การฝังเข็ม คือศาสตร์หนึ่งในแพทย์แผนจีน ซึ่งชาวจีนใช้กันมานานกว่า 4,000 ปี โดยมีหลักการคือ การใช้เข็มขนาดเล็กมาก ฝังตามจุดฝังเข็มบนร่างกาย ซึ่งเป็นจุดที่มีพลังงานมากกว่าจุดอื่นๆ เพื่อทำให้พลังงาน และอวัยวะต่างๆของร่างกายที่เสียสมดุลไป กลับมาอยู่ในภาวะสมดุล
โดยในปัจจุบันองการอนามัยโลก (WHO) ได้ให้การยอมรับว่าการฝังเข็มในโรคบางชนิดได้ผลดีมาก รวมทั้งล่าสุดยังมีหลายงานวิจัยพบว่า โรคบางโรค เช่น กรดไหลย้อน ปวดหัว ปวดศีรษะไมเกรน การรักษาด้วยการฝังเข็มให้ผลการรักษาดีเทียบเท่า หรือ มากกว่าการใช้ยา โดยปลอดภัย และ ไม่ต้องเสี่ยงต่อผลข้างเคียงจากยาอีกด้วย
การฝังเข็ม รักษาโรคอะไรได้บ้าง ?
ผู้ที่มีอาการต่อไปนี้พบว่า การรักษาด้วยการฝังเข็มได้ผลดีมาก
- ปวดศีรษะ ปวดไมเกรน เวียนศีรษะ บ้านหมุน
- นอนไม่หลับ เครียด วิตกกังวล ซึมเศร้า
- ปวดบริเวณต่างๆ ปวดเข่า เข่าเสื่อม ปวดหลัง ปวดเอว ปวดคอ
- หมอนรองกระดูก- กระดูกทับเส้นประสาท
- ปวดไหล่ ไหล่ติด ปวดข้อศอก ปวดข้อเท้า ปวดฝ่าเท้า เอ็นอักเสบ
- ภูมิแพ้ หอบหืด โรคข้อต่างๆ รูมาตอยด์
- โรคกระเพาะ กรดไหลย้อน
- ปวดท้องประจำเดือน ประจำเดือนผิดปกติ
- ความดันโลหิตสูง เบาหวาน
- อัมพฤกษ์ อัมพาต อัมพาตใบหน้า
- ปรับสมดุลร่างกายให้แข็งแรง เพิ่มภูมิต้านทาน
- ฝังเข็มกระชับใบหน้า ความงาม ลดความอ้วน
วิธีการฝังเข็ม
- แพทย์จะใช้เข็มขนาดเล็กมาก (0.1-0.3mm) (ขนาดเข็มเล็กกว่าเข็มฉีดยาทั่วไปประมาณ 6-8 เท่า จึงเจ็บน้อยกว่า ส่วนใหญ่จะเจ็บเพียงเล็กน้อย) ฝังตามจุดฝังเข็มบนร่างกาย อาจใช้มือหมุนเข็มเพื่อกระตุ้นเล็กน้อย หรือใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย โดยใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที หลังจากนั้นถอนเข็มออก
- โดยทั่วไป ควรฝังเข็มประมาณสัปดาห์ละหนึ่งถึงสามครั้ง ต่อเนื่องกันอย่างน้อย 10 ครั้ง หรือ ขึ้นกับพิจารณาของแพทย์ หรือ อาการของผู้ป่วย
ผู้ที่ไม่ควรฝังเข็ม
- เป็นโรคติดเชื้อต่างๆ
- เป็นโรคมะเร็งที่ยังไม่ได้รักษา
- เป็นโรคที่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด
- สตรีที่อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์
- ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดที่มีความผิดปกติของระบบแข็งตัวของเลือด
- ผู้ป่วยโรคที่ต้องการรักษาด้วยการผ่าตัดอย่างแน่นอน
- ผู้ป่วยที่มีโรคที่ยังไม่ทราบการวินิจฉัยแน่นอน
- ผู้ป่วยโรคหัวใจที่ใส่เครื่องกระตุ้นการเต้นหัวใจ (Pacemaker)
การฝังเข็มมีฤทธิ์ในการรักษาโรค 4 ประการ คือ
- แก้ไขการไหลเวียนของเลือดลมปราณที่ติดขัด
- ปรับสภาพความสมดุลการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายให้อยู่ในสมดุล
- กระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกาย เพื่อกำจัดเหตุปัจจัยที่เป็นอันตรายออกไปจากร่างกาย
- ช่วยบรรเทาความเจ็บปวด และช่วยในการหดเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ
[Total: 1 Average: 4]