การตัดชิ้นเนื้อจากปากมดลูกส่งตรวจ (Cervical biopsy)

การตัดชิ้นเนื้อปากมดลูก (Cervical  biopsy หรือ cervical  punch   biopsy) คือ การตัดเอาเนื้อเยื่อออกจากปากมดลูกโดยคีมคีบ (forceps) ที่คมเพื่อนำมาตรวจชิ้นเนื้อ (histologic  examination) โดยทั่วไปใช้ชิ้นเนื้อหลาย ๆ ชิ้นจากบริเวณที่ผิดปกติทั้ง หมด หรือจากรอยต่อระหว่างเยื่อบุสเควมัสกับเยื่บุคอลัมนาร์ (squamocolumnar junction) และตำแหน่งอื่น ๆ รอบปากมดลูกเป็นวงกลม  ตำแหน่งที่จะตัดชิ้นเนื้อจะถูกเลือกโดยการมองดูที่ปากมดลูก ด้วยการส่องกล้องขยาย ทางช่องคลอดหรือการตรวจโดยใช้ไอโอดีนทดสอบ (Schiller’s  test) ซึ่งการย้อมสีของเนื้อเยื่อผิวที่ปกติจะได้สีน้ำตาลเข้ม (dark  mahogany) ซึ่งไม่พบสีของเนื้อเยื่อที่ผิดปกติ การตัดชิ้นเนื้ออื่น ๆ ในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางนรีเวช  จะตัดชิ้นเนื้อเมื่อบริเวณปากมดลูกมีหลอดเลือดน้อยที่สุด คือ 1 สัปดาห์หลังมีประจำเดือน

วัตถุประสงค์
1.เพื่อประเมินรอยโรคปากมดลูกที่สงสัยว่าผิดปกติ
2.เพื่อวินิจฉัยมะเร็งปากมดลูก

การเตรียมผู้ป่วย

  1. บอกวิธีการตรวจให้ผู้ป่วยทราบ และบอกว่าการตรวจนี้ต้องเอาเนื้อเยื่อที่ปากมดลูกไปตรวจโดยส่องกล้องจุลทรรศน์
  2. บอกผู้ป่วยว่าใครเป็นผู้ตรวจและบอกสถานที่ตรวจ
  3. บอกผู้ป่วยว่าอาจจะไม่สุขสบายเล็กน้อยขณะและหลังจากตัดชิ้นเนื้อ
  4. บอกผู้ป่วยนอกให้มีเพื่อนหรือญาติมาด้วยเพื่อนำผู้ป่วยกลับบ้านหลังจากตัดชิ้นเนื้อ
  5. ให้ผู้ป่วยหรือญาติเซ็นใบยินยอมรับการตรวจรักษาก่อนตรวจ
  6. ให้ผู้ป่วยปัสสาวะก่อนตัดชิ้นเนื้อ            

การตรวจและการดูแลหลังตรวจ
1.จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านอนหงายพาดเท้าบนขาหยั่ง (Lithotomy position) และบอกให้ผู้ป่วยผ่อนคลาย
2.การตรวจแบบ  direct   visualization  ใส่กล้องส่องตรวจความผิดปกติของปากมดลูก (colposcope) ผ่านเครื่องถ่ายตรวจแบบปากเป็ด   (speculum) ในตำแหน่งที่จะตัดชิ้นเนื้อและทำความสะอาดด้วยสบู่อุ่น ๆ ใน 3 %  acetic   acid  solution แล้วใส่  biopsy ผ่านเข้าทาง      speculm หรือ colposcope แล้วเอาเนื้อเยื่อ จากรอยโรคหรือจากตำแหน่งที่เลือก โดยเริ่มจากส่วนด้านหลังปากมดลูก เพื่อหลีกเลี่ยงตำแหน่ง
อื่น ๆ ที่มีเลือด แต่ละ specimen ให้ใส่ในขวดที่มีน้ำยาฟอร์มาลิน 10% ทันทีหลังจากตัดชิ้นเนื้อ ให้ป้ายที่ปากมดลูกด้วย 5% silcer  nitrate    solution (อาจใช้การจี้หรือเย็บแผลแทนก็ได้) หากยังคงมีเลือดออก ผู้ตรวจจะใช้ผ้าอนามัยแบบแท่ง (tampon) สอดเข้าไปอุดที่ปากช่องคลอดเพื่อไม่ให้เลือดออก
3.การตรวจแบบ  Schiller’s  test  เป็นวิธีการตรวจหาบริเวณที่ผิดปกติที่ปากมดลูก โดยใช้ไม้พันสำลีชุบไอโอดีน 5% (Lugol’s solution)  ป้ายบริเวณปากมดลูกถ้าเป็นเซลล์ปกติ จะติดสีน้ำตาลเข้มของไอโอดีน  แต่ถ้าเป็นเซลล์ที่ผิดปกติจะไม่ติดสีผู้ตรวจจะตัดชิ้นเนื้อนี้ไปตรวจ
4.บันทึกชื่อผู้ป่วย ชื่อแพทย์และตำแหน่งที่ตัดชิ้นเนื้อไว้ในใบส่งตรวจ
5.แนะนำผู้ป่วยให้หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่หักโหมเป็นเวลา  24 ชั่วโมง  หลังจากตัดชิ้นเนื้อถ้าเป็นผู้ป่วยนอกให้พักสักครู่หนึ่งก่อนออกจาก
ห้องตรวจ
6.หากมีผ้าอนามัยแบบแท่งอยู่ในช่องคลอด  หลังจากตัดชิ้นเนื้อให้บอกผู้ป่วยว่าอย่าเอาออก ให้ทิ้งไว้ก่อนเป็นเวลา 8-24 ชั่วโมง บอกผู้ป่วยว่าขณะเอาผ้าอนามัยแบบแท่งออกอาจมีเลือดออก  และให้ผู้ป่วยบอกพยาบาลถ้ามีเลือดออกมาก (มากกว่าประจำเดือน) เตือนผู้ป่วยให้หลีกเลี่ยงการใช้ผ้าอนามัยแบบแท่งเข้าไปอุด  เพราะจะทำให้ระคายเคืองที่ปากมดลูกและทำให้เลือดไหลมากขึ้น
7.ถ้าผู้ป่วยอยู่ระหว่างการรักษาด้วยความเย็น  หรือรักษาด้วยแสงเลเซอร์บอกผู้ป่วยให้หลีกเลี่ยงการฉีดล้าง (douche) ช่องคลอดและการร่วมเพศเป็นเวลา 2 สัปดาห์  หรือตามคำสั่งแพทย์
8.บอกผู้ป่วยว่า  หลังจากตัดชิ้นเนื้อ จะมีตกขาว กลิ่นเหม็น  ออกจากปากช่องคลอดที่มีสีเขียวอมเทาอยู่หลายวันถือว่าเป็นปกติ และอาจยังคงเป็นอยู่ถึง 3  สัปดาห์

ข้อควรระวัง
ส่งสิ่งส่งตรวจไปยังห้องตรวจทันที

ผลการตรวจที่เป็นปกติ
จากการตรวจเนื้อเยื่อปากมดลูก พบว่าเนื้อเยื่อเป็นปกติเซลล์เนื้อเยื่อมีความสูงมากกว่าความกว้าง(columnar  epithelial  cells) เซลล์มีลักษณะบางและเบนยึดติดกันแน่น (squamous  epithelial  cells) มีเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดโปร่งบาง (loose Connective  tissue)  และมีกล้ามเนื้อเรียบ (smooth – muscle  fibers) ไม่มีการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติ
ผลการตรวจที่ผิดปกติ
จากการตัดชิ้นเนื้อที่ปากมดลูก (cervical  biopsy) ไปตรวจพบว่าเป็นเซลล์ที่ผิดปกติ  แต่ไม่พบเซลล์มะเร็ง จึงต้องตรวจใหม่ด้วยการตัดชิ้นเนื้อเป็นรูปโคน (conebiopsy) ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อที่ใหญ่กว่า  และจะช่วยให้การวินิจฉัยโรคถูกต้องแม่นยำมากขึ้นการผ่าตัดต้องให้ผู้ป่วยดมยาสลบ          การตรวจเซลล์ของเนื้อเยื่อปากมดลูกเป็นการตรวจค้นหาเซลล์ที่ผิดปกติ  ตรวจดูเนื้อเยื่อก่อนที่จะเป็นมะเร็งระยะแรก และตรวจดูเซลล์มะเร็งที่มีการแพร่กระจาย

[Total: 1 Average: 5]