ซีสต์ (Cyst) คือ โรคที่มีลักษณะเป็นเนื้องอกหรือเป็นตุ่มก้อนขึ้นตามร่างกาย มีลักษณะเป็นถุงที่บรรจุอากาศ เนื้อเยื่อ ของเหลว หรือไขมัน
สาเหตุ ซีสต์
ซีสต์เกิดจากความผิดปกติของส่วนต่างๆ ในร่างกาย เช่น ต่อมเหงื่อ ต่อมขน ต่อมไขมัน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจนกลายเป็นถุงซีสต์ เมื่อสารคัดหลั่งและของเหลวต่างๆ มาสะสมอยู่ในถุงนี้ เช่น ไขมัน คราบไคล จะทำให้ถุงนี้ใหญ่ขึ้นจนสังเกตเห็นเป็นก้อนซีสต์ขึ้นมา
ผู้ป่วยเป็นซีสต์หากเป็นแล้วซีสต์สามารถเจริญเติบโตได้ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย หรือใต้ผิวหนังของผู้ป่วย
ซีสต์เกิดขึ้นได้หลายประเภท และไม่เป็นโรคที่อันตรายมากนัก และไม่ก่อให้เกิดมะเร็ง
อาการ ซีสต์
ลักษณะของก้อนเนื้อซีสต์
ลักษณะของก้อนเนื้อซีสต์ที่แตกต่าง เกิดมาจาก
- การติดเชื้อ
- โรคติดต่อ
- การอักเสบเรื้อรัง
- เกิดการอุดตันในท่อของอวัยวะต่างๆ
ประเภทของซีสต์
ซีสต์มีหลายร้อยประเภทและสามารถเติบโตได้ทุกส่วนของร่ายกาย ประเภทที่พบบ่อย มี 13 ประเภทได้ แก่
- Epidermoid cyst คือ เอพิเดอมอยซีสต์
ซีสต์ชนิดนี้เป็นซีสต์ที่มีลักษณะตุ่มเล็กๆ เจริญเติบโตช้า และไม่เป็นอันตราย พบได้บ่อยบริเวณ ใบหน้า ศรีษะ คอ หลัง หรือบริเวณอวัยเพศ Epidermoid ซีสต์เกิดจากการสะสมของเคราตินใต้ผิวหนัง ลักษณะสีของซีสต์ประเภทนี้จะมีสีแทน สีเหลือง และเป็นตุ่มหนาๆ และอาจทำให้มีอาการบวมแดง หากเกิดการติดเชื้อ
- Sebaceous cyst คือ ซีสต์ไขมันผิวหนัง
ซีสต์ชนิดนี้จะเจริญเติบโตช้า เกิดขึ้นบริเวณใบหน้า ลำคอ หรือลำตัว หากมีลักษณะใหญ่ อาจทำให้เกิดอาการปวดได้
- Breast cyst คือ ซีสต์เต้านม
เป็นก้อนซีสต์ หรือถุงน้ำที่เต้านมซึ่งไม่ก่อให้เกิดมะเร็ง แต่ก็อาจมีหลายสาเหตุที่ทำให้ก้อนเนื้อเต้านมนำไปสู่โรคมะเร็งได้ การเปลี่ยนแปลงบริเวณเต้านม เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้หญิงที่หมั่นตรวจสอบ การสำรวจความผิดปกติของบริเวณเต้านมกรณีที่พบการเปลี่ยนแปลงของบริเวณเต้านม แพทย์แนะนำว่าสามารถตรวจเช็คได้ด้วยตัวเอง และหากพบอาการผิดปกติของบริเวณเต้านม หรือหากพบก้อนเนื้อ หรือมีบางสิ่งบางอย่างที่เกิดขึ้นบริเวณเต้านมอย่างเห็นได้ชัด เช่น หัวนมพลิกคว่ำ มีอาการเลือดไหลออกจากหัวนม ควรรีบปรึกษาแพทย์โดยทันที
- Ganglion Cyst คือ ซีสต์หรือก้อนถุงน้ำ
เกิดขึ้นบริเวณเส้นเอ็นหรือข้อต่อ ถุงน้ำจะเต็มไปด้วยของเหลว ซีสต์ชนิดนี้จะมีลักษณะกลม ส่วนใหญ่พบบริเวณมือ ข้อมือ และเท้า การเกิดซีสต์ชนิดนี้อาจมาจากอาการบาดเจ็บของบริเวณที่เกิดหรือการใช้งานบริเวณอวัยวะดังกล่าวมากเกินไป ซีสต์ประเภทนี้ไม่อันตรายและไม่ค่อยมีอาการปวด เว้นแต่ว่าหากซีสต์ชนิดนี้เจริญเติบโตขึ้น และมีส่วนกระทบต่ออวัยวะส่วนอื่น จะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
- Pilonidal cyst คือ ซีสต์บริเวณร่องก้น
เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน หลังจากพ้นช่วงเป็นการเป็นวัยรุ่นหนุ่มสาว สาเหตุของซีสต์ประเภทนี้เกิดจากการเสียดสีของเส้นขนบริเวณร่องก้น หรือการเสียดสีจากเสื้อผ้าที่สวมใส่ ลักษณะของซีสต์จะเป็นรู หลุม และเป็นหนอง อาการที่แสดงอาการติดเชื้อของซีสต์ประเภทนี้คือหากนั่งแล้วจะมีอาการปวดบริเวณที่เป็นซีสต์ บริเวณรอบๆซีสต์จะมีสีแดงยื่นออกมา บวม และอาจมีเลือดไหลออกมา ทำให้เห็นเส้นขนออกมาจากก้อนซีสต์ด้วย
- Ovarian cyst คือ ซีสต์ในรังไข่
ลักษณะคือมีถุงน้ำที่เต็มไปด้วยสารน้ำหรือสารกึ่งเหลว อาจเกิดขึ้นข้างใดข้างหนึ่งของรังไข่ หรือเป็นทั้งสองข้างของรังไข่ ผู้ป่วยที่เป็นซีสต์ในรังไข่จะไม่แสดงอาการใดๆ แต่อาจส่งผลถึงระบบสืบพันธ์ของผู้หญิง อาการของซีสต์ในรังไข่หลังจากก่อตัวเป็นก้อนซีสต์ที่มาจากเยื่อบุโพรงในมดลูกผิดปกติ ทำให้เกิดก้อนซีสต์ที่มดลูกได้ด้วย ลักษณะอาการผู้เป็นซีสต์ที่มดลูกจะมีอาการคือท้องอืดบวม ปวดบริเวณเชิงกราน หรือปวดช่วงก่อนหรือระหว่างมีประจำเดือน อาการปวดระหว่างมีเพศสัมพันธ์ ปวดบริเวณหลังส่วนล่างหรือต้นขา คลื่นไส้ อาเจียน อาการรุนแรงคือ ปวดฉับพลันบริเวณเชิงกราน เพลีย มีไข้ วิงเวียนศรีษะ อาการรุนแรงของซีสต์ชนิดนี้คืออาการซีสต์แตกเนื่องจากถุงน้ำหรือซีสต์ในรังไข่แตก ปัจจุบันวิธีการรักษาซีสต์ในรังไข่สามารถทำได้โดยการผ่าตัดซีสต์ที่รังไข่โดยใช้การส่องกล้องและยังสามารถรักษาซีสต์ด้วยสมุนไพรในรังไข่ได้อีกด้วย
- Chalazia คือ ตากุ้งยิง
ชนิดไม่เจ็บ มีลักษณะเป็นก้อนหรือเป็นถุงน้ำขนาดเล็ก พบได้บริเวณเปลือกตาด้านบน หรือด้านล่าง สาเหตุมาจากการอุดตันของทางเดินต่อมไขมัน หากติดเชื้อจะมีสีแดง และบวม
- Baker’s (popliteal) cyst คือ ถุงน้ำที่เกิดหลังหัวเข่า
ลักษณะคือเป็นถุงที่มีน้ำเมือกอยู่ข้างใน ทำให้มีอาการปวดของกระดูกอ่อน ปวดเวลาเคลื่อนไหว มีอาการช้ำบวมหลังหัวเข่า และน่อง ระดับของความปวดจากเล็กน้อยไปสู่การปวดขั้นรุนแรงหากถุงน้ำแตกขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวบริเวณหัวเข่า ถุงน้ำบริเวณหลังหัวเข่ามักจะหายไปเอง แต่ถ้าเรื้อรังอาจส่งผลให้เป็นโรคไขข้ออักเสบได้
- Cystic acne คือ สิวหัวช้าง
คือสิวชนิดที่รุนแรงที่สุด ซึ่งเกิดจากซีสต์ที่อยู่ลึกลงไปใต้ชั้นผิวหนัง อาจเกิดจากความเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ทำให้เกิดเป็นก้อนซีสต์ขนาดใหญ่ สิวหัวช้างสามารถเกิดขึ้นได้บริเวณใบหน้า ทำให้เกิดซีสต์ที่หน้า หน้าอก ลำคอ หลัง และแขน ลักษณะของสิวหัวช้างมีขนาดใหญ่ บวม แดง เมื่อหัวสิวแตก อาจทิ้งรอยแผลเป็นจากการรอยสิว
- Ingrown hair cyst คือซีสต์ขนคุด
เกิดจากเส้นขนที่เจริญเติบโตใต้ผิวหนัง ส่วนใหญ่มักพบจากผู้โกนหนวด โกนผม หรือใช้แว๊กซ์กำจัดขน ลักษณะของซีสต์ชนิดนี้อาจดูเหมือนสิวเสี้ยน มีลักษณะสีเหลืองหรือแดง และไวต่อการติดเชื้อ
- Pilar cyst คือ ซีสต์จากเส้นผม
เกิดจากใต้ผิวหนังของบริเวณเส้นผม ซีสต์ชนิดนี้จะมีสีแดง และนูน บริเวณนูนคือส่วนที่มาจากการสะสมของโปรตีนในเส้นรูขุมขน พบได้ส่วนใหญ่บริเวณหนังศรีษะ ไม่แสดงอาการเจ็บปวดใดๆ และเติบโตอย่างช้าๆ
- Mucous cyst คือ ซีสต์ทีบรรจุเต็มไปด้วยของเหลว
มักจะเกิดขึ้นบริเวณริมฝีปาก หรือภายในปาก หรือเกิดจากการอุดตันของต่อมน้ำลาย หรือบางรายอาจเกิดมาจากการกัดริมฝีปากตัวเอง ทำให้ต่อมน้ำลายหยุดการทำงานชะงัก ลักษณะของซีสต์ชนิดนี้จะมีขนาดเล็ก และนุ่ม
- Branchial cleft cyst คือ ซีสต์ที่เกิดการผิดปกติของก้อนเนื้อ
บริเวณต้นคอ หรือใต้กระดูกไหปลาร้า อาจเป็นข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้าง ซึ่งมาจากการเจริญเติบโตผิดปกติของเนื้อเยื่อบริเวณต้นคอและกระดูกไหปลาร้า การเกิดก้อนเนื้อบริเวณนี้ ไม่มีอันตราย แต่อาจทำให้เกิดอาการระคายเคือง หากมีอาการติดเชื้อ อาการอื่นๆที่พบได้คือมีอาการบวม และอาจมีของเหลวออกมา ทำให้ไวต่อการติดเชื้อของทางเดินหายใจได้ง่าย
ผู้ป่วยบางรายอาจมีก้อนซีสต์ในท้องแต่มักพบได้น้อย ดังนั้นหากมีอาการปวดท้องอย่างหนักโดยไม่สาทราบสาเหตุ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อให้แพทย์สอบถามประวัติอาการและวินิจฉัยต่อไป
การรักษา ซีสต์
สามารถดูแลและรักษาได้ที่บ้าน
ในบางกรณีซีสต์จะหายไปเอง หรือประคบด้วยน้ำอุ่นลงบนก้อนซีสต์หรือถุงน้ำ เพื่อช่วยเร่งให้หายเร็วได้ยิ่งขึ้น ไม่ควรบีบหรือแกะ เพราะอาจจะทำให้เกิดการติดเชื้อได้
วิธีการรักษาทางการแพทย์
วิธีการรักษาทางการแพทย์โดยทั่วไป มีดังต่อไปนี้ :
- แพทย์จะใช้เข็มเจาะเพื่อระบายของเหลวและสารอื่นๆเพื่อเอาซีสต์ออก
- การฉีดด้วยสาร corticosteroid เพื่อลดการอักเสบในถุงน้ำ
- การใช้ยาสลายซีสต์
- การผ่าตัดซีสต์เพื่อเอาถุงน้ำออก