การตัดชิ้นเนื้อตับผ่านทางหน้าท้องส่งตรวจ (Percutaneous liver biopsy)

การตัดชิ้นเนื้อตับผ่านทางหน้าท้องส่งตรวจ (Percutaneous  liver  biopsy)
            การตัดชิ้นเนื้อตับผ่านทางหน้าท้อง  จะใช้วิธีฉีดยาชาหรือให้ยาสลบ แพทย์จะใช้เข็มดูดเอาส่วนสำคัญของเนื้อเยื่อตับไปวิเคราะห์ การตรวจชิ้นเนื้อจะช่วยแยกแยะความผิดปกติของตับ หลังจากที่ทำอัลตราซาวนด์ (ultrasonography) เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) และการตรวจนิวไคลด์รังสี (radionuclide) แล้วไม่ได้ผลการตรวจ เพราะผู้ป่วยจำนวนมากที่มีความผิดปกติของตับจะมีข้อบกพร่องเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด  ดังนั้นการตัดชิ้นเนื้อตับจะต้องตรวจเลือดเพื่อดูการแข็งตัวของเลือดก่อน

วัตถุประสงค์
เพื่อวินิจฉัยโรคที่เนื้อตับ (hepatic  parenchymal  disease) ตรวจดูเนื้อร้าย (malignant  tumors) หรือมะเร็ง และดูการติดเชื้อ

การเตรียมผู้ป่วย
1.บอกผู้ป่วยว่าการตรวจนี้ใช้วินิจฉัยความผิดปกติของตับ
2.บอกวิธีตรวจแก่ผู้ป่วยและตอบคำถามของผู้ป่วย
3.บอกผู้ป่วยให้งดน้ำงดอาหารเป็นเวลา 4 – 8 ชั่วโมงก่อนตรวจ
4.บอกผู้ป่วยว่าใครจะเป็นผู้ตัดชิ้นเนื้อตรวจและทำที่ไหน
5.ให้ผู้ป่วยหรือญาติเซ็นใบยินยอมรับการตรวจรักษา
6.ตรวจสอบประวัติผู้ป่วยว่าแพ้ยาชาหรือไม่
7.ต้องแน่ใจว่าได้ตรวจดูการแข็งตัวของเลือด ได้แก่  prothrombin   time,
Partial  thromboplastin  time  ละ  platelet counts  แล้ว และบันทึกไว้ในแฟ้มของผู้ป่วยเรียบร้อยแล้ว
8.ตรวจเลือดเจาะหาฮีมาโตคริทเพื่อการประเมินขั้นพื้นฐาน
9.ก่อนตัดชิ้นเนื้อ (biopsy) บอกผู้ป่วยให้ปัสสาวะ แล้วบันทึกสัญญาณชีพ
10.บอกผู้ป่วยว่าจะได้รับยาชาเฉพาะที่

การตรวจและการดูแลหลังตรวจ
1.สำหรับการดูดเพื่อนำชิ้นเนื้อไปตรวจ โดยใช้ Menghini  needle  ต้องจัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านอนหงาย ยกแขนขวารองไว้ใต้ศีรษะ หันหน้าไปทางซ้าย แนะนำผู้ป่วยให้อยู่ในท่านี้ระหว่างการตรวจ
2.คลำตับ เลือกตำแหน่งที่จะตัดชิ้นเนื้อ  แล้วทำเครื่องหมายไว้  และฉีดยาชาที่ตำแหน่งนี้
3.ใช้  needle  flange  เพื่อควบคุมความลึกในขณะแทงทะลุเข้าไป และดูดน้ำเกลือที่ปราศจากเชื้อ 2 มิลลิลิตรไว้ในกระบอกฉีดยา
4.ต่อกระบอกฉีดยาเข้ากับเข็มที่จะใช้ตัดชิ้นเนื้อ  และแทงเข็มเข้าไปใน Subcutaneous  tissue ผ่านหนังหน้าท้องบริเวณช่องซี่โครงซี่ที่ 8 หรือ 9 ที่แนวกลางรักแร้ (mid – axillary  line) และเข้าไปถึงเยื่อหุ้มปอด (pleura)
5.ต่อไปฉีดน้ำเกลือ 1 มิลลิลิตรเพื่อทำความสะอาดเข็มและลูกสูบ แล้วดึงลูกสูบกลับมาที่ 4 มิลลิลิตรเพื่อทำให้เป็นความดันลบ
6.ในจุดนี้ บอกให้ผู้ป่วยหายใจเข้าลึก ๆ จากนั้นให้หายใจออกเต็มที่ และกลั้นหายใจนิ่งไว้เพื่อป้องกันการเคลื่อนของผนังทรวงอก
7.ในขณะที่ผู้ป่วยกลั้นหายใจนิ่ง แพทย์จะแทงเข็มและดูดเนื้อตับออกมาด้วยความเร็วในเวลา 1 วินาที
8. สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถกลั้นหายใจไว้ได้ จะแทงเข็มและดูดเนื้อตับออกมาด้วยความเร็วในช่วงหายใจออกเต็มที่
9. หลังจากดึงเข็มออก บอกผู้ป่วยให้หายใจตามปกติ
10. ชิ้นเนื้อเยื่อที่ดูดออกมาใส่ไว้ในที่เหมาะสม  แช่ในขวดที่ใส่ฟอร์มาลิน 10%
11. ล้างเข็มและที่มีเนื้อเยื่อด้วยน้ำเกลือ 1 มิลลิลิตร
12.กดตำแหน่งที่ตัดชิ้นเนื้อเพื่อให้เลือดหยุด
13.ให้ผู้ป่วยนอนตะแคงขวาบนหมอนใบเล็ก ๆ หรือวางหมอนทรายไว้ใต้ขอบชายโครง (costal  margin) เพื่อให้มีแรงกดเป็นพิเศษ เป็นเวลา
2 – 4 ชั่วโมงแนะนำให้นอนพักอยู่บนเตียงอย่างน้อย 24 ชั่วโมง
14.ตรวจสอบสัญญาณชีพทุก 15 นาทีเป็นเวลา 1 ชั่วโมง แล้วทุก 30 นาทีเป็นเวลา 4 ชั่วโมง และทุก 4 ชั่วโมง หลังจากนั้นเป็นเวลา 24 ชั่วโมง   สังเกตอาการแสดงภาวะช็อกอย่างระมัดระวัง
15. สิ่งที่ต้องระวังทางคลินิก  รายการการเสียเลือด  หรืออาการแสดงของเยื่อบุช่องท้องอักเสบจากน้ำดี เช่น อาการกดเจ็บ (tenderness) และมีการแข็งเกร็ง (rigidity) รอบ ๆ ตำแหน่งที่ตัดชิ้นเนื้อ ระวังอาการของภาวะโพรงเยื่อหุ้มปอดมีอากาศ (pneumothorax) เช่น หายใจเร็ว เสียงหายใจเบา  หายใจลำบาก  มีอาการปวดไหล่ตลอดเวลา  และมีอาการเจ็บหน้าอก ให้รายงานภาวะแทรกซ้อนให้แพทย์ทราบทันที
16.หากผู้ป่วยมีอาการเจ็บปวด ซึ่งอาจจะนานหลายชั่วโมงหลังตรวจ ให้ยาแก้ปวด

ข้อควรระวัง
1.การตัดชิ้นเนื้อตับ  มีภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยที่มีเกล็ดเลือดต่ำ 100,00 / µl, PT time นานกว่า 15  วินาที  มีหนองในปอด ในเยื่อหุ้มปอด
ในเยื่อบุช่องท้อง ในทางเดินน้ำดี  หรือในตับมีเนื้องอกที่หลอดเลือด (vascular  tumor) หรือท้องมาน
2.หลังจากตัดชิ้นเนื้ออาจมีอาการปวดท้องหรือหายใจลำบากซึ่งอาจบ่งชี้ว่ามีการทะลุของอวัยวะในช่องท้องหรือเกิดภาวะโพรงเยื่อหุ้มปอดมีอากาศในกรณีดังกล่าวเมื่อเสร็จสิ้นการประเมินผลอย่างละเอียดแล้งต้องรายงานให้แพทย์ทราบทันที
3.บอกผู้ป่วยให้กลั้นหายใจนิ่งขณะที่เข็มยังอยู่ภายใน

ผลการตรวจที่เป็นปกติ
ถ้าตรวจพบว่าตับปกติจะประกอบด้วย แผ่นเซลล์ตับดดยมีเรติคิวลิน(reticulin) อยู่รอบ ๆ

ผลการตรวจที่ผิดปกติ
การตรวจเนื้อเยื่อตับ  อาจพบโรคตับ  เช่น ตับแข็ง (cirrhosis) หรือตับอักเสบ (hepatitis) หรือมีการติดเชื้อเช่น วัณโรค ถ้าพบเนื้อร้ายจะเป็นมะเร็งตับ (hepatocellular  carcinoma) มะเร็งทางเดินน้ำดี  cholangiocellular (carcinioma) และเป็นก้อนมะเร็งที่มีจุดกำเนิดจากเส้นเลือด (angiosarcoma)

หากพบเซลล์ที่ไม่ใช้เนื้อร้ายให้ตรวจด้วยการผ่าตัดเปิดช่องท้อง (laparotomy) หรือการใช้กล้องส่งตรวจช่องท้อง (laparoscopy) เพื่อตัดชิ้นเนื้อออกตรวจต่อไป

[Total: 0 Average: 0]