สเตรปโตค็อกคัส

โรคสเตรปโทคอกโคสิสเป็นชื่อเรียกทั่วไปของโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย สเตรปโตค็อกคัส  (Streptococcus spp.) โดยเชื้อแบคทีเรียบางสายพันธุ์ในกลุ่มนี้อาศัยอยู่เป็นปกติบนร่างกายของคนหรือสัตว์ โดยไม่ก่อให้เกิดโรค ส่วนเชื้อบางสายพันธุ์ในกลุ่มนี้อาจเป็นสาเหตุของการเกิดโรคซึ่งบางครั้งพบว่ามีความรุนแรงมากทั้งในคนและสัตว์

กรุ๊ปที่พบมากที่สุดคือ กรุ๊ปเอ พบในพวกที่มีอาการเจ็บคอ เป็นฝี หนอง แผลตามผิวหนัง ตุ่ม หนอง ส่วนกรุ๊ปบี ที่ตรวจพบเชื้อในรายของนายฉัตรชัยนั้น จะพบน้อย และส่วนใหญ่ที่พบจะพบในเด็ก หญิงหลังคลอด เป็นภาวะแทรกซ้อน และพบในผู้ใหญ่น้อยมาก ซึ่งถ้าพบก็จะเป็นเคสที่น่าศึกษา เชื้อนี้มีระยะการฟักตัว ตั้งแต่ 1-3 วัน และ1 สัปดาห์ พบเชื้อสเตร็ปโตคอคคัส กรุ๊ปบีนี้ ในบริเวณโพรงจมูก คอ ลำคอ ผิวหนัง ซึ่งจะพบเชื้อมาก ส่วนบริเวณช่องคลอด และรอบๆ ปากทวารหนัก พบน้อย

เชื้อสเตร็ปโตคอคคัสกรุ๊ปบี จะเกิดอาการรุนแรงสำคัญ 3 ประเภท คือ

  1. เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  2. ทางเดินปัสสาวะอักเสบ
  3. โลหิตเป็นพิษ

สาเหตุ สเตรปโตค็อกคัส

เชื้อสเตรปโตค็อกคัสเป็นเชื้อที่พบได้ทั่วไปบนร่างกายสัตว์เช่นเดียวกับแบคทีเรียชนิดอื่นๆ ในกลุ่มเชื้อประจำถิ่น (normal flora) ที่พบได้ในร่างกายตามปกติ การเกิดโรคจะเกิดขึ้นเมื่อติดเชื้อแบคทีเรียผ่านเข้าสู่บาดแผล หรือเมื่อภูมิคุ้มกันของร่างกายอ่อนแอลง เชื้อแบคทีเรียจะติดต่อระหว่างสัตว์ได้โดยการสัมผัสโดยตรง ผ่านทางอากาศ วัตถุที่ปนเปื้อนเชื้อ และบางครั้งผ่านทางการกินได้

อาการ สเตรปโตค็อกคัส

อาการเจ็บคอจากเชื้อนี้ หรือที่เรียกว่า สเตรปโทร้ต (Strep Throat) พบได้บ่อยในเด็ก โดยมีอาการเจ็บคอ กลืนลำบาก ปวดหัว ไข้สูง คลื่นไส้ อาเจียน น้ำมูกไหล หากมีผื่นแดงบนผิวหนังจะเรียกว่า สการ์เล็ตฟีเวอร์ (Scarlet Fever) โรคนี้สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้ด้วย เช่น ผิวหนัง หัวใจ ข้อต่อ และปอด แต่พบได้ไม่บ่อยนักที่เชื้อจะทำให้มีอาการรุนแรงหรือทำให้เสียชีวิตดังเช่นในกลุ่มอาการท็อกซิกช็อก 

การรักษา สเตรปโตค็อกคัส

แพทย์จะจ่ายยาต้านจุลชีพให้ เช่น ฉีดยาเพนนิซิลลินขนาดสูง 18-24 ล้านยูนิตทางหลอดเลือดดำ เป็นเวลานานกว่า 2 สัปดาห์ให้เพื่อฆ่าเชื้อโรค หรือยาปฏิชีวนะ ได้แก่ Amoxicillin, Ampicillin, Cephalexin, Cephalothin และ Ciprofloxacin เป็นต้น เมื่อรักษาได้แล้ว ผู้ป่วยยังอาจมีความผิดปกติหลงเหลืออยู่ เช่น ความผิดปกติในการทรงตัว เนื่องจากเชื้อได้เข้าไปทำลายเยื่อหุ้มสมอง หรือหากเชื้อเข้าปลายระบบประสาทตา จะทำให้ม่านตาอักเสบ ลูกตาฝ่อ หรือตาบอดได้ นอกจากนี้ผู้ป่วยบางคนยังอาจเป็นอัมพาตครึ่งซีกได้เช่นกัน

[Total: 0 Average: 0]