ภาวะเครียดฉับพลัน (Acute stress disorder)

ภายหลังเหตุการณ์กระทบกระเทือนจิตใจ อาจเป็นไปได้ว่าคุณจะมีความวิตกกังวล เราเรียกอาการแบบนี้ว่า ภาวะเครียด (Acute stress disorder – ASD) ภาวะเครียดนี้จะเกิดขึ้นราวๆ หนึ่งเดือน หรืออย่างน้อย 3 วัน ผู้ที่มีภาวะเครียดจะมีอาการคล้ายกับผู้ที่ป่วยทางสภาวะจิตใจ

สาเหตุ ภาวะเครียดฉับพลัน

สาเหตุของความเครียดนั้นมีหลากหลาย การมีประสบการณ์หรือการเผชิญกับเหตุการกระทบกระเทือนจิตใจอย่างน้อย 1 เหตุการณ์ สามารถทำให้เกิดความเครียดสะสม จนนำไปสู่ภาวะเครียดโดยเหตุการณ์ที่อาจจะทำให้เกิดภาวะเครียดได้มีดังนี้:

  • ความตาย
  • การถูกคุกคามเกี่ยวกับความตายของตนเองหรือผู้อื่น
  • การถูกคุกคามเกี่ยวกับการได้รับบาดจ็บของตนเองหรือผู้อื่น
  • การถูกคุกคามเกี่ยวกับความเสียหายทางร่างกายของตนเองหรือผู้อื่น

อาการ ภาวะเครียดฉับพลัน

ลักษณะอาการของผู้ป่วยมีภาวะความเครียดคือ:

บุคลิกภาพย้อนแย้ง

หากคุณมีอาการบุคลิกภาพย้อนแย้งอย่างน้อย 3 รายการดังต่อไปนี้ สามารถบ่งชี้ได้ว่าคุณมีภาวะเครียด:

  • รู้สึกมึนงง หรือไม่ตอบสนองต่ออารมณ์
  • การรับรู้สภาวะแวดล้อมรอบข้างได้น้อยลง
  • รู้สึกว่าสภาพแวดล้อมรอบตัวแปลกไปจากเดิม
  • แยกตัวออกจากสังคม เมื่อเกิดบางความคิดหรือบางอารมณ์ว่าคนรอบข้างไม่ได้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
  • ความจำเสื่อมแบบทิฟฟาเรทีฟ ไม่สามารถจำเหตุการณ์สำคัญในเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจ

ภาวะเครียดหลังเกิดเหตุสะเทือนใจ

คุณจะมีอาการอย่างน้อย 1 อาการดังต่อไปนี้ หากคุณมีภาวะเครียดหลังเกิดเหตุสะเทือนใจ:

  • เห็นภาพเดิมซ้ำๆ คิดเรื่องเดิม ฝันร้าย เห็นภาพลวงตา หรือนึกถึงภาพความทรงจำเหตุการณ์สะเทือนใจซ้ำๆ
  • รู้สึกนึกถึงเหตุการณ์สะเทือนใจอยู่ตลอดเวลา
  • รู้สึกทุกข์ใจเมื่อมีบางสิ่งเตือนคุณให้นึกถึงเหตุการณ์สะเทือนใจ

การหลีกเลี่ยงการพบเจอ

มีการหลีกเลี่ยงการพบเจอต่อสิ่งเร้าที่ทำให้นึกถึงเหตุการณ์สะเทือนได้แก่:

  • ผู้คน
  • การสนทนา
  • สถานที่
  • สิ่งของ
  • กิจกรรม
  • ความคิด
  • ความรู้สึก

วิตกกังวล

ความวิตกกังวลเป็นหนึ่งในภาวะเครียด โดยประกอบไปด้วยสิ่งเหล่านี้:

  • หงุดหงิด
  • จับจด
  • ไม่สามารถอยู่นิ่งๆได้
  • เครียดตลอดเวลา
  • ตกใจง่ายตลอดเวลา

การรักษา ภาวะเครียดฉับพลัน

แพทย์อาจจะใช้วิธีใดวิธีหนึ่งดังต่อไปนี้ รักษาอาการเครียดของผู้ป่วย:

  • การประเมินผลทางจิตเวชเพื่อระบุข้อมูลที่จำเพาะของผู้ป่วย
  • พักรักษาตัวในโรงพยาบาลเพื่อเลี่ยงการฆ่าตัวตายหรือทำร้ายผู้อื่น
  • การให้ความช่วยเหลือในเรื่องปัจจัยสี่
  • นักจิตวิทยาให้คำแนะนำและความรู้เกี่ยวกับอาการของผู้ป่วย
  • การให้ยาบรรเทาอาการ เช่น ยาลดความวิตกกังวล ยาSSRIs และยารักษาโรคซึมเศร้า
  • การบำบัดพฤติกรรมทางปัญญา เพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการฟื้นตัวและไม่ให้ผู้ป่วยกลับมาเป็นโรคที่เกิดจากความเครียดอีก
  • การรักษาด้วยการสัมผัส
  • การสะกดจิต
[Total: 0 Average: 0]