ภาวะหัวใจห้องล่างเต้นสั่นพริ้ว

ภาวะหัวใจห้องล่างเต้นสั่นพริ้ว (Ventricular Fibrillation: VF ) ภาวะหัวใจห้องล่างเต้นสั่นพริ้วหรือแผ่วระรัว เป็นภาวะความผิดปกติของหัวใจส่งผลให้จังหวะการเต้นของหัวใจเปลี่ยนไป โดยหัวใจจะมีอัตราการเต้นค่อนข้างเร็วและไม่เป็นจังหวะ ซึ่งภาวะนี้ถือว่าอันตรายและต้องได้รับการรักษาแบบฉุกเฉิน เนื่องจากหากหัวใจเต้นเร็วมากเกินไปอาจทำให้เสียชีวิตอย่างเฉียบพลันได้

ใน VT เป็นภาวะที่หัวใจเต้นเร็วมากเกินไปจนไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้มากพอ เมื่อเป็นมากถึงระดับหนึ่งจะกลายเป็น VF ซึ่งกระแสไฟฟ้าในหัวใจที่คอยกระตุ้นให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานนั้นเกิดความปั่นป่วนอย่างมากจนกล้ามเนื้อหัวใจเต้นไม่ประสานกัน ไม่เกิดเป็นกลไกสูบฉีดเลือด หากยังเป็นต่อไปกระแสไฟฟ้าหัวใจจะปั่นป่วนมากขึ้น จนหัวใจหยุดเต้น

อาการ ภาวะหัวใจห้องล่างเต้นสั่นพริ้ว

อาการเกิดจากการที่หัวใจ 2 ห้องล่างไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้เป็นปกติ ทำให้เลือดไม่ไหลเวียนไปเลี้ยงร่างกายได้อย่างเพียงพอ จนทำให้เป็นลม หรือหมดสติได้ แต่ก่อนหน้าที่อาการเหล่านี้จะปรากฏ ผู้ป่วยมักมีอาการบางแสดงนำมาก่อน อันเป็นสัญญาณของ Ventricular Fibrillation เช่น

  • เจ็บหน้าอก
  • วิงเวียนศีรษะ
  • คลื่นไส้
  • หัวใจเต้นเร็ว
  • หายใจถี่

การรักษา ภาวะหัวใจห้องล่างเต้นสั่นพริ้ว

การรักษาในเบื้องต้นมักเป็นกรณีฉุกเฉิน โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อช่วยให้หัวใจกลับมาทำงานได้ตามปกติโดยเร็วที่สุด เพราะส่งผลต่อการสูบฉีดเลือดของหัวใจ หากล่าช้าจะยิ่งทำให้อวัยวะอื่น ๆ ในร่างกายได้รับผลกระทบไปด้วย โดยวิธีที่แพทย์ใช้ในกรณีนี้ ได้แก่

  • การทำซีพีอาร์ เป็นการกระตุ้นให้หัวใจกลับมาเต้นได้ตามปกติ วิธีนี้บุคคลทั่วไปสามารถทำได้ แต่ต้องมีความรู้ความเข้าใจเป็นอย่างดี มิฉะนั้นอาจทำให้ยิ่งอาการหนักมากขึ้นได้
  • การกระตุกหัวใจ (Defibrillation) แพทย์จะใช้เครื่องกระตุกหัวใจส่งคลื่นไฟฟ้าไปเพื่อปรับจังหวะการเต้นของหัวใจ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่หัวใจเต้นผิดจังหวะแบบรุนแรงเท่านั้น การรักษานี้จะช่วยให้หัวใจกลับมาทำงานเป็นปกติได้
[Total: 0 Average: 0]