ ก็ตามของวัคซีนโควิด 19 ไม่ควรรับวัคซีนเพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์

หากคุณกำลังป่วยหรือมีอาการของโควิด 19 คุณสามารถรับวัคซีนได้หลังจากที่อาการหลักของโรคหมดไปแล้ว

นอกเหนือจากคำแนะนำทั่วไปข้างต้นแล้ว วัคซีนแต่ละชนิดอาจมีข้อพิจารณาเฉพาะสำหรับประชากรบางกลุ่ม และผู้ที่มีภาวะทางสุขภาพบางอย่าง

ใครควรรับวัคซีนโควิด 19

วัคซีนโควิด 19 ถือว่าปลอดภัยสำหรับคนส่วนใหญ่ที่มีอายุ 18 ขึ้นไป รวมถึงผู้ที่มีภาวะทางสุขภาพใด ๆ รวมถึงโรคภูมิแพ้ตนเอง ความดันโลหิตสูง เบาหวาน หอบหืด โรคปอด โรคตับและไต ตลอดจนการติดเชื้อเรื้อรังที่ทรงตัวและควบคุมได้

ถ้าพื้นที่ของคุณมีวัคซีนจำกัด ให้ปรึกษาบุคลากรด้านสุขภาพ หากคุณ

  • มีภูมิคุ้มกันต่ำ
  • กำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร
  • มีประวัติการแพ้รุนแรง โดยเฉพาะแพ้วัคซีน (หรือส่วนประกอบใด ๆ ของวัคซีน)
  • ร่างกายอ่อนแอมาก

คนท้องควรฉีดวัคซีน โควิด 19 หรือไม่

ปกติคนท้องสามารถฉีดวัคซีนได้ถ้าเป็นวัคซีนชนิดเชื้อตาย แต่เนื่องจากวัคซีนต้านโควิด 19 เป็นวัคซีนใหม่ ยังไม่เคยมีการศึกษา จึงยังไม่ฉีดให้คนท้อง ยกเว้นเป็นบุคลากรด่านหน้าที่มีความเสี่ยงจะพิจารณาเป็นรายๆไป

แผนการกระจายวัคซีนโควิด-19 เป็นอย่างไร

แผนการกระจายวัคซีนโควิด 19 แบ่งเป็น 2 ระยะ ดังนี้

  • ระยะที่ 1 ในเดือนมีนาคม–พฤษภาคม 2564 จำนวน 2 ล้านโดส (วัคซีนของบริษัทซิโนแวค) โดยฉีดให้กับกลุ่มเป้าหมายในจังหวัดที่มีความเสี่ยงก่อน
  • ส่วนระยะที่ 2 ในเดือนมิถุนายน–ธันวาคม 2564 จำนวน 61 ล้านโดส (วัคซีนจากบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า) ฉีดให้กับกลุ่มเป้าหมายในทุกจังหวัด

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าวัคซีนโควิด 19 ปลอดภัย

วัคซีนโควิด 19 ทุกตัวจะได้รับการตรวจสอบความปลอดภัยด้วยระบบการป้องกันที่เคร่งครัด ก่อนที่จะผ่านการรับรองจากองค์การอนามัยโลกและหน่วยงานกำกับดูแลระดับประเทศ วัคซีนป้องกันโควิด 19 จะต้องผ่านการทดลองทางการแพทย์ที่เข้มงวดเพื่อพิสูจน์ว่าวัคซีนแต่ละตัวนั้นมีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์มาตรฐานด้านความปลอดภัยและมีประสิทธิผลตามที่ยอมรับในระดับสากล

ความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์ในระดับที่สูงอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนส่งผลให้การวิจัย พัฒนา และรับรองวัคซีนป้องกันโควิด 19 นั้นสำเร็จได้ด้วยเวลาที่เร็วเป็นประวัติการณ์เพื่อตอบสนองความต้องการเร่งด่วนต่อวัคซีนโควิด 19 ในขณะที่ยังคงไว้ซึ่งมาตรฐานความปลอดภัยระดับสูง องค์การอนามัยโลกและหน่วยงานกำกับดูแลจะติดตามการใช้วัคซีนโควิด 19 ทั้งหมดอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับวัคซีนอื่น ๆ เพื่อระบุและรับมือปัญหาด้านความปลอดภัยที่อาจเกิดขึ้น เพื่อให้แน่ใจว่าวัคซีนจะยังคงปลอดภัยสำหรับการใช้งานทั่วโลก

หากเคยป่วยด้วยโควิด 19 มาแล้ว ควรรับวัคซีนหรือไม่

แม้ว่าคุณจะเคยรับเชื้อโควิด 19 มาแล้ว คุณก็ควรรับวัคซีนอีกเมื่อมีโอกาส เพราะการปกป้องที่ได้รับจากการติดเชื้อไวรัสโควิด 19 จะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล และเรายังไม่ทราบด้วยว่าภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติจะคงอยู่ได้นานแค่ไหน

หลังฉีดวัคซีนโควิด 19 จะมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง

จากการศึกษาวิจัยวัคซีนโควิด 19 แต่ละชนิด มักพบเป็นปฏิกิริยาเฉพาะที่ เช่น อาการปวด บวม แดงบริเวณที่ฉีดวัคซีน ซึ่งส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรงและสามารถหายได้เองโดยไม่ต้องใช้ยา แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่าวัคซีนเหล่านี้จะได้รับการรับรองจากคณะกรรมการอาหารและยา ว่ามีความปลอดภัยและให้ใช้ได้แล้วก็ตาม แต่การฉีดวัคซีนเหล่านี้ก็ยังสามารถทำให้เกิดอาการแพ้รุนแรงได้ในอัตราที่แตกต่างกัน จึงจำเป็นต้องสังเกตอาการหลังการฉีดอย่างน้อย 30 นาทีในสถานพยาบาลหรือสถานที่ฉีดวัคซีนเสมอและเนื่องจากวัคซีนโควิด 19 เป็นวัคซีนใหม่และยังไม่มีข้อมูลการติดตามผลในระยะยาว หากผู้รับวัคซีนเกิดอาการไม่พึงประสงค์หรือไม่มั่นใจว่าอาการดังกล่าวเกิดจากวัคซีนหรือไม่ ควรแนะนำให้ผู้รับวัคซีนปรึกษาแพทย์เพิ่มเติม โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงและเกิดขึ้นในช่วง 4 สัปดาห์หลังฉีดวัคซีน (Adverse event following immunization)

การเตรียมตัวก่อนรับวัคซีนโควิด 19 มีอะไรบ้าง

ปฏิบัติตัวตามปรกติ พักผ่อนให้เพียงพอ กินยาประจำได้ตามปรกติ ทำจิตใจให้ไม่เครียดหรือวิตกกังวล หากเจ็บป่วยไม่สบายควรเลื่อนการฉีดไปก่อน

ก่อนฉีดวัคซีนจำเป็นต้องดื่มน้ำมาก ๆ หรือไม่

ตอบ ไม่จำเป็น

  • ก่อนฉีดวัคซีน จำเป็นต้อง งดดื่มชา กาแฟ แอลกอฮอลล์ หรืองดการออกกำลังหรือไม่

ตอบ ไม่จำเป็นต้องงดชา กาแฟ แต่ควรงดเครื่องดื่มมืนเมา ส่วนการออกกำล้งกายสามารถทำได้ตามปรกติ

  • ผู้รับวัคซีนโควิด 19 หลังรับวัคซีน สามารถรับประทานยาลดไข้ แก้ปวด ได้หรือไม่

ตอบ รับประทานได้ โดยยาลดไข้ที่ปลอดภัยที่สุดคือ พาราเซตามอล ภายในขนาดที่กำหนด

วัคซีนโควิด 19 สามารถถูกเรียกคืนได้ในกรณีใดบ้าง

การเรียกคืนหรือการถอนวัคซีนด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัยเป็นเหตุการณ์ที่พบได้ยาก โดยปกติแล้วผู้ผลิตวัคซีนเองจะเป็นผู้เรียกคืนวัคซีนโดยสมัครใจก่อนที่เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ใด ๆ จะได้รับการรายงานเสียอีก ตัวอย่างเช่น การตรวจสอบการผลิตวัคซีนอย่างต่อเนื่องอาจชี้ให้เห็นความผิดปกติบางอย่างซึ่งทำให้ประสิทธิภาพของวัคซีนบางชุดการผลิต (batch) เสื่อม ในกรณีนี้ ผู้ที่ได้รับวัคซีนจากชุดนั้นอาจต้องรับวัคซีนอีกครั้งเพื่อให้แน่ใจว่าจะได้รับการปกป้องตามที่ควรจะเป็น

วัคซีนโควิด 19 ประเภทใดบ้างที่กำลังได้รับการพัฒนา และวัคซีนเหล่านั้นมีหลักการทำงานอย่างไร

นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกกำลังพัฒนาวัคซีนหลายตัวที่มีศักยภาพในการต่อต้านโควิด 19 วัคซีนเหล่านี้ออกแบบมาเพื่อสอนระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้รู้จักและต่อต้านไวรัสที่ก่อโรคโควิด 19 โดยที่วัคซีนจะต้องปลอดภัยต่อร่างกายด้วย

วัคซีนประเภทต่าง ๆ ที่มีศักยภาพในการต่อต้านโควิด 19 ที่กำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนา ได้แก่

  • วัคซีนเชื้อตาย – จะใช้ไวรัสที่ถูกทำลายหรือทำให้อ่อนแอแล้ว จึงไม่ก่อให้เกิดโรค แต่ยังสามารถกระตุ้นให้ร่างกายมนุษย์สร้างการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันได้
  • วัคซีนที่ทำจากโปรตีนไวรัส – จะใช้ชิ้นส่วนของโปรตีนหรือเปลือกโปรตีนที่ไม่เป็นอันตรายที่มีลักษณะคล้ายตัวไวรัสโควิด 19 มากระตุ้นให้ร่างกายสร้างการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันอย่างปลอดภัย
  • วัคซีนที่ใช้ไวรัสเป็นพาหะ – จะใช้ไวรัสที่ปลอดภัยไม่ก่อโรคมาเป็นแพลตฟอร์มในการผลิตโปรตีนของไวรัสโคโรนาเพื่อกระตุ้นการตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน
  • วัคซีนชนิดสารพันธุกรรม RNA และ DNA – เป็นเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยซึ่งใช้สารพันธุกรรม RNA หรือ DNA ที่ดัดแปลงพันธุกรรมแล้วมาสร้างโปรตีนที่กระตุ้นการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันได้อย่างปลอดภัย

วัคซีนโควิด 19 ฉีดแล้วสามารถป้องกันไวรัสกลายพันธุ์ได้หรือไม่

วัคซีนที่ผลิตในปัจจุบันพัฒนามาจากไวรัสที่ระบาดในช่วงแรก จึงอาจทำให้ประสิทธิภาพ ในการป้องกันไวรัสกลายพันธุ์ได้ลดลง อย่างไรก็ดีผลกระทบของไวรัสกลายพันธุ์ต่อประสิทธิภาพของวัคซีนแต่ละชนิดจำเป็นต้องมีการศึกษาต่อไป อาจเป็นไปได้ว่าต้องมีการฉีดวัคซีนต่อไวรัสที่กลายพันธุ์ซ้ำในอนาคต

วัคซีนโควิด 19 จะให้การปกป้องระยะยาวได้หรือไม่

เนื่องจากวัคซีนโควิดเพิ่งจะได้รับการพัฒนาในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมานี้เท่านั้น จึงยังเร็วเกินไปที่จะทราบว่าภูมิคุ้มกันที่ได้รับการกระตุ้นจากวัคซีนจะคงอยู่ได้นานเท่าไหร่ ยังคงต้องศึกษาวิจัยต่อไปเพื่อตอบคำถามนี้ อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่ายินดีที่ข้อมูลที่เรามีอยู่ชี้ให้เห็นว่าคนส่วนใหญ่ที่หายจากโรคโควิด 19 มีภูมิคุ้มกันซึ่งสามารถป้องกันการติดเชื้อซ้ำได้อย่างน้อยก็ในระยะหนึ่ง แต่ถึงกระนั้นเราก็ยังต้องศึกษาต่อไปว่าการป้องกันนี้มีประสิทธิภาพเพียงใดและอยู่ได้นานแค่ไหน

คุณกินอาหารทะเลได้ไหมในช่วงที่ COVID-19 ระบาด

อาหารทะเลสามารถรับประทานได้ตามปกติ การป้องกันโรคที่สำคัญคือ ปรุงสุก ร้อน สะอาด เพราะสามารถฆ่าเชื้อได้รวมถึงเชื้อก่อโรคโควิด 19

ห่างอย่างไรปลอดภัยจากไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)

ควรหลีกเลี่ยงชั่วโมงเร่งด่วนในสถานที่ที่มีคนเยอะ เช่น รถสาธารณะ ร้านสะดวกซื้อ ควรอยู่ห่างๆ อย่างห่วงๆ อย่างน้อย 1-2 เมตร เพื่อลดโอกาสการรับและแพร่กระจายเชื้อ ควรอยู่ในบ้านให้มากที่สุด เมื่อไม่ออกไปรับเชื้อข้างนอกบ้าน โอกาสติดโรคน้อยลง

Social Distancing หรือการเว้นระยะห่าง เพื่อป้องกัน COVID-19 คืออะไร

“การรักษาระยะห่าง” คือ การสร้างระยะห่างระหว่างตัวเราเองกับคนอื่น อย่างน้อย 1-2 เมตร เลี่ยงการไปอยู่ในคนหมู่มาก เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อลง และยังป้องกันตัวเราเองจากการติดเชื้อ

COVID-19 ต้องยืนห่างกันกี่เมตร

จัดระยะห่างระหว่างบุคคลไม่ว่าจะเป็นการ นั่ง ยืน ต่อคิว ไม่น้อยกว่า 1 – 2 เมตร

[Total: 6 Average: 5]

48 thoughts on “COVID-19: คืออะไร รู้ครบจบทุกเรื่องโควิด

Leave a Reply