แอจีโออีดีม่า คือ การบวมของเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังและอาจมีความร้ายแรง บางครั้งผิวหนังเป็นผื่นบวมนูนแดงคล้ายลมพิษ จึงมีอีกชื่อว่า “ลมพิษยักษ์”
ลมพิษคือการที่ผิวหนังคันและบวมนูน มีสีแดง ชึ่งเกิดที่ชั้นหนังกำพร้าและหนังแท้
ทั้ง angioedema และ ลมพิษ เกิดจากภูมิแพ้ หรือการแพ้อาหาร ผลข้างเคียงของยาหรือการแพ้ยา หรือสารก่อภูมิแพ้ในสิ่งแวดล้อม เช่นเกสรดอกไม้ ขนสัตว์เลี้ยง และจากพิษแมลงกัด
การบวมอาจเป็นอาการเริ่มต้นของโรคร้ายแรง เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด non-Hodgkin B-cell (แม้จะพบได้ยากก็ตาม)
บางบริเวณของร่างกายเช่น หนังตา ริมฝีปากและลิ้น จะไวต่อการเกิดอาการ angioedema มากกว่าบริเวณอื่น
เมื่อโรคนี้ส่งผ่านทางพันธุกรรมจากพ่อแม่สู่ลูก เรียกว่าภาวะ angioedema จากพันธุกรรม สาเหตุที่ทำให้เกิดอาจแตกต่างจากภาวะ angioedema ที่เกิดจากการกระตุ้นภูมิแพ้ แต่การรักษาอาการใช้วิธีเดียวกัน
ปฏิกิริยาภูมิแพ้เฉียบพลัน หากรักษาอย่างเหมาะสมจะหายได้ดี และหากมีอาการน้อย อาจหายได้เองโดยไม่ต้องรักษา
สาเหตุ ผื่นแองจีอีโอดีม่า
Angioedema เฉียบพลัน พบได้บ่อยจากปฏิกิริยาภูมิแพ้ของร่างกาย ร่างกายจะหลั่งสารฮีสตามีน ซึ่งทำให้เส้นเลือดขยายและปล่อยของเหลวออกมานอกเส้นเลือด(ทำให้ผิวหนังบวม)
สารก่อภูมิแพ้เหล่านี้อาจก่อให้เกิดอาการ angioedema:
- จากแมลงกัด
- เกสรดอกไม้
- เถาไม้มีพิษ
- ยาง
- ขนสัตว์
- ยา
- อาหารบางชนิด
ยาบางชนิดก่อให้เกิด angioedemaที่ไม่ได้เกิดจากภูมิแพ้ได้ หรืออาจเกิดจากการติดเชื้อหรือการเจ็บป่วย เช่น โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือ โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว
อาการ ผื่นแองจีโออีดีม่า
อาการทั่วไปคือ ผื่นบวมแดงใต้ผิวหนัง เกิดเฉพาะที่บริเวณหรือใกล้บริเวณเท้า มือ ตา และริมฝีปาก
ในรายที่ร้ายแรง อาการบวมอาจแพร่ไปที่อวัยวะอื่นๆ อาจมีผื่นนูนแดงที่ผิวหนังหรือไม่ก็ได้
อาการอื่นๆเช่นตะคริวที่ท้อง ในรายที่หายาก อาจมีคอบวม เสียงแหบ หายใจลำบาก อาจมีอาการคันหรือไม่ก็ได้
หากมีอาการหายใจลำบาก ในกรณีนี้ควรเรียกรถพยาบาลหรือไปโรงพยาบาลทันที เพราะอาจเป็นอาการร้ายแรงที่ต้องการการรักษาเร่งด่วน
การรักษา ผื่นแองจีโออีดีม่า
หากมีอาการน้อยไม่จำเป็นต้องรักษา ผู้ที่มีอาการปานกลางถึงมากอาจต้องได้รับยาเพื่อลดการบวมรุนแรง เช่น
- epinephrine ลดปฏิกิริยาแพ้ของร่างกาย
- ยาต้านฮีสตามีน เช่น loratadine และ cetirizine หากหาสาเหตุไม่พบ
- ฮอร์โมน glucocorticosteroid เช่น prednisone หรือ Solu-Medrol หากเกิดจากอาการแพ้เฉียบพลัน
การรักษาที่เฉพาะสำหรับ angioedema จากพันธุกรรม หรือจากสิ่งกระตุ้น เช่น :
- การให้สารยับยั้ง C1 esterase
- ให้พลาสมา(ส่วนประกอบของเลือดที่เป็นของเหลว)
- ยา ecallantide
- ยา icatibant
เพื่อลดอาการ อาจใช้การ:
- ประคบเย็นและเปียก เพื่อให้ผิวหนังชุ่มชื้น และบรรเทาอาการคัน
- สวมใส่เสื้อผ้าฝ้ายหลวมๆเพื่อลดการระคายเคืองผิวหนัง
หากยาบางชนิดกระตุ้นให้เกิด Angioedema แพทย์อาจเปลี่ยนยาให้เป็นยาขนานอื่นแทน