COVID-19: ผลสำรวจประชาชนห่วงเปิดประเทศ 92.4% หวั่นเกิดระบาดระลอกใหม่

4 เครื่องวัดอุณหภูมิร่างกาย ไอเทมยอดฮิตประจำปี covid-19 คือ รักษา วัคซีน โอไมครอน โควิด เดลต้า

กรมอนามัยเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนต่อการเปิดประเทศ พบกังวล 92.4% เรื่องที่กังวลมากที่สุด คือ หวั่นเกิดระบาดระลอกใหม่ถึง 75.8% รองลงมากลัวการ์ดตก ไม่ป้องกันตนเอง และสถานประกอบการ สถานที่ท่องเที่ยวไม่ปฏิบัติตามมาตรการ

เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 27 ต.ค.2564 ที่กระทรวงสาธารณสุข ในการแถลงสถานการณ์โควิด-19ของกระทรวงสาธารณสุข นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย แถลง “มาตรการUP เปิดบ้าน เปิดเมือง เปิดประเทศ”ว่า กรมอนามัยได้ทำความสำรวจความคิดเห็นของประชาชนหรืออนามัยโพลล์ เรื่อง “ความกังวล กับการเปิดเมือง เปิดประเทศ เริ่ม 1 พ.ย.2564” ระหว่างวันที่ 14-25 ต.ค.2564 ในพื้นที่นำร่องท่องเที่ยวใน 17 จังหวัด พบว่า มีความกังวล 92.4%

เรื่องที่กังวลมากที่สุด ได้แก่

  • เกิดการระบาดระลอกใหม่ 75.8 %
  • รองลงมา ประชาชนการ์ดตกและไม่ป้องกันตนเอง 49.7 %
  • สถานประกอบการ สถานที่ท่องเที่ยวไม่ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคอย่างเคร่งครัด 45.10%
  • กลัวตนเองและครอบครัวติดเชื้อ 41%
  • มาตรการการคัดกรองนักท่องเที่ยวที่มาจากต่างประเทศอาจไม่ดีพอ 39.6%
  • กังวลกว่าจะเกิดการล็อกดาวน์อีกครั้ง 37.1 %
  • จำนวนเตียงไม่พอเพียง 31.7 %
  • และอื่นๆ เช่น เศรษฐกิจ ประสิทธิภาพวัคซีน 2.1 %

สำหรับสถานประกอบการ/กิจการใด ที่กังวลว่าจะเป็นคลัสเตอร์ใหม่หลังจากเปิดเมือง (12 สถานที่) เปิดประเทศ เริ่ม 1 พ.ย.2564 พบว่า

  1. สถานบันเทิง ผับ บาร์ 89.2 %
  2. ขนส่งสาธารณะ 43.1 %
  3. สถานที่ท่องเที่ยว 39.8%
  4. สถานศึกษา 39.2%
  5. ตลาด 37.4%
  6. ห้างสรรพสินค้า 34.1%
  7. ร้านอาหาร 28.8%
  8. โรงแรม รีสอร์ท 24%
  9. ร้านสะดวกซื้อ 17.9%
  10. ศาสนสถาน 16.4%
  11. ไม่กังวลว่าจะมีคลัสเตอร์ใหม่เกิดขึ้น 5.5%
  12. และสถานประกอบการอื่นๆที่กังวล เช่น สถานที่ทำงาน โรงงาน ร้านนวด ฟิตเนส สนามกีฬา 3.1%

มาตรการที่ประชาชนเห็นว่าควรที่จะเพิ่มเพื่อทำให้เชื่อมั่นว่าเปิดเมือง เปิดประเทศแล้วจะปลอดภัย 5 อันดับแรก ได้แก่

  • เร่งฉีดวัคซีนให้ทุกคนทั่วประเทศครบ 2 เข็มครอบคลุมทุกจังหวัด 70% ขึ้นไป 72.53 %
  • คุมเข้มการลักลอบเข้าประเทศอย่างผิดกฎหมายตามแนวชายแดน 60.58%
  • กำกับติดตามการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคของสถานประกอบการและประชาชนอย่างเคร่งครัด 55.10%
  • เร่งฉีดวัคซีนให้กับผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ท่องเที่ยวครบ 2 เข็ม ครอบคลุม 70% ขึ้นไป 52.72%
  • และสนับสุนนชุดตรวจATKให้ทุกคนในพื้นที่ท่องเที่ยวเพื่อเฝ้าระวังการติดเชื้อ 49.41 %

นพ.สุวรรณชัย กล่าวอีกว่า สำหรับกรอบการดำเนินการเพื่อการประเมิน ติดตาม และเฝ้าระวัง แบ่งเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย 1.สถานประกอบการทุกประเภทลงทะเบียน ประเมินตนเองบนระบบ Thai Stop COVID เป็นCOVID Free Setting 2.ประชาชนประเมิน แนะนำ ติชม แจ้งข้อมูล ร้องเรียนสถานประกอบการ และ3.จัดตั้งคณะกรรมการร่วมตรวจ กำกับ การดำเนินการในพื้นที่ COVID Free Area และ COVID Free Zone ควรประกอบด้วยภาครัฐ เอกชน ประชาชน โดยเมื่อเปิดเมือง เปิดประเทศแล้ว คณะกรรมการบูรณาจากหลายภาคส่วนจะต้องตรวจประเมินทุก 2 สัปดาห์ กำกับมาตรการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จัดทำเช็คลิสต์และเป้าหมายสถานประกอบการจากฐาน Thai Stop COVID ไม่น้อยกว่า 20 % และตรวจสอบสถานประกอบการที่ประชาชนร้องเรียน 100 % และทำหน้าที่ให้คำแนะนำ ตักเตือน กิจการที่ปฏิบัติตามามาตราการที่ถูกต้อง โดยคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กรุงเทพมหานครเป็นผู้พิจารณาจัดตั้ง ทั้งนี้ ขอความร่วมผู้ประกอบการในพื้นที่นำร่องท่องเที่ยว 17 จังหวัด ให้ผู้มารับบริการร่วมตรวจสอยอย่างน้อย 5 %ของผู้รับบริการ หรืออย่างน้อย 5 คนต่อวันต่อร้าน

นพ.สุวรรณชัย กล่าวด้วยว่า ตั้งแต่ 1 พ.ย.2564ที่จะมีการเปิดบ้าน เปิดเมือง เปิดประเทศ ประชาชนทุกคนยังต้องเข้มงวดตามมาตรการป้องกันตนเองขั้นสูงสุด (Universal Prevention :UP) โดยก่อนการเปิดประเทศมี 10 ข้อ แต่มีการปรับให้เหมาะสมกรณีนักท่องเที่ยว หรือผู้เดินทาง ดังนี้ คือ

1.เลือกไปสถานทื่ที่มีสัญลักษณ์ COVID Free Setting และ SHA+

2.แสดงการได้รับวัคซีนหรือผลการตรวจว่าไม่ติดเชื้อก่อนเข้าสถานที่ และ

3. ปฏิบัติตามมาตรการDMH เว้นระยะห่างอย่างน้อย 1-2 เมตรในทุกสถานที่ หลีกเลี่ยงการเข้าไปยังสถานที่แออัด หรือระบายอากาศไม่ดี งดใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกัน สวมหน้ากากถูกต้องตลอดเวลา ทั้งขณธออกนอกที่พักและอยู่ในที่พัก ร่วมกับนักท่องเที่ยวอื่นๆ ล้างมือบ่อยๆทุกครั้ง ก่อน/หลังรับประทานอาหารเข้าห้องน้ำ ไอจาม หรือสัมผัสสิ่งของที่ใช้ร่วมกัน

[Total: 0 Average: 0]

Leave a Reply

Discover more from HEALTH ME NOW

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading