อาการของโรคหัวใจ แน่นอนว่าย่อมส่งผลต่อวิถีการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยอยู่แล้ว ผู้ป่วยจะมีร่างกายที่ไม่แข็งแรงเหมือนเดิม และอาจจะไม่สามารถทำบางสิ่งบางอย่างเองได้ ฉะนั้นคนในครอบครัวหรือผู้ดูแลจะต้องคอยช่วยเหลือและดูแลผู้ป่วยเป็นพิเศษในทุกด้านๆ บทความนี้จึงอยากเสนอวิธีการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจที่บ้าน เพื่อเป็นแนวทางการดูแลและฟื้นฟูร่างกายให้ผู้ป่วยกลับมาแข็งแรงดังเดิม สามารถทำตามได้ง่ายๆดังนี้
รับประทานยาตามแพทย์สั่ง เป็นสิ่งสำคัญเลยที่ผู้ดูแลห้ามละเลย ต้องจัดตารางเวลาการทานยาของผู้ป่วยตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่ดครัด ดูรายละเอียดของเวลาการรับประทานยาอย่างละเอียด ว่ายาตัวไหนทานเวลาไหน ทานหลังอาหารหรือก่อนอาหาร
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง ผู้ดูจะต้องดูแลเรื่องอาหารของผู้ป่วยเป็นพิเศษ เลี่ยงอาหารทอดในน้ำมันมากๆ ควรให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารประเภท ต้ม ย่าง ปิ้ง นึ่งแทน และที่สำคัญจะต้องไม่มีรสเค็ม
รับประทานผักผลไม้ ผู้ดูแลควรที่จะใช้วิธีการปรุงอาหารโดยมีผักเป็นส่วนประกอบอาหารหลัก หลังอาหารก็อาจะมีผลไม้ให้ผู้ป่วยไว้รับประทานเพื่อดับคาว แต่ต้องทานให้ปริมาณที่เหมาะสมเพราะผลไม้บางชนิดที่มีรสหวานจัด ถ้ารับประทานมากเกินไปก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวานได้ ผู้ดูแลอาจจะใช้วิธีการเปลี่ยนชนิดของผลไม้ในแต่ละวันเพื่อไม่ให้ผู้ป่วยรู้สึกเบื่อ
ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 2- 3 ลิตร การดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยให้ร่างกายตอบสนองต่อการรักษาได้ดี ผู้ดูแลควรจะมีจุดวางขวดน้ำไว้ภายในบ้าน เป็นจุดที่ผู้ป่วย สามารถหยิบขึ้นมาดื่มได้ตลอดเวลา ซึ่งอาจจะไม่ต้องให้ผู้ป่วยดื่มน้ำทีละเยอะๆ แต่ใช้วิธีการจิบบ่อยๆแทน
การออกกำลังกาย ในผู้ป่วยโรคหัวใจอย่างที่ทราบกันดีว่าอาการส่วนใหญ่คือเหนื่อยง่าย และไม่สามารถออกกำลังกายหนักๆได้ ฉะนั้นผู้ดูแลอาจจะพาผู้ป่วยออกไปเดินเล่นตามสวนสาธารณะ หรือการเดินเล่นในสวนบริเวณบ้าน และเน้นการออกกำลังกายเบาๆแทน
ดูแลสุขภาพจิต แน่นอนว่าการเป็นคนป่วยต้องสร้างความเครียดและความกังวลให้กับผู้ป่วยอยู่แล้ว คนในครอบครัวหรือผู้ดูแลจึงควรหากิจกรรมมาทำร่วมกับผู้ป่วย หรือการพาผู้ป่วยไปพักผ่อนตามแหล่งธรรมชาติก็จะช่วยลดความตึงเครียดให้กับผู้ป่วยได้เช่นกัน