COVID-19: เปิดผลตรวจแอนติเจน เทสต์ คิท (ATK) เป็นบวก 6,026 ราย ทั่วประเทศ – เสียชีวิตทะลุ 200 คน

สถานการณ์โควิดไทยติดเชื้อกว่า 2 หมื่นรายต่อเนื่อง เสียชีวิตวันนี้พุ่ง 212 คน พบผู้สูงอายุ ป่วยโรคเรื้อรังสูงสุดถึง 93% ผอ.กองระบาดฯเผยป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนกลุ่มเสี่ยงทั้งสูงอายุ 60 ปี-โรคเรื้อรัง-หญิงตั้งครรภ์ ตั้งเป้า 29 จ.ล็อกดาวน์ต้องฉีดมากกว่า 70% จังหวัดอื่นๆมากกว่า 50%ภายในเดือนส.ค.นี้ ส่วนการตรวจ ATK ในกรุงเทพฯ ตรวจ 100 คนจะมีผลบวกหรือติดเชื้อประมาณ 10 คน เมื่อเวลา 11.30น. วันที่ 7 ส.ค. ที่กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) นพ.จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ ผู้อำนวยการกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค แถลงประเด็น : อัปเดตสถานการณ์วัคซีนโควิด 19 ผ่านระบบออนไลน์ ว่า ทั่วโลกมีแนวโน้มขาขึ้นพบติดเชื้อรายใหม่ถึง 668,464 ราย เสียชีวิตรายใหม่ 9,923 คน คิดเป็น 2.12% โดยสหรัฐค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตาม ภาพรวมในสหรัฐมีการระบาดของเดลตา ทำให้มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น ส่วนประเทศอื่นๆก็เช่นกันLanjutkanLanjutkan membaca “COVID-19: เปิดผลตรวจแอนติเจน เทสต์ คิท (ATK) เป็นบวก 6,026 ราย ทั่วประเทศ – เสียชีวิตทะลุ 200 คน”

COVID-19: คืบหน้าส่ง “วัคซีนไฟเซอร์” รอบแรก 4-6 ส.ค.แล้ว 170 รพ. ฉีดบุคลากรฯ ด่านหน้ากว่า 4.6 หมื่นคน

กรมควบคุมโรคเผยจัดส่งวัคซีนโควิด “ไฟเซอร์” ล็อต 1.5 ล้านโดส รอบแรก 4-6 ส.ค. ส่งแล้ว 170 รพ. ทั้ง 77 จังหวัด ฉีดบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้ากว่า 4.6 หมื่นคน ไม่พบผลข้างเคียงรุนแรง มีปวดเมื่อยแต่หายเองได้ พร้อมเดินหน้ากระจายวัคซีนเพิ่มเติม เมื่อวันที่ 7 ส.ค. นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค(คร.) กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวถึงการกระจายวัคซีนโควิด19 ว่า สำหรับวัคซีนไฟเซอร์จำนวน 1.5 ล้านโดส ซึ่งเป็นล็อตบริจาคจากสหรัฐ โดยมุ่งให้แก่กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า รวมทั้งกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และกลุ่มเสี่ยงตามที่กำหนดนั้น สำหรับวัคซีนที่ยังไม่กระจายออกไปก็จะอยู่ในภาวะแช่แข็งอย่างดีตามที่กำหนด โดยวัคซีนนี้เป็นวัคซีนใหม่ผลิตตั้งแต่เดือนมิ.ย.ที่ผ่านมา และหมดอายุในเดือน พ.ย. 2564 โดยเมื่อเก็บในภาวะแช่แข็งอยู่ได้ 6 เดือน “ในส่วนการกระจายวัคซีน ตั้งแต่เมื่อวันที่ 4-6 ส.ค. 2564 มีการส่งวัคซีนไปทั่วประเทศทั้ง 77 จังหวัด โดยล่าสุด 170LanjutkanLanjutkan membaca “COVID-19: คืบหน้าส่ง “วัคซีนไฟเซอร์” รอบแรก 4-6 ส.ค.แล้ว 170 รพ. ฉีดบุคลากรฯ ด่านหน้ากว่า 4.6 หมื่นคน”

COVID-19: คืออะไร รู้ครบจบทุกเรื่องโควิด

โรคโควิด-19 คืออะไร เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่มโคโรนาที่ทำให้มีไข้ และอาการระบบทางเดินหายใจ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ หายใจไม่สะดวก บางรายอาจมีปอดอักเสบรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ อาการ โรคโควิด-19 คืออะไร โควิด-19 ส่งผลต่อผู้คนในรูปแบบที่แตกต่างกันไป ผู้ที่ติดเชื้อส่วนใหญ่จะมีอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง และหายจากโรคได้เองโดยไม่ต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาล อาการทั่วไปมีดังนี้ มีไข้ไอแห้งอ่อนเพลีย อาการที่พบไม่บ่อยนักมีดังนี้ ปวดเมื่อยเนื้อตัวเจ็บคอท้องเสียตาแดงปวดหัวสูญเสียความสามารถในการดมกลิ่นและรับรสมีผื่นบนผิวหนัง หรือนิ้วมือนิ้วเท้าเปลี่ยนสี การป้องการ โรคโควิด-19 คืออะไร ปกป้องตนเองและคนรอบตัวโดยการหาข้อมูลและปฏิบัติตามข้อควรระวังที่เหมาะสม รวมถึงปฏิบัติตามคำแนะนำจากหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ โปรดขอคำแนะนำที่เหมาะสมกับภูมิภาคของคุณที่สุดจากหน่วยงานด้านสาธารณสุขในท้องถิ่น วิธีป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 รักษาระยะห่างที่ปลอดภัยจากผู้อื่น แม้ว่าผู้นั้นจะไม่ได้ป่วยก็ตามสวมหน้ากากอนามัยในที่สาธารณะ โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในพื้นที่ปิดหรือเว้นระยะห่างไม่ได้หลีกเลี่ยงพื้นที่ปิด พยายามอยู่ในพื้นที่เปิดโล่งและอากาศถ่ายเทสะดวก เปิดหน้าต่างเมื่ออยู่ในพื้นที่ปิดล้างมือบ่อยๆ โดยใช้สบู่และน้ำ หรือเจลล้างมือที่มีส่วนผสมหลักเป็นแอลกอฮอล์รับวัคซีนเมื่อได้รับสิทธิ์ ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในพื้นที่เกี่ยวกับการฉีดวัคซีนปิดจมูกและปากด้วยข้อพับด้านในข้อศอกหรือกระดาษชำระเมื่อไอหรือจามเก็บตัวอยู่บ้านเมื่อรู้สึกไม่สบาย หากมีไข้ ไอ และหายใจลำบาก โปรดไปพบแพทย์ โดยติดต่อล่วงหน้าเพื่อที่ผู้ให้บริการด้านสุขภาพจะได้แนะนำให้คุณไปยังสถานพยาบาลที่ถูกต้อง ซึ่งจะช่วยปกป้องคุณ รวมถึงป้องกันการแพร่กระจายของไวรัสและการติดเชื้ออื่นๆ หน้ากากอนามัย หน้ากากอนามัยที่กระชับกับใบหน้าช่วยป้องกันไม่ให้ผู้ที่สวมแพร่กระจายไวรัสไปยังผู้อื่น อย่างไรก็ตาม หน้ากากอนามัยเพียงอย่างเดียวป้องกันเชื้อโควิด-19 ไม่ได้ จึงควรรักษาระยะห่างและหมั่นทำความสะอาดมือร่วมด้วย รวมถึงปฏิบัติตามคำแนะนำจากหน่วยงานด้านสาธารณสุขในท้องถิ่น การรักษา โรคโควิด-19 คืออะไร การดูแลตนเอง หลังจากสัมผัสกับผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19LanjutkanLanjutkan membaca “COVID-19: คืออะไร รู้ครบจบทุกเรื่องโควิด”

COVID-19: สัญญาณเตือนว่าอนาคตกำลังไล่ล่า ไม่เหลือเวลาให้ความเปราะบางในชุมชน

มหันตภัยด้านสุขภาพที่กำลังคุกคามมนุษยชาติอยู่ในขณะนี้ กำลังบอกกับเราว่า โลกใบเก่าที่เราคุ้นชินอยู่ในขณะนี้จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป และในอนาคตอันใกล้ อาจเกิดวิกฤตการณ์ครั้งใหม่ขึ้นได้ทุกเมื่อ โควิด-19 คือภาพสะท้อนของ One World, One Destiny หรือ “โลกที่มีชะตากรรมเดียวกัน” ทุกคนถูกผูกติดกันอย่างไม่อาจแยกขาด ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในซีกโลกหนึ่งสามารถส่งผลกระทบมาถึงอีกซีกโลกหนึ่งได้อย่างทันทีทันใด การดำรงอยู่ในยุคสมัยที่อนาคตกำลังไล่ล่าจึงไม่ง่าย การเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือวิกฤตการณ์ในทุกระดับคือหนทางเดียวที่จะช่วยให้เราหยัดอยู่บนโลกใบใหม่นี้ต่อไปได้ ซึ่งแน่นอนว่า คงไม่ใช่การดำเนินการโดยใครหรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง เพราะนั่นมีขนาดเล็กเกินไป เมื่อเทียบกับขนาดของปัญหาที่เรากำลังเผชิญอยู่ โควิด-19 จึงเรียกร้องให้เกิดการสานพลังความร่วมมือ หนึ่งในตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดคือโครงการ COVAX ขององค์การอนามัยโลก (WHO) ที่ระดมสรรพกำลังในการผลิต-กระจายวัคซีนอย่างเป็นองค์รวม ตลอดจนการเปิดโครงการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากวัคซีนภายในโครงการ COVAX ซึ่งเป็นกลไกการเยียวยาระดับโลก ภาพเล็กลงมาระดับประเทศ เราได้เห็นรูปธรรมการข้ามผ่านสถานการณ์อันเลวร้ายของ “ชุมชนแออัดคลองเตย” คลัสเตอร์การแพร่ระบาดขนาดใหญ่ใจกลางกรุงเทพมหานคร (กทม.) ซึ่งก็เป็นผลพวงมาจากจับมือร่วมแรงร่วมใจกันในการสู้วิกฤตของทุกภาคส่วน ทั้งชุมชน ประชาสังคม เอกชน และรัฐบาล ในห้วงยามที่เราต้องหันกลับมาพูดเรื่อง “กระบวนการการมีส่วนร่วม” เพื่อฝ่าฟันวิกฤต ปรากฏชื่อของ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) องค์กรสานพลังที่จัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 มีหน้าที่ชักชวนภาคีเครือข่ายเข้ามาร่วมขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ เพื่อทำให้เรื่องที่ดูเหมือนว่าจะเป็นไปไม่ได้-ให้เป็นไปได้ นพ.ประทีปLanjutkanLanjutkan membaca “COVID-19: สัญญาณเตือนว่าอนาคตกำลังไล่ล่า ไม่เหลือเวลาให้ความเปราะบางในชุมชน”

COVID-19: สธ. – สสส. จับมือ Facebook เปิดตัว AI “แชทชัวร์” ตอบคำถามโควิด-19 ช่วยคนไทยสู้ Fake News

สธ. – สสส. จับมือ Facebook สู้ Fake News เปิดตัวแชทบอท “แชทชัวร์” AI คู่หูใหม่คนไทย ตอบทุกคำถามโควิด-19 ช่วยคนไทยรู้จริง ผ่าน Messenger บนเพจ Facebook สสส. เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน ที่กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) บริษัท Facebook ประเทศไทย บริษัท เฮ็ดบอท จํากัด สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) และ สถาบันวัคซีนแห่งชาติ แถลงข่าวเปิดตัว “แชทบอท แชทชัวร์” เพื่อเป็นช่องทางให้ข้อมูลความรู้แก่ประชาชน แบบถาม-ตอบผ่านระบบ ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence:AI) เพื่อสื่อสารสร้างความเข้าใจสังคมไทย และเตรียมพร้อมการเข้ารับวัคซีนของประชาชน ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และรองประธานกองทุน สสส. คนที่ 1 กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ปัจจุบัน หนึ่งในปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นในสังคมคือLanjutkanLanjutkan membaca “COVID-19: สธ. – สสส. จับมือ Facebook เปิดตัว AI “แชทชัวร์” ตอบคำถามโควิด-19 ช่วยคนไทยสู้ Fake News”

COVID-19: ย้อนอดีตจากการปลูกฝีสู่วัคซีน mRNA

ขณะนี้วัคซีนถือเป็นวาระระดับโลก เพราะทุกประเทศล้วนต้องการวัคซีนเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โซเฟียอยากชวนผู้อ่านสำรวจวิวัฒนาการวัคซีนตั้งแต่ก้าวแรก (ที่ต้องขอบคุณเอ็ดเวิร์ด เจนเนอร์ และเจ้าวัวเพื่อนยาก) จนถึงก้าวปัจจุบัน ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดอย่าง mRNA ที่ยังไม่เคยใช้ผลิตวัคซีนใดมาก่อน ก่อให้เกิดความก้าวล้ำพร้อมข้อถกเถียงมากมาย เช่นที่มันเป็นตลอดมาในประวัติศาสตร์ วันเวลาหลายร้อยปี วัคซีนได้ช่วยชีวิตมนุษย์ไว้มากมายเพียงไร และมันสอนบทเรียนใดแก่เรา วัคซีนจากฝีดาษวัว ค.ศ. 1796 หลายคนรู้จักเอ็ดเวิร์ด เจนเนอร์ ในฐานะบิดาแห่งวัคซีน จากการพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคไข้ฝีดาษหรือไข้ทรพิษขึ้นในปี 1796 ซึ่งเป็นนับกันว่าเป็นวัคซีนชนิดแรกของโลก เจนเนอร์เคยได้ยินจากหญิงเลี้ยงโคว่าผู้ที่ป่วยจากการสัมผัสกับวัวที่เป็นโรคฝีดาษวัวมาก่อนจะไม่เป็นไข้ทรพิษอีก เขาจึงฝังช้ินส่วนจากแผลของคนที่เป็นโรคฝีดาษวัวลงให้กับเด็กคนหนึ่ง เด็กคนนั้นเป็นไข้เพียงไม่กี่วันก็หาย จากนั้นเขาลองฉีดเชื้อทรพิษเข้าไปในร่างกายเด็กปรากฎว่าไม่เป็นอะไรเลย เขาคือผู้ที่พิสูจน์ได้ว่าชิ้นส่วนแผลที่ฝังเข้าไปในร่างกายไม่ถึงขั้นทำให้คนเป็นโรคแต่สร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายได้ นี่คือการปลูกฝี วิธีการของเจนเนอร์ใช้ได้ผล นั่นคือจุดเริ่มต้นและที่มาของคำว่า Vaccine ซึ่งมาจากภาษาละตินว่า Vacca ที่แปลว่าวัวนั่นเอง วัคซีนเชื้ออ่อนแรง ค.ศ. 1879 ผู้ที่พิสูจน์ได้ว่าเชื้อโรคเป็นสาเหตุของความป่วยไข้นั้นคือหลุยส์ พาสเตอร์ ผู้ได้ชื่อว่าบิดาให้จุลชีววิทยา เขาได้ทำงานวิจัยเกี่ยวกับการหมักไวน์และเบียร์ช่วงกลางทศวรรษ 1850 และพบว่ากระบวนการหมักดองเกิดจากจุลชีพในอาหาร และจุลชีพยังทำให้คนและสัตว์เป็นโรคในปี 1877 พาสเตอร์ทำวิจัยเกี่ยวกับโรคอหิวาต์ในไก่ และประสบความสำเร็จในการเพาะเชื้อโรคที่เป็นต้นเหตุ เขาสั่งให้ผู้ช่วยฉีดเชื้อเข้าไปในไก่สำหรับการทดลอง แต่ผู้ช่วยลืมทำ จนเวลาผ่านไปหนึ่งเดือนเขานึกถึงได้จึงฉีดเชื้อที่เพาะทิ้งไว้นานแล้วเข้าไป ปรากฏว่าไก่มีอาการป่วยเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ด้วยความแปลกใจพาสเตอร์จึงลงฉีดเชื้อที่ยังสดใหม่เข้าไปในไก่ชุดเดียวกัน ปรากฏว่าไก่ยังคงแข็งแรงไม่ป่วยไข้LanjutkanLanjutkan membaca “COVID-19: ย้อนอดีตจากการปลูกฝีสู่วัคซีน mRNA”

COVID-19: การ Transform ธุรกิจโรงพยาบาลในยุคโควิด-19 กับก้าวต่อไปของบำรุงราษฎร์

รพ.เอกชนยักษ์ใหญ่ มองหลังโควิดธุรกิจรพ.ไทย มีแนวโน้มเติบโตมากยิ่งขึ้น และมาตรฐานความปลอดภัยเป็นหัวใจหลักแข่งขัน -โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จัดสัมภาษณ์พิเศษ ในหัวข้อ “การ Transform ธุรกิจโรงพยาบาลในยุคโควิด-19 กับก้าวต่อไปของบำรุงราษฎร์” สะท้อนมุมมองการดูแล รักษาผู้ป่วยทั้งในการดูแลและเชิงป้องกัน เพื่อช่วยเสริมให้ประสิทธิภาพการรักษา วิทยาการทางการแพทย์ให้มีมาตรสูงขึ้น  รศ.นพ.ทวีสิน ตันประยูร ประธานปฏิบัติการด้านการแพทย์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เผยว่า สถานการณ์โควิด-19 ทำให้โรงพยาบาลในหลายแห่งต้องมีการปรับตัว และเปลี่ยนแปลงระบบในการดูแลคนไข้ให้มีความปลอดภัย ซึ่งทางรพ.บำรุงราษฎร์เอง ก็ต้องมีการเปลี่ยนไปตามเทรนด์ แต่ยังคงเน้นในเรื่องของคุณภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วย ให้ได้รับการรักษาที่ดีจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ บุคลากรทางการแพทย์ต่างๆ และจุดแข็งที่รักษาโรคซับซ้อนและวิกฤต รวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีควบคู่ไปกับการรักษา เพราะไทยก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุ ผู้ป่วยสูงวัยจึงไม่ได้มีแค่ 1 โรค จึงเป็นสิ่งที่ต้องเตรียมพร้อมในการดูแลรักษา รวมไปถึงแพทย์ผู้ชำนาญการในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง จะร่วมกันพิจารณาถึงการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย ในราคาที่สมเหตุสมผลคุ้มค่ากับการรักษาเช่น รักษาหาย และไม่ต้องกลับมารักษาซ้ำ หรือไม่ต้องนอนโรงพยาบาลนาน เป็นต้น “เรามีประสบการณ์และองค์ความรู้ จากการแพทย์ทั่วโลกตลอด 40 ปี หรือเรียกว่า Bumrungrad Rich Heritage ถูกจัดอันดับให้เป็นโรงพยาบาลที่ดีที่สุดอันดับ 1 ของไทย ด้วยคะแนน 92.05%LanjutkanLanjutkan membaca “COVID-19: การ Transform ธุรกิจโรงพยาบาลในยุคโควิด-19 กับก้าวต่อไปของบำรุงราษฎร์”

COVID-19: เรียนรู้ไว้ก่อนจวนตัว…ถ้าวันนี้คุณติดเชื้อ… ‘บ้าน’ คือที่ที่จะรักษาคุณ

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เรียนรู้ไว้ก่อนจวนตัว…ถ้าวันนี้คุณติดเชื้อ… ‘บ้าน’ คือที่ที่จะรักษาคุณ Home isolation หรือการแยกกักตัวที่บ้านเป็นยังไง ? ทำไมต้อง แยกกักตัว? เพราะทุกวันนี้โรงพยาบาลไม่มีเตียงมากพอที่จะรองรับผู้ป่วยทุกคน หากคุณเป็นผู้ป่วยสีเขียวที่อาการไม่หนักมาก คุณสามารถกักตัวรักษาเองได้ที่บ้าน นอกจากจะไม่ต้องเสียเวลาในการรอเตียงแล้ว ยังเป็นการมอบพื้นที่เตียงให้แก่ผู้ป่วยสีเหลืองและสีแดงอีกด้วย โดยผู้ที่ตรวจด้วยชุดตรวจแอนติเจน สามารถเข้าระบบ home isolation แยกกักตัวที่บ้านได้เลย ไม่ต้องตรวจซ้ำที่โรงพยาบาล โดยติดต่อหมายเลข 1330 ต่อ 14 รวมเบอร์โทรและช่องทางติดต่อ 1668 : สายด่วนกรมการแพทย์1330 กด 14 : สายด่วน สปสช.1506 กด 6 : สายด่วนสิทธิประกันสังคม https://youtu.be/oWtPuFEDH5E ทีมครีเอทีฟ : ชูใจกะกัลยาณมิตร แอนด์เฟรนด์ และแก๊ป ธนเวทย์ ทีมภาพประกอบและแอนนิเมชั่น : Horriziny และ Uido

ภาวะ ISRR: กับหลอดเลือดสมอง ต้องแยกให้ชัด อย่าด่วนแชร์ ข้อมูลไร้ตรวจสอบ

ผู้เชี่ยวชาญ ให้ความรู้ “ISRR -สโตรก” วางแนวทางรับมือ หลังพบหลังการฉีดวัคซีน แนะบุคลากรสาธารณสุขสังเกตอาการ อย่าแชร์ข้อมูลไร้ตรวจสอบ วันนี้ (23 เม.ย.) ที่กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) มีการประชุมคอนเฟอเรนซ์ ให้แก่บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข เกี่ยวกับแนวทางการรับมืออาการไม่พึงประสงค์ทางระบบประสาท ภายหลังการได้รับวัคซีนโควิด 19 โดยมี นพ.สุระ วิเศษศักดิ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธาน ซึ่งมี ผู้เชี่ยวชาญ ให้ความรู้ “ISRR -สโตรก” หลังพบจากการฉีดวัคซีน กล่าวว่า องค์การอนามัยโลกได้บัญญัติศัพท์ Immunization Stress Related Response หรือ ISRR เป็นปฏิกิริยาความเครียดจากการรับวัคซีน ซึ่งคำศัพท์นี้ทำไว้ตั้งนานแล้ว ก่อนจะมีการระบาดโควิดเสียอีก อาการพวกนี้ไม่ได้แกล้งทำ โดยองค์การอนามัยโลกได้นิยามคำนี้คือมา ซึ่งมีหลายประเภท ทั้งก่อนปักเข็มก็เริ่มมีอาการ เป็นลมก็มี หรือหลังการฉีดก็มี การสังเกตอาการ ISRR มักเจอเป็นกลุ่มก้อน เหมือนอย่างกรณี จ.ระยอง หรือแม้แต่ในกรณีข่าวที่ จ.ลำปาง จำเป็นต้องสืบสวนให้ชัดเจนว่า เกิดจากอะไร การสืบสวนในคลัสเตอร์ ISRRLanjutkanLanjutkan membaca “ภาวะ ISRR: กับหลอดเลือดสมอง ต้องแยกให้ชัด อย่าด่วนแชร์ ข้อมูลไร้ตรวจสอบ”

COVID-19: ใช้ Antigen Test Kit รู้ผลตรวจว่า Positive/Negative แล้วยังไง ให้ไปไหนต่อ?

Antigen Test Kit (ATK) ชุดตรวจโควิดที่กระทรวงสาธารณสุขออกมาประกาศว่า จะเปิดให้ซื้อไว้ตรวจโควิดได้เองผ่านร้านค้าต่างๆ จึงทำให้เกิดความสงสัยอีกว่า ตรวจยังไง ดูผลยังไง และถ้ารู้ผลการทดสอบแล้วว่า Positive หรือ Negative จะต้องทำอะไรต่อ? ที่นี่มีคำตอบ ใช้ Antigen Test Kit หรือ ATK ที่ประกาศว่า ให้ซื้อไว้ตรวจหาเชื้อโควิดได้เอง ก็ทำให้เกิดความสงสัยว่า ถ้ารู้ผลตรวจว่าเป็นบวก (Positive) คือ พบเชื้อ แล้วจะต้องได้อยู่ที่ไหน หรือถ้าเป็นลบ (Negative) ควรทำอะไรต่อ? กรณีได้ผลบวก (Positive) – แจ้งหน่วยบริการหรือสถานพยาบาลใกล้บ้าน และรับฟังคำแนะนำว่า ควรกักตัวที่บ้าน ทำ Home Isolation, Community Isolation หรือส่งตัวเข้าสถานพยาบาล – แยกกักตัวเองจากผู้อื่น เพื่อลดการแพร่เชื้อ โดย แยกห้องน้ำ ของใช้ส่วนตัวหลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์เลี้ยงสวม mask ตลอดเวลาสังเกตอาการตัวเอง วัดอุณหภูมิเป็นประจำ ถ้าหายใจลำบากให้รีบติดต่อขอเข้ารักษาในสถานพยาบาลแจ้งคนใกล้ชิดให้รู้ว่ามีความเสี่ยงจากการสัมผัส และควรทดสอบการติดเชื้อต่อไป กรณีได้ผลลบ (Negative) – หากเป็นผู้มีความเสี่ยงสูง เชื้ออาจอยู่ในระยะฟักตัวLanjutkanLanjutkan membaca “COVID-19: ใช้ Antigen Test Kit รู้ผลตรวจว่า Positive/Negative แล้วยังไง ให้ไปไหนต่อ?”

COVID-19: เทียบวิธีการตรวจโควิดแบบแอนติเจนและพีซีอาร์

กระทรวงสาธารณสุขเห็นชอบให้สถานพยาบาลและหน่วยตรวจหาเชื้อโควิด-19 ใช้ชุดตรวจแอนติเจนแบบทราบผลเร็ว (Rapid Antigen Test) เป็นอีกแนวทางในการตรวจหาเชื้อโรคโควิด เพื่อเพิ่มโอกาสในการตรวจหาเชื้อในสถานการณ์ที่มีการระบาดหลายพื้นที่ แก้ปัญหาประชาชนต้องรอคิวนานจากการตรวจหาเชื้อด้วยวิธีการใช้บุคลากรทางการแพทย์เก็บตัวอย่างเชื้อ (swab) จากจมูกไปวิเคราะห์ผลทางห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ตามวิธีที่เรียกว่า พีซีอาร์ (PCR) Rapid Antigen Test คืออะไร มีการทำงานอย่างไร แล้วมีข้อดีข้อเสียอย่างไรเมื่อเทียบกับการตรวจแบบ PCR Rapid Antigen Test คืออะไร Rapid Antigen Test คือ การตรวจชนิดหนึ่งของ Lateral Flow Test (LFT) ซึ่งเป็นการตรวจวินิจฉัยโรคด้วยอุปกรณ์ทดสอบอย่างง่ายและรวดเร็ว คล้ายกับชุดตรวจการตั้งครรภ์ด้วยตัวเองที่สามารถใช้ที่บ้าน ที่ทำงาน หรือที่ศูนย์ตรวจในชุมชน สำหรับชุด Rapid Antigen Test เป็นการตรวจหาโปรตีนซึ่งปรากฏอยู่ในร่างกายผู้ที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนาที่ก่อโรคโควิด-19 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์แนะนำวิธีการใช้ชุดตรวจ Rapid Antigen Test ไว้ดังนี้ ใช้ไม้สวอบป้ายเก็บตัวอย่างเชื้อจากโพรงจมูกหรือลำคอจุ่มไม้สวอบลงในหลอดที่มีน้ำยาสกัด หมุนและบีบอย่างน้อย 5 รอบ นำไม้สวอบออก แล้วปิดด้วยจุกฝาหลอดหยอดหยอดน้ำยาลงในตลับทดสอบตามจำนวนที่ชุดตรวจกำหนดรอผลหลังจากหยดน้ำยาตามช่วงเวลาที่ชุดตรวจกำหนดไว้ โดยมาก 15-30LanjutkanLanjutkan membaca “COVID-19: เทียบวิธีการตรวจโควิดแบบแอนติเจนและพีซีอาร์”

COVID-19: CDC สหรัฐฯ ออกใบกำกับให้วัคซีนไฟเซอร์ ผสมน้ำเกลือ ก่อนใช้งานจริง

ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อสหรัฐอเมริกา (CDC) และ BioNTech ระบุชัด วัคซีนไฟเซอร์ต้องเจือจางด้วยน้ำเกลือ ก่อนใช้ฉีด จากกรณีที่ นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค เปิดเผยว่า วัคซีนไฟเซอร์ ต้องนำไปผสมน้ำเกลือ ให้ได้สัดส่วน เพราะเป็นวัคซีนชนิดเข้มข้น โดย 1 ขวดจะฉีดได้ 6 คน ทำให้ประชาชนเกิดการตั้งข้อสงสัย ในการใช้วัคซีนชนิดนี้ว่าเป็นวิธีการใช้กันทั่วโลกหรือใช้เฉพาะแค่ในประเทศไทยกันแน่ ข่าวเกี่ยวข้อง :  https://healthmenowth.com/health-news/covid-19-%e0%b8%97%e0%b8%b3%e0%b8%84%e0%b8%a7%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b9%80%e0%b8%82%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b9%83%e0%b8%88-%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%84%e0%b8%8b%e0%b8%b5%e0%b8%99%e0%b9%84%e0%b8%9f/ สำหรับข้อสงสัยดังกล่าว พบว่า จากการค้นคว้าข้อมูลตามคำแนะนำจากเว็บไซต์ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อสหรัฐอเมริก หรือCDC และ เว็บไซต์ของ BioNTech ระบุชัดเจนว่า การใช้วัคซีนไฟเซอร์ ต้องนำไปเจือจางกับ 0.9% NaCl หรือน้ำเกลือธรรมดาที่ไม่ผสมสารกันบูด (ห้ามใช้น้ำเกลือแบบ bacteriostatic saline หรือสารเจือจางอื่น ๆ) ผสมในวัคซีนไฟเซอร์ทุกครั้งก่อนฉีดเข้ากล้ามเนื้อต้นแขนโดยตรง โดยวัคซีน 1 ขวด สามารถแบ่งฉีดได้ 6 โดส  เนื่องจากว่าในขวดจะมีวัคซีนปริมาณเข้มข้น อยู่ 0.45 มิลลิลิตรLanjutkanLanjutkan membaca “COVID-19: CDC สหรัฐฯ ออกใบกำกับให้วัคซีนไฟเซอร์ ผสมน้ำเกลือ ก่อนใช้งานจริง”

COVID-19: เปิดตัวเลขให้บริการวัคซีนโควิด19 รายจังหวัด กลุ่มไหนใครได้บ้าง

เปิดตัวเลขให้บริการวัคซีนป้องกันโควิด 19 ภาพรวม 28 ก.พ.-12 ส.ค.64 รับวัคซีนสะสมแล้ว 22,508,659 โดส ใน 77 จังหวัดทั่วประเทศ แจงรายละเอียดทั้งหมด ทั้งเข็มที่ 1 เข็มที่ 2 และบูสเตอร์โดส กลุ่มไหนใครได้บ้าง บุคลากรทางการแพทย์ได้วัคซีนเข็มแรกกว่า 8.4 แสนราย อสม.กว่า 5.4 แสนราย เจ้าหน้าที่ด่านหน้ากว่า 9.6 แสนราย ส่วนกลุ่มเสี่ยง ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป รับวัคซีนกว่า 3.6 ล้านราย ผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้กว่า 1.8 ล้านราย หญิงตั้งครรภ์ 8.3 พันราย ส่วนปชช.ทั่วไปได้วัคซีนเข็มแรกแล้วกว่า 9.3 ล้านราย ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับรายงานสถานการณ์ให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด ในระบบฐานข้อมูล MOPH Immunization Center  กระทรวงสาธารณสุข ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 28 ก.พ.2564 -LanjutkanLanjutkan membaca “COVID-19: เปิดตัวเลขให้บริการวัคซีนโควิด19 รายจังหวัด กลุ่มไหนใครได้บ้าง”

COVID-19: เปิดตัวเลขจัดส่งวัคซีนไฟเซอร์ 13 จังหวัดกลุ่มเสี่ยง 608 “ผู้สูงอายุ-ป่วยโรคเรื้อรัง-หญิงท้อง” 10-11 ส.ค.

กระทรวงสาธารณสุขจัดส่งวัคซีนโควิด “ไฟเซอร์” 13 จังหวัดกลุ่มเสี่ยงสูง ล็อตวันที่ 10-11 ส.ค.64 รวม 320,880 โดส โดยนนทบุรีได้ 37,680 โดส ชลบุรีได้ 37,200 โดส กรุงเทพฯได้ 34,320 โดส ตามที่ช่วงต้นส.ค. 2564ที่ผ่านมา แวดวงสาธารณสุข มีการวิพากษ์วิจารณ์ในสังคมออนไลน์ถึงจำนวนการจัดส่งวัคซีนโควิด “ไฟเซอร์” ล็อตสหรัฐอเมริกาสนับสนุน 1.5 ล้านโดส รอบต้นเดือน ส.ค.2564 สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มเสี่ยง 13 จังหวัด ว่า มีการจัดส่งอย่างไร เป็นไปตามกลุ่มเป้าหมายหรือไม่นั้น ซึ่งกลุ่มเสี่ยง ก่อนหน้านี้ทางกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่าต้องเป็นกลุ่มเสี่ยง 608 ได้แก่ ผู้อายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป ผู้ป่วย 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง และหญิงตั้งครรภ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไป ที่ไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน ผู้สื่อข่าว Hfocus ได้รวบรวมข้อมูลตัวเลขการจัดส่งวัคซีนไฟเซอร์ รอบต้นเดือนLanjutkanLanjutkan membaca “COVID-19: เปิดตัวเลขจัดส่งวัคซีนไฟเซอร์ 13 จังหวัดกลุ่มเสี่ยง 608 “ผู้สูงอายุ-ป่วยโรคเรื้อรัง-หญิงท้อง” 10-11 ส.ค.”

COVID-19: Mengapa Thailand 100 kali lebih banyak epidemi daripada Uni Emirat Arab (UEA)

Dr. Thira atau Assoc. Prof. Dr. Teera Worathanarat, guru besar Fakultas Kedokteran Universitas Chulalongkorn telah memposting tentang situasi Covid-19 yang Informasi akademik untuk orang yang mendapatkan Sinopharm Uni Emirat Arab (UEA) telah menggunakan vaksin Sinopharm untuk rakyatnya. Kemudian dianggap vaksin mRNA adalah Pfizer/Biontech. Ini telah menjadi stimulan sejak Agustus dan seterusnya. Wabah UEA mampu menekan wabah dari ribuan per hari. Hanya ada kurangLanjutkanLanjutkan membaca “COVID-19: Mengapa Thailand 100 kali lebih banyak epidemi daripada Uni Emirat Arab (UEA)”