กระดูกพรุน: เข้าสู่วัยทองต้องระวัง

ข่าวโรงพยาบาล อัพเดต แพ็คเกจ โปรโมชั่น กรุงเทพ สมิติเวช บำรุงราษฎร์ พญาไท

เมื่ออายุมากขึ้น จนถึงจุดที่มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่กับร่างกายอย่าง “วัยทอง” ความผิดปกติที่เห็นได้ชัดเจน คืออาการร้อนวูบวาบ นอนไม่หลับ ช่องคลอดแห้ง ปัสสาวะอักเสบ ความทรงจำแย่ลง และยังมีอีกหนึ่งภัยเงียบที่คุณผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนไม่สามารถสังเกตเห็นได้ อย่าง “โรคกระดูกพรุน

โดยปกติแล้ว มวลกระดูกสะสมจะอยู่คงที่สูงสุดจนถึงอายุ 40 ปี หลังจากนั้นก็จะมีการลดลงเฉลี่ยปีละ 0.5-1% ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การกินอาหาร การออกกำลังกาย หรือการใช้ยาบางชนิด แต่สำหรับผู้หญิงที่เข้าสู่ภาวะหมดระดูในช่วงวัย 48-52 ปี ฮอร์โมนเอสโตรเจนที่มีหน้าที่ในการส่งเสริมการสร้างมวลกระดูกจะเริ่มขาด ทำให้มวลกระดูกลดลงอย่างรวดเร็วถึง 3-5% ทำให้กระดูกเปราะบาง และกว่าจะรู้ตัวอีกทีว่ากระดูกพรุนก็จนกว่าจะมีการแตกหรือหักเกิดขึ้น

ดังนั้นเมื่อรู้ตัวว่าเริ่มเข้าสู่ช่วงวัยทอง การเข้ารับการตรวจฮอร์โมน และตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูกจึงสำคัญ เพื่อเป็นการป้องกันตัวเองก่อนเกิดการแตกหักของกระดูก และรับคำแนะนำจากแพทย์ในการใช้ฮอร์โมนทดแทนอย่างถูกต้องและปลอดภัย

[Total: 6 Average: 5]

Leave a Reply