โรงพยาบาลเอกชน: ทางเลือกที่ไม่ง่ายของโรงพยาบาลลาดพร้าว (LPH)

5 โรงพยาบาลเอกชนที่ดีที่สุดในประเทศไทย มูลค่าการตลาดสูงสุด ยอดเยี่ยม ดีที่สุดในเอเซีย ดีที่สุดในโลก แพงที่สุด Health Me Now

สอดคล้องกับ ‘ดร.อังกูร ฉันทนาวานิช’ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. โรงพยาบาลลาดพร้าว หรือ LPH วิเคราะห์ภาพอุตสาหกรรมโรงพยาบาลเอกชนไทยให้ ‘กรุงเทพธุรกิจ BizWeek’ ฟังว่า กลุ่มโรงพยาบาลเอกชนไทยที่มีฐานคนไข้ต่างชาติเป็นหลัก โดยเฉพาะตลาดไฮเอนด์ อาจจะต้องใช้เวลาอีกประมาณ 1 ปี หรือราวปี 2565 ที่ธุรกิจกลับมาขยายตัวเหมือนเดิม เนื่องจากปัจจุบันติดปัญหาคนไข้ต่างชาติเดินทางเข้ามารักษาในประเทศไทยลำบาก

‘นายใหญ่LPH’ เล่าให้ฟังว่า ยอมรับว่าในครึ่งแรกปี 2563 โรงพยาบาลลาดพร้าวได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 สะท้อนผ่านผลประกอบการไตรมาส 2 ปี 2563 พลิกขาดทุนสุทธิอยู่ที่ 5.11 ล้านบาท ลดลง 128.87 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม ผลประกอบการเริ่มฟื้นตัวในครึ่งปีหลัง สอดรับคนไข้ทั่วไปกลับมาใช้บริการตามปกติ อัตราการรักษาดีขึ้น โดยเฉพาะไตรมาส 3 และไตรมาส 4 เป็นช่วงไฮซีซั่นของธุรกิจที่เข้าฤดูฝน ทำให้มีผู้ป่วยเข้ามาใช้บริการเพิ่มมากขึ้น และผู้ป่วยที่ใช้สิทธิ์ประกันต่างๆ เพิ่มขึ้น ดังนั้น เป้าหมายรายได้ปีนี้เติบโต 15%

ขณะที่ ปี 2564 เขาบอกว่า บริษัทมีแผนสร้างการเติบโตอีกครั้ง ด้วยการลงทุนใน 2 ประเภท โดยสตอรี่แรก การเข้าซื้อกิจการ (เทคโอเวอร์) โรงพยาบาลเอกชนแห่งใหม่ ย่านปริมณฑล จำนวน 200 เตียง มูลค่าไม่เกิน 800 ล้านบาท ซึ่งโรงพยาบาลดังกล่าวมีรายได้ปีละ 800 ล้านบาท และมีกำไรก่อนหักดอกเบี้ยภาษี ค่าเสื่อมราคาและค่าตัด (EBITDA) ปีละ 90 ล้านบาท โดยเจ้าของโรงพยาบาลมีการเสนอขายกิจการผ่านบริษัทหลักทรัพย์แห่งหนึ่ง

ทว่า ปัจจุบัน LPH ได้รับการติดต่อจากนักลงทุน กองทุนส่วนบุคคล’ หรือ Private Fund สนใจจะเข้ามาลงทุนร่วมกับ LPH ดังนั้น จึงมี 2 แนวทางที่จะซื้อกิจการโรงพยาบาลดังกล่าว ทางเลือกแรก โรงพยาบาลลาดพร้าวร่วมทุนกับนักลงทุนกองทุนส่วนบุคคลซื้อหุ้นคนละ 50% ภายใต้เงื่อนไขจากกลุ่มนักลงทุนว่า LPH จะต้องนำโรงพยาบาลดังกล่าวเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ภายในระยะเวลา 3 ปี

ทางเลือกที่สอง คือ โรงพยาบาลลาดพร้าวซื้อกิจการทั้งหมด 100% โดยโรงพยาบาลดังกล่าวที่ LPH สนใจเนื่องจากทำธุรกิจคล้ายๆ ที่โรงพยาบาลลาดพร้าว โดยมีโควต้าประกันสังคมจำนวน 1.5 แสนราย และมีกำไรต่อเนื่องมาตลอด ซึ่งปัจจุบันกำลังให้ผู้สอบบัญชีเข้าไปดูในรายละเอียด

‘คาดไตรมาส 1 ปี 2564 น่าจะมีความชัดเจน ว่าจะซื้อหรือไม่ซื้อ ซึ่งหากซื้อจะเสนอวาระดังกล่าวในที่ประชุมผู้ถือหุ้นได้ทันภายในเดือนเม.ย.นี้ ปัจจุบันอยู่ต้องเจรจาในเรื่องของการประเมินทรัพย์สินและเจรจาในเรื่องของราคาซื้อกิจการ’

สตอรี่สอง การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ช่วงปลายปีที่ผ่านมามีคนมาเสนอขายรีสอร์ท มูลค่า 300 ล้านบาท ซึ่งบริษัทนำมาเข้ากับโครงการ “ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ” หรือ Wellness Center อยู่เขาใหญ่ ปากช่อง นครราชสีมา เนื้อที่ 22 ไร่ มีตัวอาคารที่ก่อสร้างยังไม่เสร็จมีแต่โครงสร้าง ซึ่งปัจจุบันบริษัทอยู่ระหว่างการต่อรองในเรื่องของราคา

ทั้งนี้ หากโครงการดังกล่าวประสบความสำเร็จ เราจะนำโมเดลธุรกิจแบบนี้ไปเปิดในทำเล 4 มุมเมืองของประเทศไทย เหนือ , ตะวันนออก , ใต้ ก็จะมีเพิ่มเติมเข้ามา ซึ่งการแพร่ระบาดของโควิด-19 ถือเป็นปีทองของผู้ซื้อซึ่งสถานการณ์ใกล้เคียงปี 2540 ที่เราได้ซื้อที่ดินโรงเรียนนานาชาติ และที่เอมาร์คเป็นจังหวะที่จะทำให้บริษัทมีพื้นที่ขยายโครงการที่อยู่ในแผนดำเนินงานของบริษัท

มูลค่าลงทุนสองโครงการมูลค่า 1,100 ล้านบาท ปัจจุบันอยู่ตรงการประเมินราคาที่ดินและแบบก่อสร้างเดิมหากสร้างต่อจะต้องใช้เงินลงทุนเท่าไหร่ หากได้ข้อสรุปคาดว่าจะเปิดต้นปี 2565 ส่วนซื้อกิจการโรงพยาบาลหากซื้อได้ก็รับรู้รายได้เข้ามาทันที

นอกจากนี้ บริษัทยังมีโครงการลงทุนอีก คือ อาคารจอดรถ สร้างปีนี้จำนวน 250 คัน มูลค่า 50-60 ล้านบาท และ โครงการสร้างศูนย์แพทย์เฉพาะทาง 2 ตึก ตึกแรกเป็นโรงพยาบาลศูนย์ตา สร้างเสร็จปี 2566 มูลค่าลงทุน 200 ล้านบาท ตึกที่สองเป็นศูนย์เฉพาะทาง ตับ ไต หัวใจ และมีห้องผ่าตัดที่ทันสมัย

เป้าหมายต้องการยกระดับโรงพยาบาลลาดพร้าวให้มีศูนย์เฉพาะทางมากขึ้น และทำให้ความสามารถในการรักษาโรคซับซ้อนได้สูงมากขึ้น โดยจะมีแพทย์ที่มีความสามารถมาประจำอยู่ที่โรงพยาบาลลาดพร้าว

[Total: 3 Average: 4.7]

Leave a Reply

Discover more from HEALTH ME NOW

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading