4 เบื้องหลังพฤติกรรมของเกรตา ธุนเบิร์ก

เกรตา ธุนเบิร์ก เป็นใคร น้อง เกรตา ธุนเบิร์ก คือ สาวน้องวัยเพียง 16 ปี นักปฏิบัติการด้านสิ่งแวดล้อม ผู้ซึ่งกล่าวปราศรัยในงานประชุมระดับผู้นำว่าด้วยการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ (UN Climate Action Summit) ที่สำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ นครนิวยอร์ค เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา กับประโยคเด็ดที่ว่า ฉันควรจะอยู่ในห้องเรียนที่อีกฝั่งของมหาสมุทร แต่พวกคุณกลับโยนความหวังมาให้กับพวกเราคนรุ่นใหม่ กล้าดียังไง! เกรตา ธุนเบิร์ก เกรตาเคยถูกวินิจฉัยว่าเป็น โรคสมาธิสั้น (Attention-deficit Hyperactivity Disorder: ADHD) ซึ่งสามารถจดจ่อกับสิ่งเดิมๆ ได้เป็นชั่วโมง และให้เหตุผลในทางที่ดีว่า โรคนี้ช่วยให้มองเห็นโลกในมุมที่ต่างจากผู้อื่น โรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD) คือ โรคที่ผู้ป่วยมีความคิดซ้ำๆ ที่ทำให้เกิดความกังวลใจ และมีการตอบสนองต่อความคิด ด้วยการทำพฤติกรรมซ้ำๆ เพื่อลดความไม่สบายใจที่เกิดขึ้น ซึ่งตัวผู้ป่วยเองก็รู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ไม่มีเหตุผล แต่ก็ไม่สามารถหยุดความคิดและการกระทำดังกล่าวได้ และหมดเวลาไปกับอาการดังกล่าว และมีอาการของ แอสเพอร์เกอร์ (Asperger Syndrome) ซึ่งอยู่ในการวินิจฉัยเดียวกับออทิสติก แต่ความแตกต่างคือ เด็กแอสเพอร์เกอร์อาจจะมีระดับสติปัญญาสูงกว่าปกติ แต่มีพฤติกรรมซ้ำๆ หมกมุ่นกับเรื่องซับซ้อนLanjutkanLanjutkan membaca “4 เบื้องหลังพฤติกรรมของเกรตา ธุนเบิร์ก”

เด็กสมาธิสั้น: “พ่อแม่เข้าใจ” จุดเริ่มต้นใหญ่ของการแก้ปัญหา

เด็กโรคสมาธิสั้น จำเป็นต้องได้รับการดูแลช่วยเหลือจากครอบครัวอย่างเข้าใจ ดังนั้นจุดเริ่มต้นสำคัญของการแก้ปัญหานี้คือ “พ่อแม่ผู้ปกครอง” ที่ควรมีทัศนคติต่อเด็กสมาธิสั้นอย่างถูกต้อง เพื่อลดผลกระทบจากจุดอ่อน และช่วยเสริมการพัฒนาจุดเด่น เพื่อให้เด็กสามารถประสบความสำเร็จ และปรับตัวอยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างปกติสุข DO “ปรับมุมมองใหม่” ปัญหาพฤติกรรมของเด็กสมาธิสั้น ไม่ใช่ความผิดของใคร แต่เป็นภาวะของโรคสมาธิสั้นไม่ควรคาดหวังต่อพฤติกรรมของเด็กสมาธิสั้น เพราะบางพฤติกรรมเด็กไม่สามารถควบคุมได้เด็กสมาธิสั้นต้องได้รับการปรับพฤติกรรมที่เหมาะสม ทั้งที่บ้านและที่โรงเรียนยอมรับในสิ่งที่เด็กเป็น และปรับวิธีการเลี้ยงดูให้เหมาะสม โดยพัฒนาจุดแข็ง มองข้ามจุดอ่อน หรือความล้มเหลวของเด็กเปิดใจรับฟังข้อมูลพฤติกรรมของเด็กจากครู ตลอดจนร่วมหาทางออกในการช่วยเหลือและดูแลร่วมกัน DON’T “เลิกคิด เลิกทำ” ปฏิเสธและไม่ยอมรับว่าเด็กเป็นโรคสมาธิสั้นเด็กสมาธิสั้นเป็นเด็กเกเร ไม่เชื่อฟัง ไม่รับผิดชอบ ไม่ตั้งใจเรียน เจตนาสร้างปัญหา และเรียกร้องความสนใจเด็กสมาธิสั้นควรมีพฤติกรรมเหมือนเด็กคนอื่นๆ โดยไม่จำเป็นต้องสอนว่าควรปรับพฤติกรรมอย่างไรละเลย ไม่สนใจ หรือลงโทษเด็กไม่เหมาะสมไม่มีเวลาดูแลเด็กสมาธิสั้น ไม่สามารถจัดการปัญหาพฤติกรรมของเด็กได้ ข้อมูลจาก : คู่มือการคัดกรองและปรับพฤติกรรมเด็กที่มีอาการสมาธิสั้น สำหรับผู้ปกครอง ส่วนหนึ่งของผลงานวิจัย การพัฒนารูปแบบการดูแลเด็กโรคสมาธิสั้นแบบบูรณาการระหว่างบุคลากรทางการแพทย์ ผู้ปกครอง และครู ในเขตภาคเหนือ , สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข