การตัดชิ้นเนื้อจากผิวหนังส่งตรวจ (Skin biopsy)

การตัดชิ้นเนื้อจากผิวหนัง (Skin  biopsy) เป็นการตัดชิ้นเนื้อเยื่อเล็ก ๆ หลังจากฉีดยาชาเฉพาะที่  และรอยโรคที่สงสัยว่าเป็นมะเร็ง    หรือจากผิวหนังส่วนอื่น ๆ อาจทำ 1 ใน 3  เทคนิค ได้แก่
1)  ใช้มีดผ่าตัดผิว เป็นแผ่นบาง ๆ (shave  biopsy)
2)  เจาะลึกไปถึงหนังแท้ (dermis) หรือชั้นใต้ผิวหนังซึ่งเป็นชั้นไขมัน (subcutaneoustissue)        
3)  ตัดเอารอยโรคทั้งหมดพร้อมทั้งมีขอบของผิวหนังปกติ (excisional  biopsy)
                รอยโรคที่สงสัยว่าเป็นมะเร็ง  ตามปกติจะมีการเปลี่ยนสี  เปลี่ยนขนาด  หรือ สิ่งที่มองเห็นที่ผิดปกติหรือบาดแผลที่หายช้า ถ้าการพัฒนาของรอยโรคโตเต็มที่ควรจะเลือกวิธีตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ

วัตถุประสงค์
1.เพื่อวินิจฉัยระหว่างมะเร็งผิวหนังชนิดเบซาลเซลล์ (basalcell  acrcinoma) มะเร็งผิวหนังชนิดสะความัส (squamous  cell  carcinoma ) มะเร็งไฝหรือมะเร็งผิวหนังชนิดเมลาโนไซต์ (malignant  melanoma) และชิ้นเนื้อที่ไม่ใช่มะเร็ง (benign  growths)
2.เพื่อวินิจฉัยระหว่างการติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง (chronic  bacterial Skin infectiona) หรือการติดเชื้อราที่ผิวหนัง (fungal  skin  infectiona)

การเตรียมผู้ป่วย
1.บอกผู้ป่วยว่าต้องตัดชิ้นเนื้อไปตรวจดูด้วยกล้องจุลทรรศน์
2.บอกวิธีกาตรวจแก่ผู้ป่วยและตอบคำถามของผู้ป่วย
3.บอกผู้ป่วยว่าต้องงดน้ำงดอาหาร
4.บอกว่าใครเป็นผู้ตรวจและตรวจที่ไหน
5.บอกผู้ป่วยว่าจะได้รับยาชาเฉพาะที่และอาจรู้สึกเจ็บเล็กน้อยระหว่างตรวจ
6.ให้ผู้ป่วยหรือญาติสนิทผู้ป่วยเซ็นใบยินยอมรับการตรวจ
7.ตรวจประวัติผู้ป่วยว่ามีอาการแพ้ยาชาเฉาะที่หรือไม่

การตรวจและการดูแลหลังตรวจ
1.จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าสบายและทำความสะอาดบริเวณที่จะตัดชิ้นเนื้อก่อนฉีดยาชาเฉพาะที่

Shave  biopsy (การตัดชิ้นเนื้อด้วยการโกน)
ตัดชิ้นเนื้อและใส่ชิ้นเนื้อในขวดที่ใส่น้ำยาฟร์มาลิน 10% กดบริเวณที่ตัดชิ้นเนื้อเพื่อทำให้เลือดหยุด

Punch  biopsy (การขลิบชิ้นเนื้อไปตรวจ)
        ในการทำ  skin biopsy ให้เช็ดผิวหนังบริเวณนั้นด้วยแอลกอฮอล์ 70% แล้วทิ้งให้แห้งไม่ควรใช้น้ำยาฆ่าเชื้อที่แรง โดยเฉพาะน้ำยาที่มีส่วนผสมของไอโอดีนหรือปรอท  เช่น povidine  เพราะอาจมีผลการเติบโตของพยาธิเมื่อนำมาเพาะเลี้ยง
        ในขั้นตอนการตัดให้ดึงส่วนของขอบแผลด้วย  forceps แล้วใช้  scalped blade  ที่ sterile  ตัดส่วนผิว (superficial  slit) ให้บีบผิวหนังไว้ให้แน่นเพื่อไม่ให้เลือดออกแล้วขูดส่วนผิวบนหรือดูด  exudates  ด้วย syring นำส่วนที่ขูดหรือดูดจากแผลมาป้ายบนสไลด์หรือใส่ในขวดที่สะอาดปราศจากเชื้อ  แล้วส่งไปเพาะเลี้ยงที่ห้องปฏิบัติการ รายงานผลการตรวจภายใน 1 สัปดาห์

ข้อควรระวัง
ต้องส่งสิ่งส่งตรวจไปยังห้องตรวจทันที

ผลการตรวจที่เป็นปกติ
ถ้าผิวหนังปกติจะประกอบด้วย เนื้อเยื่อบุผิวรูปร่างแบนบาง (squamous Epithelium  tissue) (ชั้นหนังกำพร้า) และเนื้อเยื่อเส้นใย (fibrous  connective  tissue) (หนังแท้)

ผลการตรวจที่ผิดปกติ
           การตรวจดูเซลล์ของเนื้อเยื่อของสิ่งส่งตรวจ อาจพบรอยโรคที่ไม่ใช่เนื้อร้าย (benign) หรือที่เป็นเนื้อร้าย (malignant) การเติบโตของเซลล์ที่ไม่ใช่เนื้อร้ายจะมีลักษณะเป็นซีสต์หรือถุงน้ำ (cysts) กระเนื้อ (seborrheic  keratosis) หูด (warts) ปาน ไฝหรือปานผิวหนังแต่กำเนิด (pigmented  nevi) แผลเป็นนูน ชนิดคีลอยด์ (Keloid) และเนื้องอกของเนื้อเยื่อเส้นประสาท หรือท้าวแสนปม   (multiple neurofibromas)
          เซลล์ที่เป็นเนื้อร้าย (Malignant  tumors) จะมีลักษณะเป็นมะเร็งผิวหนังชนิดเบซาลเซลล์ (basalcell  carcinoma) มะเร็งผิวหนังชนิดสะความัส (squamous cell carcinoma) มะเร็งไฝหรือมะเร็งผิวหนังชนิดเมลาโนไซต์ (malignant melanoma) ส่วนมะเร็งผิวหนังชนิดเบซาลเซลล์   พบส่วนที่มีขนตำแหน่งที่พบมากที่สุด  คือใบหน้าจมูก  และร่องแก้มข้างจมูก มะเร็งผิวหนังชนิดสะความัส ซึ่งพบบ่อยที่สุดคือริมฝีปากปาก และอวัยวะเพศ ส่วนมะเร็งไฝเป็นมะเร็งผิวหนังที่สามารถแพร่กระจายเข้าสู่ร่างกายทางระบบต่อมน้ำเหลืองและหลอดเลือดได้ การเพาะเชื้อสามารถบ่งชี้ว่ามีการติดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราอย่างเรื้อรัง

[Total: 0 Average: 0]