COVID-19: โอไมครอน พบแล้ว 38 ประเทศ WHO เผย ยังไม่มีผู้เสียชีวิต

4 เครื่องวัดอุณหภูมิร่างกาย ไอเทมยอดฮิตประจำปี covid-19 คือ รักษา วัคซีน โอไมครอน โควิด เดลต้า

องค์การอนามัยโลก เผย พบเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนแล้ว อย่างน้อย 38 ประเทศ แอฟริกาใต้ติดเชื้อพุ่งทะลุ 3 ล้านรายแล้ว ยังมีรายงานผู้เสียชีวิต

วันที่ 5 ธันวาคม 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศูนย์ข้อมูล COVID-19 โดยศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) เผยว่า องค์การอนามัยโลก (WHO) เปิดเผยว่า ได้ตรวจพบไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนในอย่างน้อย 38 ประเทศทั่วโลก แต่ยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตจากไวรัสสายพันธุ์ใหม่ดังกล่าว

ขณะที่มีการเตือนว่าโอไมครอนอาจส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และออสเตรเลียเป็นประเทศล่าสุดที่ยืนยันการพบผู้ติดเชื้อโอไมครอนภายในประเทศ ขณะที่การระบาดของโอไมครอนทำให้ยอดรวมผู้ติดเชื้อโควิดในแอฟริกาใต้พุ่งทะลุ 3 ล้านรายแล้ว

WHO เตือนว่า อาจต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์เพื่อบ่งชี้ว่า ไวรัสโอไมครอนแพร่เชื้ออย่างไร และทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยที่รุนแรงขึ้นหรือไม่ รวมทั้งประสิทธิภาพของการรักษาและวัคซีนในการป้องกันไวรัสสายพันธุ์ใหม่ดังกล่าว

WHO เปิดเผยว่า ยังไม่มีรายงานการพบผู้เสียชีวิตที่เกี่ยวกับไวรัสสายพันธุ์โอไมครอน แต่การแพร่ระบาดของโอไมครอนทำให้มีการเตือนว่า ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในยุโรปจำนวนมากกว่าครึ่ง อาจติดเชื้อจากโอไมครอนในช่วง 2-3 เดือนข้างหน้า

Omicron อันตรายกับผู้ป่วยที่ยังไม่ได้รับวัคซีน หรือผู้สูงอายุที่ได้รับวัคซีนแล้วก็ยังต้องระวัง ถ้าใครครบกำหนดได้รับวัคซีนเข็ม3 ให้รีบไปรับเข็ม 3 ได้เลย อย่ารีรอ!

เชื้อโควิดกลายพันธุ์ชนิดใหม่ที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้เป็นสายพันธุ์ระดับที่น่ากังวล (Variants of Concern: VOC) สายพันธุ์ใหม่ล่าสุด โควิดสายพันธุ์ ​B.1.1.529 หรือ โอไมครอน Omicron ถูกรายงานว่าพบครั้งแรกในแอฟริกาใต้  ปัจจุบันพบว่ามีการระบาดแล้วในประเทศ

  • แอฟริกาใต้,
  • บอตสวานา,
  • เบลเยียม,
  • ฮ่องกง,
  • อิสราเอล,
  • ออสเตรเลีย,
  • สหราชอาณาจักร,
  • เยอรมนี,
  • แคนาดา

(ข้อมูล ณ วันที่ 29 พ.ย. 2021)

เชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ที่เป็นตัวก่อโรคโควิด-19 พบเชื้อกลายพันธุ์ โควิดสายพันธุ์โอไมครอน (Omicron) มีตำแหน่งการกลายพันธุ์ของยีนมากถึง 50 ตำแหน่ง โดยมีหลักฐานบ่งชี้ว่าอาจจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะทำให้เกิดการกลับมาติดเชื้อซ้ำได้ นอกจากนี้ยังพบการกลายพันธุ์ที่ส่วนตัวรับ (receptor binding domain) ซึ่งไวรัสใช้จับยึดกับเซลล์ของคนเรามากกว่า 10 ตำแหน่ง ในขณะที่เชื้อโควิดกลายพันธุ์อย่างสายพันธุ์เดลตา (Delta) มีการกลายพันธุ์ในส่วนนี้เพียง 2 ตำแหน่งเท่านั้น ซึ่งจะทำให้อาจหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันมนุษย์ได้ดียิ่งขึ้น แม้ว่าจะเป็นภูมิจากวัคซีนแล้วก็ตาม

โดยพบว่าผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อสายพันธุ์โอไมครอน จมูกยังสามารถได้กลิ่น ลิ้นรับรสได้ดี ไม่ค่อยมีไข้ แต่พบว่ามีอาการ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ปอดอักเสบ (ซึ่งอาการคล้ายกับสายพันธุ์เดลต้า) ปัจจุบันข้อมูลยังไม่เพียงพอที่จะสามารถสรุปได้ว่าอาการจะรุนแรงกว่าหรือไม่

อย่างไรก็ตามเราควรเฝ้าจับตามอง และติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด ขณะเดียวกันก็ปฏิบัติตามมาตรการในการป้องกันอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงอายุและผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนซึ่งอาจมีผลกระทบจากเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนนี้ และสำหรับใครที่ยังไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโควิด ควรได้รับวัคซีนให้ครบโดส เพื่อลดความรุนแรงของอาการจากการติดเชื้อ

[Total: 0 Average: 0]

Leave a Reply