รพ.วิมุต: ไม่มีโรคภัย = ปัจจัยสร้างความสุข ทริคสร้างสุขแบบเวชศาสตร์ครอบครัว

ข่าวโรงพยาบาล อัพเดต แพ็คเกจ โปรโมชั่น กรุงเทพ สมิติเวช บำรุงราษฎร์ พญาไท

ไม่มีโรคภัย = ปัจจัยสร้างความสุข ทริคสร้างสุขแบบเวชศาสตร์ครอบครัว ‘โรงพยาบาลวิมุต’ ขอแนะนำเนื่องในวันความสุขสากล 20 มีนาคม 2564

โรงพยาบาลวิมุต – 20 มีนาคมของทุกปี ถูกยกให้เป็นวันความสุขสากล หรือ International Day of Happiness ตามมติของที่ประชุมสหประชาชาติที่ต้องการส่งเสริมให้ทั่วโลกตระหนักถึงความสุขและเรียกร้องให้แต่ละประเทศผลักดันนโยบายเพิ่มความสุขให้กับประชาชนด้วย

ไม่มีโรคภัย = ปัจจัยสร้างความสุข ทริคสร้างสุขแบบเวชศาสตร์ครอบครัว ‘โรงพยาบาลวิมุต’ ขอแนะนำเนื่องในวันความสุขสากล 20 มีนาคม 2564

โรงพยาบาลวิมุต – 20 มีนาคมของทุกปี ถูกยกให้เป็นวันความสุขสากล หรือ International Day of Happiness ตามมติของที่ประชุมสหประชาชาติที่ต้องการส่งเสริมให้ทั่วโลกตระหนักถึงความสุขและเรียกร้องให้แต่ละประเทศผลักดันนโยบายเพิ่มความสุขให้กับประชาชนด้วย

พอพูดถึงความสุขแล้ว ถ้าจะให้คุณลองหลับตาแล้วนึกถึงคนที่ทำให้คุณมีความสุขที่สุด เชื่อว่าคำตอบของหลายคนย่อมเป็นลูก คนรัก พ่อแม่พี่น้อง น้องหมาและน้องแมวที่บ้านซึ่งล้วนแต่เป็นสมาชิกในครอบครัวทั้งสิ้น

โรงพยาบาลวิมุต‘ ขอแนะนำให้คุณรู้จักกับใครอีกคน ที่พร้อมจะทำให้ดูแลความสุขให้กับคุณ อันที่จริงไม่ใช่แค่คุณแต่เป็นครอบครัวของคุณด้วย

ไม่ใช่แค่หมอ แต่ขอเป็นคนในบ้าน

คำว่า “แพทย์ครอบครัว” หรือ “Fam med” อาจไม่ใช่คำที่คนไทยคุ้นเคยนัก เราเลยขอให้ แพทย์หญิงมนฑรัตม์ เจนทวีพรกุล แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลวิมุต พหลโยธิน กล่าวถึงบทบาทของแพทย์ครอบครัวแบบเข้าใจง่ายๆ “แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว แปลตรงตัวคือแพทย์ประจำครอบครัว คือแพทย์ที่ไม่ดูแลคนไข้แค่คนเดียว แต่รู้ประวัติ ความเสี่ยงของคนไข้ทั้งครอบครัว

ให้การดูแลครอบคลุมตั้งแต่แรกเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรค หากเกิดโรคจะดูแลรักษาโรคเรื้อรังตามช่วงอายุของสมาชิกแต่ละคน ดูแลจนไปถึงผู้ป่วยเข้าวัยชราและจนถึงผู้ป่วยระยะท้าย หมอครอบครัวจะเป็นผู้ตรวจรักษาแต่แรกทุกเรื่อง ต้องเป็นแพทย์ที่เก่งในการค้นหาโรคและการวินิจฉัย

หากจำเป็นต้องส่งต่อแพทย์เฉพาะทางก็จะให้คำแนะนำเบื้องต้นตลอดจนช่วยประสานส่งต่อข้อมูลให้เชื่อมถึงแพทย์เฉพาะทางอย่างถูกต้องและรวดเร็ว หมอครอบครัวไม่ได้รักษาเพียงโรคทางกาย เรามีความเข้าใจถึงความยากลำบากที่ผู้ป่วยและครอบครัวต้องเผชิญ เข้าใจความทุกข์ ความกลัว ความรู้สึกกังวลต่างๆ

มีการวางแผนร่วมกับคนในครอบครัวถึงแนวทางในการรักษาและบรรเทาความทุกข์ใจทั้งหมดที่เกิดขึ้น ทั้งนี้การให้บริการต้องทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงแพทย์ได้ง่าย รับปรึกษาทางโทรศัพท์ปรึกษาเบื้องต้นได้ทุกเรื่อง รวมถึงหากมีคนเจ็บป่วยนอนติดเตียงอยู่ที่บ้าน ก็มีบริการเยี่ยมดูแลผู้ป่วยที่บ้าน มุ่งเป้าไปที่ดูแลให้ผู้ป่วยกลับมาช่วยเหลือตนเองให้ได้มากที่สุด หรือเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัวให้ได้มากที่สุด”

“ระบบในประเทศไทย โรงพยาบาลเอกชนยังไม่มีแพทย์ประจำครอบครัว แต่ในสหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย หากเราเจ็บป่วยจะไปหาหมอคนอื่นเลยไม่ได้ ต้องพบหมอประจำครอบครัวก่อนเพื่อประเมินและรักษาเบื้องต้น เช่น กรณีผู้ป่วยปวดท้องอาจไม่ทราบว่าต้องพบหมอศัลยกรรมทางเดินอาหารหรือหมออายุรกรรมดี ต้องส่องกล้องกระเพาะอาหารหรือลำไส้มั้ย ปวดท้องแบบนี้ต้องผ่าตัดรึเปล่า

ในต่างประเทศจะมีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวให้บริการเบื่องต้นก่อน หากไม่จำเป็นต้องตรวจเพิ่มเติมก็ไม่จำเป็นต้องพบแพทย์เฉพาะทาง ในประเทศไทย ภาครัฐเองมีนโยบายให้คนไทยมีหมอครอบครัวประจำตัว 3 คน คือ อสม.เป็นหมอใกล้ตัว, หมอสาธารณสุขหรือบุคลากรในสถานบริการปฐมภูมิ, และหมอครอบครัว ในโรงพยาบาลวิมุตเรามีแพทย์ประจำครอบครัวไว้บริการ เพื่อการดูแลเชิงรุกที่ครอบคลุมค่ะ”

[Total: 1 Average: 4]

Leave a Reply