อาการน้ำท่วมปอด คือ ภาวะที่ปอดหรือทรวงอก มีของเหลวมากกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการหายใจไม่อิ่ม, เหนื่อย, หอบง่ายเวลาทำกิจกรรม ซึ่งมีสาเหตุได้จากหลายสาเหตุ ดังนั้นข้อปฏิบัติตัวจะขึ้นกับสาเหตุของโรค และภาวะของอาการค่ะ
ส่วนคำถามที่ว่า ทำไมให้ดื่มน้ำน้อยเมื่อเป็นน้ำท่วมปอด? เนื่องจากว่า ไตไม่สามารถขับน้ำได้ จึงต้องดื่มน้ำน้อยกว่าคนปกติ
และเมื่อดื่มน้ำน้อย ร่างกายก็จะขับปัสสาวะออกมาน้อยกว่าเดิมนั่นเอง
ภาวะน้ำท่วมปอด (Pulmonary Edema) คือ ภาวะที่มีน้ำขังอยู่ในช่องเยื่อหุ้มปอด มีได้หลายสาเหตุที่พบบ่อย ทำให้การหายใจและแลกเปลี่ยนก๊าซลำบาก และมีอันตรายร้ายแรง ซึ่งน้ำที่ว่านี้คือน้ำเลือด โดยอาการน้ำท่วมปอดเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น ภาวะน้ำเกินในร่างกาย ความผิดปกติบางอย่างของหัวใจทำให้เลือดคั่งในปอดมาก เป็นต้น
การรักษา น้ำท่วมปอด
เมื่อผู้ป่วยไปพบแพทย์เมื่อสังเกตพบว่ามีอาการน้ำท่วมปอด แพทย์จะเริ่มทำการตรวจร่างกายเพื่อหาสาเหตุของภาวะน้ำท่วมปอดว่ามาจากอะไร แล้วจึงดำเนินการรักษาตามอาการอีกที เช่น
- การเอ็กซเรย์ปอดเพื่อตรวจดูหัวใจ ว่ามีหัวใจโตหรือน้ำท่วมปอดหรือไม่
- ตรวจดูสาเหตุร่วม เช่นเจาะเลือดตรวจหาไทรอยด์
- ตรวจวัดความดัน ตรวจคลื่นหัวใจ หรือทำอัลตราซาวน์หัวใจ
การรักษาภาวะน้ำท่วมปอดนั้นสิ่งสำคัญ คือ ต้องพยายามขับน้ำออกจากปอดให้มากที่สุด
ซึ่งส่วนมากจะใช้วิธีรักษา คือ ใช้ยาขับปัสสาวะ เพื่อขับน้ำที่ค้างออกมาทางปัสสวะ โดยจะต้องเฝ้าระวัง เพราะการขับออกทางปัสสาวะอาจทำให้เสียเกลือแร่ออกจากร่างกายไปพร้อมกับปัสสาวะที่ขับออก
โดยแพทย์จะทำการควบคุมด้วยการเจาะเลือดตรวจดูว่า ถ้าดีขึ้นแล้วก็จะค่อยๆ ลดยาลงตามขนาด ถ้าสาเหตุมาจากหลอดเลือดตีบ แพทย์จะทำการฉีดยาขยายหลอดเลือด เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือดให้ดีมากขึ้น