สมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity Disorder: ADHD)

สมาธิสั้น Attention Deficit Hyperactivity Disorder (ADHD) คือ ความผิดปกติของสภาพจิตใจที่ทำให้เกิดพฤติกรรมที่มากเกินกว่าปกติและกระทำอย่างหุนหันพลันแล่น ผู้ป่วยสมาธิสั้นมักจะมีปัญหาในการใช้สมาธิจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือการนั่งอยู่นิ่งๆ เป็นเวลานาน โดยอาการนี้สามารถเกิดได้ในวัยผู้ใหญ่รวมถึงเด็กสมาธิสั้น ผลสำรวจของกรมสุขภาพจิตใน พ.ศ.2555 พบนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-5 มีอัตราป่วยเป็นโรคสมาธิสั้นร้อยละ 8.1 หรือคาดว่ามีประมาณ 470,000 คนทั่วประเทศ ภาคใต้มีความชุกสูงสุดร้อยละ 11.7 รองลงมาคือภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 9.4 ภาคกลางร้อยละ 6.7 กทม.ร้อยละ 6.5 ต่ำสุดที่ภาคเหนือ ร้อยละ 5.1เป็นชายมากกว่าหญิง 3 เท่าตัว

ประเภทของสมาธิสั้น

ในการวินิจฉัยสมาธิสั้น เราจัดหมวดหมู่เป็น 3 กลุ่มดังนี้

กลุ่มสมาธิสั้นแบบขาดสมาธิ

ผู้ป่วยสมาธิสั้นประเภทนี้ จะไม่สามารถใช้สมาธิกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ ไม่สามารถทำสิ่งหนึ่งได้จนจบ และไม่สามารถทำตามคำแนะนำได้

ผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นว่าเด็กจำนวนมากที่มีสมาธิสั้นชนิดขาดสมาธิ อาจไม่ได้รับการวินิจฉัยที่เหมาะสมเพราะพวกเขาไม่มีแนวโน้มที่จะทำลายหรือรบกวนชั้นเรียน ประเภทนี้พบได้บ่อยในเด็กผู้หญิงที่สมาธิสั้น

กลุ่มสมาธิสั้นแบบซุกซนอยู่ไม่นิ่ง

ผู้ป่วยสมาธิสั้นประเภทนี้มักจะไม่อยู่นิ่ง และซุกซน ซึ่งอาจจะทำการรบกวนผู้อื่นในการพูดคุย แม้ไม่ใช่บทสนทนาของตนเอง

แม้ว่าการขาดสมาธิจะเป็นเรื่องที่ไม่น่ากังวลเท่าไรของผู้ป่วยประเภทนี้ แต่ผู้ป่วยสมาธิสั้นกลุ่มนี้ก็ยังไม่สามารถใช้สมาธิจดจ่อได้ดีนัก

กลุ่มสมาธิสั้นแบบขาดสมาธิและอยู่นิ่งไม่ได้

ผู้ป่วยสมาธิสั้นประเภทนี้พบได้มากที่สุด ผู้ป่วยจะมีอาการผสมผสานระหว่าง 2 กลุ่มแรก โดยจะมีภาวะที่ไม่สามารถใช้สมาธิได้ ซุกซนและมีพฤติกรรมหุนหันพลันแล่น รวมถึงพฤติกรรมที่แอคทีฟมากกว่าปกติ

อาการสมาธิสั้นนั้นสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้นการรักษาก็จะเปลี่ยนแปลงไปตามอาการที่ผู้ป่วยมี

สาเหตุ สมาธิสั้น

สมาธิสั้นโดยทั่วไป แพทย์และนักวิจัยยังไม่สามารถหาสาเหตุของอาการ แต่มีแนวคิดที่ว่ามีปัญหามาจากระบบประสาท รวมถึงพันธุกรรมก็มีส่วน

แสดงให้เห็นว่า การลดลงของโดพามีนเป็นปัจจัยในโรคสมาธิสั้น โดยโดพามีนเป็นสารเคมีในสมองที่ช่วยในการเคลื่อนย้ายสัญญาณจากเส้นประสาทหนึ่งไปยังอีกเส้นหนึ่ง โดยมีบทบาทกระตุ้นการตอบสนองทางอารมณ์และการเคลื่อนไหว

เนื่องจากแต่ละบุคคลมีความแตกต่างของโครงสร้างในสมอง ผลการวิจัยพบว่า คนที่มีภาวะซนสมาธิสั้นมีปริมาณสารสีเทาในสมองน้อย โดยสารสีเทานั้นมีบทบาทดังนี้

  • การพูด
  • การควบคุมตนเอง
  • การตัดสินใจ
  • การควบคุมกล้ามเนื้อ

อาการ สมาธิสั้น

อาการของสมาธิสั้นนั้นค่อนข้างมีขอบเขตที่กว้าง แต่จะประกอบไปด้วยอาการเหล่านี้ :

  • มีปัญหาในการใช้สมาธิจดจ่อต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
  • ขี้ลืม
  • ฟุ้งซ่าน
  • นั่งนิ่งๆ ไม่ได้
  • รบกวนการสนทนาของผู้อื่น

ผู้ป่วยสมาธิสั้นจะมีอาการหนึ่งอาการใดหรือทั้งหมดดังที่กล่าวมา แต่ทั้งนี้อาการจะขึ้นอยู่กับประเภทของโรคสมาธิสั้นที่ผู้ป่วยเป็น

การรักษา สมาธิสั้น

วิธีรักษาสมาธิสั้นนั้นประกอบไปด้วย การบำบัดด้านพฤติกรรม, ใช้ยารักษาสมาธิสั้น หรืออาจจะใช้ทั้งสองวิธีร่วมกัน

ประเภทของการบำบัดได้แก่ จิตวิทยาบำบัด และการบำบัดด้วยการพูดคุย ในส่วนการบำบัดด้วยการพูดคุย ผู้ป่วยควรจะร่วมให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดขึ้นในชีวิตและแนวทางจัดการแก้ไข

การบำบัดอื่นๆ เช่น การบำบัดด้านพฤติกรรม นั้นช่วยให้ผู้ป่วยสามารถติดตามและจัดการกับพฤติกรรมตนเองได้

การใช้ยารักษานั้นสามารถช่วยผู้ป่วยได้เป็นอย่างมาก เนื่องจากยาออกฤทธิ์โดยตรงกับสารเคมีในสมองที่มีผลต่อแรงกระตุ้นและพฤติกรรม

[Total: 0 Average: 0]