การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจ (Biopsy)

หลังจากการตรวจวินิจฉัยจาก Mammogram และ Ultrasound เมื่อพบว่ามีสิ่งที่ผิดปกติ การวินิจฉัยขั้นต่อไปก็คือ การเจาะชิ้นเนื้อ ว่าจะเป็นก้อนมะเร็งหรือไม่ การเจาะชิ้นเนื้อนั้นทำได้หลายวิธี คือ

Needle Biopsy

เนื้อเยื่อที่ผิดปกตินั้นปัจจุบันสามารถใช้เข็มเจาะโดยไม่ต้องทำการผ่าตัด การใช้เข็มเจาะเพื่อเอาเนื้อเยื่อที่ผิดปกติมาวิเคราะห์ สามารถทำได้ 2 วิธีใช้อุปกรณ์ที่เป็นเข็มขนาดใหญ่ขึ้น ประมาณเท่ากับเข็มที่เราไปบริจาคเลือด เจาะเข้าไปที่ก้อน แล้วเข็มก็จะตัดเอาเนื้อเยื่อในก้อนมาจำนวนหนึ่ง สำหรับส่งไปตรวจทางห้องปฏิบัติการ วิธีนี้มีข้อดีคือได้เนื้อเยื่อมากกว่า FNA และค่อนข้างแม่นยำสูง

1. FNA หรือ Fine Needle Aspiration โดยใช้เข็มขนาดเล็กเพื่อจะเอาเนื้อเยื่อขนาดเล็กมากมาตรวจ สะดวกและใช้เวลาน้อย แต่ที่สำคัญก็คือต้องทำให้ถูกวิธี และมีพยาธิแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษในการวิเคราะห์

2Core Needle Biopsy โดยการใช้เข็มที่มีขนาดใหญ่เพื่อเจาะชิ้นเนื้อให้ได้ขนาดใหญ่ พอที่พยาธิแพทย์สามารถตรวจวิเคราะห์ชิ้นเนื้อได้แม่นยำ

หลังจากการตรวจวินิจฉัยจาก Mammogram และ Ultrasound เมื่อพบว่ามีสิ่งที่ผิดปกติ การวินิจฉัยขั้นต่อไปก็คือ การเจาะชิ้นเนื้อ ว่าจะเป็นก้อนมะเร็งหรือไม่ การเจาะชิ้นเนื้อนั้นทำได้หลายวิธี คือ

กรณีตรวจพบความผิดปกติจาก แมมโมแกรม

1. Stereotactic biopsy  เป็นเจาะตรวจเนื้อเยื่อโดยอาศัย เครื่องแมมโมแกรมค้นหาพิกัดตำแหน่งของจุดผิดปกติในเต้านม(โดยมากมักเป็นจุดหินปูน) โดยการคำนวณของคอมพิวเตอร์ แล้วใช้เข็มเจาะเข้าไปตัดชิ้นเนื้อในตำแหน่งที่ผิดปกติภายใต้การควบคุมทิศทางจากคอมพิวเตอร์

2. Needle localized biopsy  เป็นการผ่าตัดคว้านเนื้อเยื่อที่ผิดปกติออกมา โดยมีเข็มตะขอเกี่ยวเนื้อเยื่อบริเวณนั้นอยู่ การใส่เข็มตะขอเข้าไปเกี่ยวเนื้อเยื่อให้ถูกตำแหน่ง ก็ต้องอาศัยเครื่องแมมโมแกรมในการค้นหาจุดผิดปกติดังกล่าว

กรณีตรวจพบความผิดปกติจาก อัลตราซาวนด์

1. Ultrasound guided core biopsy  เป็นการอาศัยอัลตราซาวนด์ ค้นหาตำแหน่งของก้อนแล้วใช้เข็มเจาะภายใต้การควบคุมทิศทางจากเครื่องอัลตราซาวนด์

 2. Needle localized biopsy  เป็นการผ่าตัดเอาก้อนออกมา โดยมีเข็มตะขอเกี่ยวก้อนเนื้ออยู่  โดยใช้อัลตราซาวนด์หาก้อน แล้วใช้เข็มเกี่ยวเอาไว้

[Total: 1 Average: 5]