ผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวบางส่วน มีความผิดปกติการนำสัญญาณไฟฟ้าภายในหัวใจ ทั้งในระดับ AV node (PR prolongation) และระดับ ventricle (prolonged QRS duration) ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวไม่พร้อมเพรียงกัน ( asynchronus contraction) ส่งผลให้ประสิทธิภาพการสูบฉีดเลือดออกจากหัวใจแย่ลงกว่าที่ควรจะเป็น CRT ก็คือ pacemaker แบบหนึ่งแต่สิ่งที่ต่างจาก pacemaker ทั่วไปคือแทนที่จะมีแค่ 2 สาย คือ RA และ RV แต่มีสายเพิ่มพิเศษอีกหนึ่งสายเพื่อกระตุ้น LV lateral wall ซึ่งส่วนใหญ่สามารถใส่ผ่านเส้นเลือดดำเหมือนใส่ pacemaker lead ปกติ LV lead นี้จะถูกใส่ผ่านเข้าไปใน coronary sinus เพื่อให้สามารถกระตุ้น lateral wall ของ LV ได้โดยตรง การปรับตั้งระยะเวลาระหว่างการกระตุ้น atrium – ventricle และ ระยะเวลาระหว่างการกระตุ้น LV lateral wall (ผ่าน LV lead) – LV septal wall (ผ่าน RV lead) จะช่วยลด AV, interventricular, intraventricular dyssynchrony ทำให้ประสิทธิภาพของ LV contraction ดีขึ้น ทำให้ LVEF, อาการ และ NYHA class ดีขึ้น ลดการต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาลเพราะหัวใจล้มเหลวและลดอัตราการเสียชีวิตอีกด้วย
การเลือกผู้ป่วย รักษาหัวใจล้มเหลวด้วยเครื่องกระตุ้นไฟฟ้า (Cardiac Resynchronization Therapy: CRT)
ข้อมูลที่ได้จากทางคลินิกที่ยืนยันประโยชน์จก CRT มีเกณฑ์ในการเลือก ผู้ป่วยดังนี้
- Symptomatic CHF NYHA class II-IV
- QRS ³ 120 / 150 ms
- Sinus rhythm
- Optimal/ maximized pharmacological therapy
- หัวใจบีบตัวไม่ดี (ค่า LVEF ต่ำ) – LVEF £ 35%
- ยังหอบเหนื่อยทั้งที่ปรับยาอย่างเต็มที่
- หัวใจห้องล่างขวา และ ซ้าย ทำงานไม่ประสานกัน (ดูได้จากคลื่นไฟฟ้าฟัวใจ)
ความเสี่ยง รักษาหัวใจล้มเหลวด้วยเครื่องกระตุ้นไฟฟ้า (Cardiac Resynchronization Therapy: CRT)
1. ภาวะลมหรือเลือดออกในเยื่อหุ้มปอด
2. สะอึกจากกระตุ้นกระบังลม
3. จ้ำเลือดและก้อนเลือดบริเวรบาดแผล
4. แผลหรือเครื่องติดเชื้อ
5. สายกระตุ้นหัวใจเลื่อนหลุด
6. ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
7. เลือดออกในเยื่อหุ้มหัวใจและอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
ข้อควรรู้ รักษาหัวใจล้มเหลวด้วยเครื่องกระตุ้นไฟฟ้า (Cardiac Resynchronization Therapy: CRT)
1. ผู้ป่วยประมาณ 30% ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วย CRT คืออาการไม่ดีขึ้น
2. แม้ CRT จะช่วยลดอาการและการเสียชีวิตจากหัวใจล้มเหลวได้ แต่ผู้ป่วยกลุ่มเดียวกันนี้มักเป็นผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิด sudden death จากภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะ และมักมีข้อบ่งชี้ของการใส่ ICD ( Implantable Cardioverter Defibrillator) จากการศึกษาของ COMPANION ผู้ป่วยที่ได้ CRT-D (CRT+ICD) มีแนวโน้มลดอัตราการเสียชีวิตมากกว่าผู้ที่ได้ CRT อย่างเดียว
จุดสำคัญที่แตกต่างจาก ICD คือ สายไฟของ CRT มีฝั่งที่วางกระตุ้นหัวใจห้องล่างทั้งซ้ายและขวา (ขณะที่ ICD จะวางไว้ฝั่งขวาข้างเดียว) เพื่อปล่อยไฟฟ้ากระตุ้นหัวใจทั้ง 2 ข้างให้บีบพร้อมกัน