การตัดชิ้นเนื้อจากเต้านมส่งตรวจ (Breast biopsy)

การตัดชิ้นเนื้อจากเต้านมส่งตรวจ (Breast  biopsy) การตัดชิ้นเนื้อเต้านมส่งตรวจ (Breast  biopsy) เพื่อช่วยยืนยันว่าเป็นมะเร็ง เต้านมหรือไม่ หลังจากที่ได้ตรวจทางคลินิกแล้ว  ทำแมมโมแกรม (mammography) ตรวจด้วยเครื่องวัดอุณหภูมิในร่างกายด้วยแสงอินฟาเรด (thermography) ซึ่งจะบอกได้ว่ามีก้อนหรือไม่ การใช้เข็มเจาะเพื่อดูดเซลล์จากก้อนไปตรวจ (fine  needle  biopsy หรือ needle  biopsy) การทำอัลตราซาวนด์เพื่อดูว่ามีน้ำอยู่ในก้อน  การตัดชิ้นเนื้อออกไปตรวจแบบเปิด (open  biopsy) เป็นการดูเนื้อเยื่ออย่างเป็นระบบโดยสมบูรณ์   และสามารถตัดชิ้นเนื้อเป็นส่วน ๆ (section) เพื่อการประเมินได้อย่างละเอียดแม่นยำ ส่วนการฉีดยาชาจะใช้กับผู้ป่วยที่ไม่ได้พักอยู่ในโรงพยาบาล

 การตัดชิ้นเนื้อทั้งหมดเพื่อการวินิจฉัย (Excisional  biopsy) อาจใช้วิธีให้ผู้ป่วยดมยาสลบ ถ้ามีเนื้อเยื่อเพียงพอที่จะตรวจ และพบก้อนที่เป็นก้อนเนื้อร้าย  ส่งสิ่งส่งตรวจเพื่อตรวจหารีเซฟเตอร์ของเอสโตรเจนและโพรเจสเตอโรน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาการรักษาและพยากรณ์โรคต่อไป

เนื่องจากมะเร็งเต้านมยังคงเป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นอยู่บ่อย ๆ กับผู้หญิงการวิจัยทางพันธุกรรมควรทำอย่างต่อเนื่องเพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดมะเร็งเต้านม   

วัตถุประสงค์
เป็นการตรวจเพื่อค้นหาและแยกแยะก้อนเนื้องอกที่เต้านมที่ไม่อันตราย (benign breast tumors) และก้อนเนื้องอกที่เป็นเนื้อร้ายที่เต้านม (malignant  breast Tumors) หรือมะเร็งเต้านม

การเตรียมผู้ป่วย
1.บอกวิธีการตรวจให้ผู้ป่วยทราบว่าเป็นการตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ (microscopic  examination)โดยใช้สิ่งส่งตรวจจากเนื้อเยื่อที่เต้านมให้กำลังใจ (emotional  support)ให้ผู้ป่วยทราบว่าก้อนที่เต้านมไม่ได้บ่งชี้ว่าต้องเป็นมะเร็งเสมอไป
2.หากผู้ป่วยได้รับยาชาเฉพาะที่  บอกผู้ป่วยว่าไม่ต้องงดน้ำงดอาหารหรือยาก่อนตัดชิ้นเนื้อ
3.หากผู้ป่วยได้รับยาสลบ บอกผู้ป่วยให้งดอาหารตั้งแต่เที่ยงคืนก่อนวันตรวจจนกระทั่งหลังจากตัดชิ้นเนื้อ
4.บอกว่าใครเป็นคนตรวจ สถานที่ตรวจ และไม่ต้องงดอาหาร
5.บอกผู้ป่วยว่าก่อนตัดชิ้นเนื้ออาจมีการตรวจเลือด  ตรวจปัสสาวะ  และถ่ายภาพรังสีทรวงอก
6.ให้ผู้ป่วยหรือญาติเซ็นใบยินยอมรับการตรวจรักษาก่อนตรวจ
7.ตรวจดูว่าผู้ป่วยมีประวัติการแพ้ยาชาหรือยาสลบหรือไม่

การตรวจการดูแลหลังตรวจ
การเจาะดูดเซลล์ (Needle  biopsy)
1.แนะนำให้ผู้ป่วยถอดเสื้อผ้าลงมาถึงเอวและให้อยู่ในท่านั่งหรือท่านอนราบมือวางไว้ด้านข้างและอยู่นิ่ง ๆ
2.เตรียมตำแหน่งที่จะตัดชิ้นเนื้อ ฉีดยาชาเข้าไปที่รอยโรค
3.ดูดน้ำจากเต้านมใส่หลอดที่มีเฮพาริน  ใส่ชิ้นเนื้อในขวดที่มีน้ำเกลือหรือ ฟอร์มาลิน
4.ใช้เข็มเจาะ (fine – needle) ดูดเอาชิ้นเนื้อ แล้วนำมาวางบนสไลด์เพื่อดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ทันที
5.กดบริเวณที่ตัดชิ้นเนื้อ และเมื่อเลือดหยุดปิดแผลด้วยพลาสเตอร์

การผ่าตัดเอาชิ้นเนื้อออก (Open  biopsy)
1.หลังจากผู้ป่วยได้รับยาสลบหรือยาชา  กรีดที่เต้านมเพื่อเปิดให้เห็นก้อนที่เต้านม
2.ผู้ตรวจอาจตัดชิ้นเนื้อบางส่วนหรือตัดก้อนทั้งหมด หากก้อนมีเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 2 เซนติเมตรและเห็นว่าเป็นก้อนเนื้องอกที่ไม่อันตราย (benign) ให้ตัดออก หากมีขนาดใหญ่กว่า 2 เซนติเมตรหรือเห็นว่าเป็นก้อนเนื้อร้าย (malignant) ให้ตัดเฉือนสิ่งส่งตรวจก่อนที่จะตัดออก การตัดชิ้นเนื้อบางส่วนเพื่อการวินิจฉัย (incisional biopsy)โดยทั่วไปตัดเฉือนให้พอสำหรับตรวจวิเคราะห์ดูเซลล์เท่านั้น
3.นำสิ่งส่งตรวจใส่ในขวดที่มีน้ำยา 10% formalin ถ้าเนื้อเยื่อที่เป็นเนื้อร้ายหรือมะเร็งให้แช่แข็งเพื่อส่งตรวจโดยไม่ต้องแช่น้ำยาฟอร์มาลิน
4.เย็บแผลและปิดแผลด้วยพลาสเตอร์

ทั้งการเจาะดูดเซลล์และการผ่าตัดเอาชิ้นเนื้อออก
1.หากผู้ป่วยได้รับยาสลบหรือยาชา ให้บันทึกสัญญาณชีพและให้ยาแก้ปวดหากผู้ป่วยได้รับยาสลบ บันทึกสัญญาณชีพทุก15 นาที เป็นเวลา
1 ชั่วโมง ทุก 30 นาที  เป็นเวลา 2 ชั่วโมงทุก 1 ชั่วโมงเป็นเวลา 4 ชั่วโมง ต่อไปทุก 4 ชั่วโมง
2.ให้ยาแก้ปวดตามแผนการรักษาวางกระเป๋าน้ำแข็งเพื่อให้สุขสบายขึ้นบอกผู้ป่วยให้สวมเสื้อในพยุงเต้านมไว้ตลอดเวลาจนกระทั่งแผลหายดีแล้ว
3.ให้ระวังและรายงานการเสียเลือด  การกดเจ็บ  และอาการอักเสบบริเวณตำแหน่งที่ตัดชิ้นเนื้อ
4.ให้กำลังใจผู้ป่วยที่กำลังรอคอยการวินิจฉัย

ข้อควรระวัง
1.Open breast  biopsy  ห้ามทำในผู้ป่วยที่มีมีสิทธ์ทำผ่าตัด
2.ส่งสิ่งส่งตรวจไปยังห้องตรวจทันที

ผลการตรวจที่เป็นปกติ
เมื่อเต้านมอยู่ในสภาวะปกติ  เนื้อเยื่อเต้านมจะประกอบด้วย  เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (connective  tissue) เซลล์ไขมันจะเรียงกันเป็นกลุ่มก้อน (fat  lobules) และท่อน้ำนม (lactiferous  ducts) เป็นสีชมพู มีไขมันมากกว่าพังพืด และไม่พบความผิดปกติของเซลล์

 ผลการตรวจที่ผิดปกติ
                เนื้อเยื่อเต้านมที่ผิดปกติจะเห็นก้อนเนื้อร้ายเป็นวงกว้างหรือก้อนเนื้อที่ไม่อันตรายก้อนเนื้องอกที่เต้านมพบบ่อยในผู้หญิงและพบว่าเป็นมะเร็งในผู้หญิงร้อยละ 32 ส่วนผู้ชายพบก้อนเนื้อที่เต้านมมีเพียงร้อยละ 2 ที่เป็นมะเร็ง

Benign  tumors ได้แก่  ซีสต์  และผังผืด (fibrocystic disease) ก้อนเนื้องอก (adenofibroma) เนื้องอกในท่อน้ำนม (intraductal  papilloma) เซลล์ไขมันในเต้านมถูกทำลาย (mammary  fat necrosis) และการอักเสบของหัวนมและเต้านม (plasma  cell mastitis) หรือก้อนเนื้อจากความผิดปกติของท่อน้ำนม (mammary  duct  ectasia)

Malignant   tumors  ได้แก่  มะเร็งชนิดต่อม  หรือ  อะดีโนคาร์ซิโนมา (adenocarcinoma) cystosarcoma,  intraductal      carcinoma,  infiltrating  carcinoma Inflammatory  carcinoma,  medullary  หรือ  circumacribed  catcinoma,  colloid  Carcinoma, lobular  carcinoma,  sarcoma  และ  Paget’s  disease

[Total: 0 Average: 0]