ไดโคลฟีแนค: อย.ทบทวนความปลอดภัยยาฉีดแก้ปวด หลังมีรายงานอาการผิดปกติของเส้นประสาท

อย.เล็งทบทวนความปลอดภัยยาฉีดแก้ปวดไดโคลฟีแนคหลังได้รับคำร้องขอจาก สปสช.ให้ทบทวนความปลอดภัยของยาฉีดไดโคลฟีแนค เนื่องจากมีผู้ใช้ยาได้รับความเสียหายจากอาการผิดปกติของเส้นประสาท อย.เร่งหารือผู้เชี่ยวชาญ พร้อมเก็บตัวอย่างยาส่งตรวจวิเคราะห์ ความคืบหน้าจะแจ้งให้ทราบต่อไป เผยในช่วง 10 ปี ไม่พบแนวโน้มการรายงานเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ของยานี้เพิ่มขึ้น นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า จากกรณีสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้มีหนังสือขอให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ร่วมกับราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย พิจารณาทบทวนข้อมูลทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์และภาวะไม่พึงประสงค์ของการใช้ยาฉีดแก้ปวดไดโคลฟีแนค (Diclofenac) อย.ได้เร่งดำเนินการพิจารณาและตรวจสอบ โดยในขณะนี้อยู่ระหว่างหารือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อศึกษาและทบทวนในเรื่องความปลอดภัยของยา รวมทั้งจะได้ดำเนินการเก็บตัวอย่างยาฉีดไดโคลฟีแนคส่งตรวจวิเคราะห์คุณภาพอย่างละเอียดอีกครั้ง หากทราบผลการตรวจสอบที่แน่ชัดจะแจ้งให้ประชาชนทราบต่อไป และหากมีความเสี่ยงหรือมีผลกระทบของยาจริงจะมีการนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะอนุกรรมการศึกษาและเฝ้าระวังอันตรายจากการใช้ยาสำหรับมนุษย์ทันที ทั้งนี้ ยาไดโคลฟีแนค เป็นยาในกลุ่มต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ออกฤทธิ์ช่วยในการบรรเทา อาการปวดบวมจากการอักเสบ ปวดตามข้อ ไขข้อกระดูก เช่น โรคข้อเสื่อม โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ปวดท้องจากประจำเดือน โรคข้ออักเสบ อาการตึงขัดของข้อ ทั้งนี้ จากฐานข้อมูลรายงานเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพในช่วง 10 ปี ไม่พบแนวโน้มการรายงานเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์เพิ่มขึ้น เลขาธิการ อย. กล่าวต่อว่า อย.จะติดตามตรวจสอบความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพในประเทศอย่างเข้มงวดและประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขอให้ประชาชนมั่นใจในการดำเนินงานของ อย. ที่มีมาตรการเฝ้าระวังที่เข้มแข็ง และหากกลุ่มยาตำรับใดมีอันตราย อย.จะแจ้งให้ผู้บริโภคทราบทางสื่อต่าง ๆ ทันทีПродолжитьПродолжить чтение “ไดโคลฟีแนค: อย.ทบทวนความปลอดภัยยาฉีดแก้ปวด หลังมีรายงานอาการผิดปกติของเส้นประสาท”

ไดโคลฟีแนค: แนะถอนออกจาก รพ.สต. ก่อนมีความชัดเจนว่ามีผลต่อเส้นประสาทหรือไม่

อย.นัดผู้เชี่ยวชาญถกประเด็นอาการไม่พึงประสงค์จากการฉีดยาไดโคลฟีแนค (Diclofenac) วันที่ 23 ม.ค. นี้ ด้าน ผศ.นพ.พิสนธิ์ แนะเบื้องต้นถอนยาตัวนี้ออกจาก รพ.สต.ไปก่อน และหากเชื่อว่ายานี้มีผลต่อเส้นประสาทจริงก็ต้องแก้บัญชียาหลักแห่งชาติ บรรจุยา Ketorolac เป็นทางเลือกแก่ผู้ปฏิบัติงาน ผศ.นพ.พิสนธิ์ จงตระกูล อาจารย์ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ในวันที่ 23 ม.ค. 2562 ที่จะถึงนี้ สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้เรียกประชุมผู้เชี่ยวชาญหลายสาขา เพื่อหารือเรื่องการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ Diclofenac injection หรือยาฉีดไดโคลฟีแนค หลังจากพบว่ามีผู้ป่วยเกิดความผิดปกติของเส้นประสาทหลังจากถูกฉีดยาตัวนี้เข้าไป (ทั้งนี้ ยาไดโคลฟีแนค (Diclofenac) เป็นยาในกลุ่มเอ็นเสด (NSAIDs) ช่วยในการบรรเทาอาการปวด บวมจากการอักเสบ ปวดตามข้อ ไขข้อกระดูก เช่น โรคข้อเสื่อม โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ปวดท้องจากประจำเดือน โรคข้ออักเสบ อาการตึงขัดของข้อ) ผศ.นพ.พิสนธิ์ กล่าวว่า ปัญหาที่เกิดในขณะนี้คือมีคนไข้จำนวนเยอะพอสมควรที่ทำเรื่องขอเงินเยียวยาไปยังสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จนคณะกรรมการ สปสช.กังวลว่ามีเคสเข้ามาเรื่อยๆ จึงทำหนังสือออกไปยังกระทรวงสาธารณสุขให้ระมัดระวังยาตัวนี้ หรือกระทำการบางอย่างเพื่อลดปัญหาการฉีดยาตัวนี้ลงПродолжитьПродолжить чтение “ไดโคลฟีแนค: แนะถอนออกจาก รพ.สต. ก่อนมีความชัดเจนว่ามีผลต่อเส้นประสาทหรือไม่”

ไดโคลฟีแนค: สภาการพยาบาลชี้ห้ามฉีดยา เพื่อคุ้มครองผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาล

สภาการพยาบาลชี้การออกประกาศห้ามฉีดยาไดโคลฟีแนค (Diclofenac) เพื่อคุ้มครองผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาล เผยมีการตั้งคณะทำงานรีวิวความรู้และเคสต่าง ๆ แล้ว สรุปว่าอาจส่งผลข้างเคียงถึงขั้นเสียชีวิตหรือพิการแม้วิธีการฉีดจะถูกต้องก็ตาม ถ้าแพทย์จะใช้ยานี้ แพทย์ต้องเป็นผู้ฉีดเองจะได้เฝ้าระวังต่อเนื่อง รศ.ดร.ทัศนา บุญทอง นายกสภาการพยาบาล กล่าวถึงการออกประกาศสภาการพยาบาลเรื่องห้ามมิให้ใช้ยา Diclofenac ชนิดฉีดว่า สภาการพยาบาลได้ตั้งคณะทำงานเพื่อรีวิวความรู้และเคสต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจนได้ข้อสรุปออกมาเช่นนี้ เนื่องจากยาดังกล่าวอาจส่งผลข้างเคียงทำให้เกิดภาวะเร่งด่วนที่อาจคุกคามคนไข้ถึงขั้นเสียชีวิตหรือพิการแม้ว่าวิธีการฉีดจะถูกต้องก็ตาม เพราะฉะนั้นถือเป็นยาอันตราย ถ้าแพทย์จะใช้ยานี้ แพทย์ต้องเป็นผู้ฉีดเองเพื่อจะได้เฝ้าระวังต่อเนื่องรวมถึงไม่มีปัญหาขณะฉีด “ที่ผ่านมาอาจมีฉีดบ้างภายใต้การดูแลของแพทย์แต่ตอนนี้คงไม่ใช่แล้ว ถ้ารีวิวดู ยามันมีผลที่อาจมีอาการข้างเคียงที่อันตรายกับหลายระบบในร่างกายของคนไข้ ยาตัวนี้จึงไม่ควรให้พยาบาลฉีด” รศ.ทัศนา กล่าวอีกว่า นอกจาก Diclofenac ชนิดฉีดแล้ว มียาตัวอื่นที่ไม่เป็นอันตรายต่อคนไข้ให้เลือกใช้ ซึ่งโรงพยาบาลขนาดใหญ่หรือแพทย์ทางโรคกระดูกก็ไม่นิยมจะใช้ยาตัวนี้แล้ว แต่บางครั้งยังมีการสั่งให้ใช้ยาตัวนี้ ประกาศของสภาการฯ จึงคุ้มครองไม่ให้พยาบาลเป็นผู้ฉีดยา เพราะอันตรายอาจเกิดกับคนไข้และความไม่ถูกต้องก็อาจเกิดกับตัวพยาบาลด้วย อนึ่ง ประกาศสภาการพยาบาลฉบับนี้ ตีพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 20 ธ.ค. 2562 โดยให้มีผลในวันถัดไป สาระสำคัญคือ 1.ห้ามมิให้ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง หรือผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง ให้ยา Diclofenac ชนิดฉีด และ 2.ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลПродолжитьПродолжить чтение “ไดโคลฟีแนค: สภาการพยาบาลชี้ห้ามฉีดยา เพื่อคุ้มครองผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาล”

ไดโคลฟีแนค: สภาการพยาบาล ออกประกาศ ห้ามพยาบาลฉีดยา

สภาการพยาบาลออกประกาศ ห้ามพยาบาลฉีดยา ไดโคลฟีแนค แต่ให้ทำหน้าเป็นเพียงผู้ช่วยเหลือแพทย์ในการดูแลผู้รับบริการก่อนและหลังการฉีดยา Diclofenac ตามมาตรฐานวิชาชีพเท่านั้น ระบุเป็นไปตาม คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ที่แนะนำให้จำกัดการใช้ยาฉีดไดโคลฟีแนค เฉพาะโรงพยาบาลระดับตติยภูมิขึ้นไป โดยให้แพทย์เฉพาะทางเป็นผู้ให้บริการแก่ผู้รับบริการ เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2562 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศสภาการพยาบาลเรื่อง ห้ามมิให้ยา Diclofenac ชนิดฉีด โดยระบุว่า เนื่องจากยา Diclofenac ชนิดฉีด ซึ่งเป็นยาแก้ปวดในกลุ่มยาต้านอักเสบชนิดไม่มีสเตียรอยด์มีรายงานการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ต่อผู้รับบริการภายหลังการฉีดยามีแนวโน้มสูงขึ้น ประกอบกับคู่มือการดำเนินงานโครงการโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (Rational Drug Use Hospital Manual) โดยคณะอนุกรรมการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ภายใต้คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ (2558) แนะนำให้จำกัดการใช้ยา Diclofenac ชนิดฉีด เฉพาะโรงพยาบาลระดับตติยภูมิขึ้นไป โดยให้แพทย์เฉพาะทางเป็นผู้ให้บริการแก่ผู้รับบริการ อาศัยอำนาจตามความในข้อ 7 วรรคสอง 7.2 และข้อ 18 วรรคสอง 18.2 แห่งข้อบังคับสภาการพยาบาล ว่าด้วยข้อจำกัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ.2560 สภาการพยาบาลโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสภาการพยาบาลในการประชุมครั้งที่ 9/2562 เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2562 จึงออกประกาศไว้ПродолжитьПродолжить чтение “ไดโคลฟีแนค: สภาการพยาบาล ออกประกาศ ห้ามพยาบาลฉีดยา”