โรงพยาบาลเอกชน: จะไปทางไหน?

5 โรงพยาบาลเอกชนที่ดีที่สุดในประเทศไทย มูลค่าการตลาดสูงสุด ยอดเยี่ยม ดีที่สุดในเอเซีย ดีที่สุดในโลก แพงที่สุด Health Me Now

โรงพยาบาลเอกชนเกิดขึ้นมาเพราะความจำ เป็นที่โรงพยาบาลของรัฐ
ไม่สามารถให้บริการรักษาพยาบาลได้อย่างเพียงพอ
จากเดิมที่โรงพยาบาลเอกชนจะมีขนาดเล็ก แพทย์เป็นเจ้าของคนเดียว
บริหารแบบครอบครัว แพทย์และบุคลากรด้านสุขภาพทำ งานนอกเวลา
ให้บริการรักษาพยาบาลเพียงบางอย่างบางเวลา ไม่มีระบบควบคุมคุณภาพ
ปัจจุบันโรงพยาบาลเอกชนได้มีการพัฒนาจนกลายเป็นกิจการขนาดใหญ่
เจ้าของเป็นมหาชน บริหารแบบมืออาขีพ แพทย์และบุคลากรด้านสุขภาพ
ทำ งานเต็มเวลา สามารถให้บริการรักษาพยาบาลโรคเฉพาะทางตลอด 24 ชั่วโมง
มีการฝึกอบรมและผลิตบุคลากร มีการวิจัยทางคลินิก
และได้รับมาตรฐานนานาชาต

ปัจจุบันมีโรงพยาบาลเอกชน 321 แห่ง มีเตียงให้บริการรวม 32,828 เตียง โดยมีการจ้างงาน
ประมาณ 200,000 คน ก่อให้เกิดรายได้ในอุตสาหกรรมประมาณ 150,000 ล้านบาทต่อปี ให้
บริการผู้ใช้บริการประมาณ 55 ล้านครั้ง/ปี มีชาวต่างชาติที่ตั้งใจมารักษา 1.5 ล้านครั้งจาก
200 ประเทศทั่วโลก มีสัดส่วนของทรัพยากรหรือการให้บริการประมาณ 25-30%ของประเทศ
โรงพยาบาลเอกชนเป็นทางเลือกอันดับต้นๆ ของผู้จ่ายค่ารักษาพยาบาลด้วยตนเอง ผู้มีประกัน
สุขภาพเอกชน หรือ ผู้ประกันตนของกองทุนประกันสังคม โรงพยาบาลเอกชนเป็นผู้มีส่วนสำคัญ
ในระบบบริการสาธารณสุข ยิ่งในระยะ 10 ปีหลัง ผลงานและชื่อเสียงกระจายไปทั่วโลกจนมีชาว
ต่างชาติมาใช้บริการ โรงพยาบาลเอกชนจึงกลายเป็นผู้มีบทบาทสำคัญต่อระบบบริการสุขภาพ
และการพัฒนาของประเทศที่ไม่ต้องใช้เงินรัฐจากภาษีอาการ

โรงพยาบาลเอกชนต่อเศรษฐกิจประเทศ

  1. ให้การรักษาที่มีประสิทธิภาพและมีคุณภาพ
    โรงพยาบาลเอกชนจะเน้นบริการรักษาพยาบาลที่สะดวกรวดเร็วและมีคุณภาพ ปัจจุบันมี
    โรงพยาบาลเอกชนได้รับมาตรฐานประเทศไทย HA (Hospital Accredited) จำ นวนมาก
    และ มาตรฐานนานาชาติ JCI Accredited Organizations กว่า20แห่ง ในขณะที่ยังไม่มีโรง
    พยาบาลของรัฐได้รับมาตรฐานนานาชาติ JCI เลย บริการที่สะดวกรวดเร็วและมีคุณภาพของ
    โรงพยาบาลเอกชนสามารถดึงดูดผู้ป่วยใช้บริการปีละประมาณ 55 ล้านครั้ง ทั้งๆมีผู้ป่วยมีทาง
    เลือกที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายถ้าเลือกไปใช้จากโรงพยาบาลของรัฐ รวมทั้งกรณีกองทุนประกัน
    สังคมก็ปรากฏว่า ผู้ประกันตนก็เลือกโรงพยาบาลเอกชนเป็นโรงพยาบาลต้นสังกัดมากกว่าโรง
    พยาบาลของรัฐ ทั้งๆที่โรงพยาบาลเอกชนมีจำ นวนน้อยกว่าภาครัฐ
  2. รายได้และมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ โรงพยาบาลเอกชนมีรายได้รวม 80,654.7 ล้านบาท (การสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พ.ศ. 2549) สามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม 28,296.7 ล้านบาท หรือคิดเป็น 35% ซึ่งนับว่าสูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ปัจจุบันคาดว่าโรงพยาบาลเอกชนมีรายได้ประมาณ 150,000 ล้านบาทต่อปี
  1. เกิดการจ้างงานและรายได้สู่ครัวเรือน
    โรงพยาบาลเอกชนมีการจ้างงาน 141,699 คน (การสำ รวจ
    ของสำ นักสถิติแห่งชาติพ.ศ. 2549) เป็นพนักงานเต็มเวลา
    107,509 คน (75.9%) เป็นบุคลากรด้านสุขภาพ 74.4 %
    เป็นบุคลากรอื่น 25.6% จ่ายค่าจ้างบุคลากร 22,690.5
    ล้านบาท นอกจากนี้เป็นแหล่งรายได้เพิ่มแก่บุคลากรด้าน
    สุขภาพของรัฐที่ใช้เวลานอกราชการมาทำ งานประมาณ
    40,000 คน ปัจจุบันคาดว่าโรงพยาบาลเอกชนมีการจ้างงาน
    จำ นวนประมาณกว่า 200,000 คนขึ้นไป
  2. ส่งเสริมอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
    โรงพยาบาลเอกชนมีรายจ่าย (ไม่รวมค่าจ้างพนักงาน)
    39,730 ล้านบาท (การสำ รวจของสำ นักงานสถิติแห่งชาติ
    พ.ศ.2549) เป็นค่ายา/เวชภัณฑ์19,122ล้านบาท ค่าอาหาร
    1,141 ล้านบาท ซึ่งเป็นการสร้างรายได้ให้แก่อุตสาหกรรม
    เกี่ยวข้องอื่นๆ
  3. การลงทุนภาคเอกชนช่วยลดภาระการลงทุนของรัฐ
    โรงพยาบาลเอกชนมีค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ถาวร 6,648.5
    ล้านบาท (การสำรวจของสำ นักงานสถิติแห่งชาติพ.ศ. 2549)
    ค่าเสื่อมราคานี้ สะท้อนรายจ่ายเงินลงทุนของเอกชนที่จ่าย
    ไปแต่ละปี ถ้าจะให้บริการประชาชนได้จำ นวนเท่าเดิมโดย
    ไม่มีเงินก้อนนี้จากการลงทุนเอกชน จะต้องใช้เงินลงทุน
    จากรัฐมาทดแทน จึงเท่ากับเป็นการช่วยลดภาระการลงทุน
    ของรัฐปีละ 6,648.8 ล้าน ถ้า 10 ปีก็จะเป็นเงินมากกว่า
    66,488 ล้านบาท
  4. ช่วยสนับสนุนโครงการ/ นโยบายสุขภาพของรัฐบาล
    รัฐบาลมีโครงการนโยบายรักษาพยาบาลต่างๆ ซึ่งได้รับการ
    สนับสนุนเข้าร่วมโครงการจากโรงพยาบาลเอกชนเป็นอย่าง
    ดีเยี่ยม

โลกที่เปลี่ยนไป
โรงพยาบาลเอกชน
จะช่วยพัฒนา
ระบบสุขภาพอย่างไร
โลกาภิวัฒน์
และการเปลี่ยนแปลง
ในสังคมมีผลต่อ
แนวคิดนโยบาย
วิธีดำ เนินงานอย่างมาก

ภายใต้ระบบเศรษฐกิจเสรีนิยมโรงพยาบาลเอกชนเป็น
ธุรกิจที่ดีต่อประชาชนผู้เจ็บป่วย เป็นทางเลือกแรกของ
ประชาชนผู้จ่ายเงินค่ารักษาด้วยตนเอง มีการจ้างงานจำนวน
มาก เกิดรายได้จากอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เกิดการผลิต
บุคลากรสุขภาพ การลงทุนภาคเอกชนช่วยลดภาระการลงทุน
ของรัฐ ในระยะหลังนำรายได้เข้าประเทศจากบริการชาว
ต่างประเทศเหมือนอุตสาหกรรมส่งออกอื่นๆ โรงพยาบาล
เอกชนก่อให้เกิดรายได้เป็นภาษีทางตรงและทางอ้อมให้แก่
รัฐเป็นจำนวนมาก กลายเป็นผู้มีบทบาทสำคัญต่อระบบ
บริการสุขภาพและการพัฒนาของประเทศที่ไม่ต้องใช้เงิน
รัฐจากภาษีอาการ จึงเป็นธุรกิจที่รัฐพึงให้การส่งเสริมอย่าง
ยิ่งในทุกด้านให้มีสัดส่วนมากกว่าภาครัฐในอนาคต จะทำ
ให้รัฐลดภาระค่าใช้จ่ายลง ประชาชนได้รับบริการที่ดีและมี
ประสิทธิภาพ รัฐบาลจะได้รับการสรรเสริญตลอดไป

[Total: 91 Average: 4.9]

Leave a Reply

Discover more from HEALTH ME NOW

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading