ขาโก่ง (Bowlegs) คือ ลักษณะหัวเข่าห่างออกจากกัน ไม่แนบชิดติดกัน แม้ในขณะอยู่ในท่ายืนที่เท้า และข้อเท้าชิดติดกัน อาการขาโก่งมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Genu varum
ในบางครั้งอาการขาโก่งก็อาจเป็นสัญญาณของการเจ็บป่ วยด้วยโรคต่างๆ ได้ เช่น โรคเบล้าท์ (Blount’s Disease) หรือโรค กระดูกอ่อน (Rickets) และอาจนำไปสู่ภาวะข้ออักเสบบริเวณหัวเข่า และสะโพกได้เช่นกัน หากอาการขาโก่งมีความรุนแรงมาก แพทย์อาจพิจารณาให้ผู้ป วยรักษาด้วยการเข้ารับการผ่าตัด
สำหรับเด็กทารกแรกเกิด จะพบอาการขาโก่งได้ในช่วงอายุต่ำกว่า 18 เดือน เนื่องจากเด็กต้องนอนอยู่ในท่าขดตัวในครรภ์ มารดาเป็นเวลานาน แต่อาการจะค่อยๆ ดีขึ้น และหายไปเมื่อเด็กเริ่มมีพัฒนาการไปตามวัย
สาเหตุของขาโก่ง
โรคเบล้าท์ Blount’s disease
ผู้ป่วยจะมีกระดูกหน้าแข้งโก่งออก โดยเด็กที่เริ่มหัดเดินเร็วเกินไป อาจมีความเสี่ยงสูงเผชิญอาการขาโก่งมากขึ้น ควรให้เด็กหัดเดินในช่วงอายุที่เหมาะสม คือ ช่วงอายุประมาณ 11-14 เดือน เพื่อช่วยลดความเสี่ยง
โรคกระดูกอ่อน Rickets
โรคนี้ซึ่งเป็นผลมาจากภาวะขาดวิตามินดี ทำให้กระดูกไม่แข็งแรง เปราะ และแตกหักได้ง่ายจนทำให้ขาโก่งได้
โรคพาเจท Paget’s disease
เกิดจากความผิดปกติในกระบวนการสร้าง และสลายกระดูก เป็นผลให้กระดูกที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่ไม่แข็งแรง ทำให้อาจ เกิดอาการขาโก่ง และปัญหาสุขภาพอื่นๆ ตามข้อต่อกระดูกได้
โรคภาวะแคระ Dwarfism
ภาวะสุขภาพที่ส่งผลให้ร่างกายแคระแกร็น หรือตัวเตี้ยกว่าปกติอาการที่เกิดจากอะคอนโดรเพลเชีย อะคอนโดร เพลเชียนับเป็นสาเหตุที่พบได้มากที่สุดของโรคนี้ ทำให้ผู้ป่วยมีรูปร่างแคระแกร็นไม่สมส่วน และขาที่โก่งขึ้นเรื่อยๆ
สาเหตุอื่นๆ
สาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดขาโก่งคือ
- กระดูกหักที่ยังไม่หายดี
- กระดูกที่พัฒนาผิดปกติ
- พิษจากสารตะกั่ว
- พิษจากสารฟลูออไรด์
อาการขาโก่ง
ขาโก่งคือ ลักษณะหัวเข่าห่างออกจากกัน ไม่แนบชิดติดกัน แม้ในขณะอยู่ในท่ายืนที่เท้าและข้อเท้าชิดติดกัน เด็กส่วนใหญ่จะเกิดมาพร้อมกับอาการขาโก่ง และขาจะยืดเหยียดตรงขึ้นเมื่อเด็กโตขึ้น แต่หากเด็กยังคงขาโก่งอย่างต่อเนื่องจนอายุถึง 2 ปี อาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงอาการเจ็บป่วยด้วยภาวะอื่นๆ พ่อแม่ควรพาเด็กไปรับการตรวจรักษาจากแพทย์ต่อไป
การรักษาขาโก่ง
โดยทั่วไปแล้วแพทย์จะไม่แนะนำให้ใช้การรักษาสำหรับทารก และเด็กเล็ก เว้นแต่จะมีการระบุเงื่อนไขอื่นๆ กล่าวคือมีภาวะอื่นๆ ร่วมด้วย หรือมีอาการแย่ลงเรื่อย โดยตัวเลือกในการรักษาได้แก่
- รองเท้าพิเศษ
- การดามกระดูก
- การผ่าตัดเผื่อแก้ไขกระดูกที่ผิดปกติ
- การจัดการรักษาโรคอื่นๆ อันเป็นสาเหตุของขาโก่ง