การตัดชิ้นเนื้อต่อมลูกหมากส่งตรวจ (Prostate gland biopsy) คือการใช้ เข็มตัดชิ้นเนื้อต่อมลูกหมาก เพื่อตรวจดูเซลล์ว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากหรือไม่ (malignant prostatic hypertrophy) และต่อมลูกหมากที่เป็นตุ่มเล็ก ๆ (prostatic nodules) นั้น อาจตรวจดูฝีเย็บ ดูเข้าไปในทวารหนักในท่อปัสสาวะ ใช้สำหรับดูรอยโรคของต่อมลูกหมากที่อยู่เข้าไปลึก ๆ
วัตถุประสงค์
1.เพื่อตรวจดูว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากหรือไม่
2.เพื่อหาสาเหตุที่ทำให้ต่อมลูกหมากโต
การเตรียมผู้ป่วย
1.อธิบายวิธีการตรวจให้ผู้ป่วยทราบ ตอบคำถามและบอกผู้ป่วยว่าการตรวจนี้ต้องตัดชิ้นเนื้อไปดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ (microscopic study)
2.บอกผู้ป่วยว่าใครเป็นผู้ตัดชิ้นเนื้อ ทำที่ไหน และจะได้รับการฉีดยาชาเฉพาะที่
3.ให้ผู้ป่วยหรือญาติเซ็นใบยินยอมรับการตรวจรักษา
4.ตรวจสอบดูว่าผู้ป่วยมีประวัติการแพ้ยาชาหรือยาอื่นหรือไม่
5.สำหรับดูเข้าไปในทวารหนัก ต้องสวนอุจจาระจนกว่าจะสะอาด และให้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียเพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ จะทำวิธีนี้กับผู้ป่วยนอกโดยไม่ต้องให้ยาชา
6.ก่อนตัดชิ้นเนื้อ ให้ตรวจสอบสัญญาณชีพ และให้ยานอนหลับ
7.ให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันโรค ตามแผนการรักษา
8.บอกผู้ป่วยให้อยู่นิ่ง ๆ และทำตามคำแนะนำ
การตรวจและการดูแลหลังตรวจ
1.จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่เหมาะสม (ตะแคงซ้าย เข่าชิดอก หรือ ท่านอนหงายพาดเท้าบนขาหยั่ง (Lithotomy position) และทำความสะอาดผิวหนังบริเวณฝีเย็บ
2.หลังจากฉีดยาชาเฉพาะที่ กรีดผิวหนังบริเวณฝีเย็บยาว 2 มิลลิเมตร
3.ผู้ตรวจทำให้ต่อมลูกหมากอยู่กับที่ โดยสอดนิ้วเข้าไปในทวารหนักเพื่อจับต่อมลูกหมากและใช้เข็มตัดชิ้นเนื้อที่ prostate lobe หมุนเข็มเบา ๆ ดึงออกมายาวประมาณ 5 มิลลิเมตร และสอดเข้าไปใหม่ในมุมอื่น ทำแบบนี้หลาย ๆ ที่
4.กดผิวหนังที่มีรอยกรีดแล้วปิดพลาสเตอร์
Transrectal approach
1.จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านอนตะแคงซ้าย
2.ใช้นิ้วมือตรวจทางทวารหนักก่อนสอดใส่ ultrasound probe ทำ curved Needle guide ไปที่นิ้วที่คล้ำในทวารหนัก ใช้เข็มตัดชิ้นเนื้อดันเข้าไปตาม guide ในต่อมลูกหมาก ที่ localized ด้วย ultrasonography
3.ขณะที่เข็มเข้าไปที่ต่อมลูกหมา ผู้ป่วยอาจรู้สึกเจ็บ หมุนเข็มเพื่อตัดเนื้อเยื่อและถอนเข็มออกมา
4.การเลือกวิธี Transrectal เพื่อสืบค้น เป็น automated cone biopsy ซึ่งแพทย์ใช้ syring – powered device ด้วย inner trocar needle เพื่อตัดเนื้อเยื่อต่อมลูกหมาก
Transurethral approach
1.ใช้กล้องส่องผ่านไปยังท่อปัสสาวะ (urethra) มองดูต่อมลูกหมากและใช้ Cutting loop ตัดชิ้นเนื้อต่อมลูกหมาก
2.หมุน loop เพื่อตัดชิ้นเนื้อแล้วดึงออก
ทุกการตรวจ (All approaches)
1.ใส่ชิ้นเนื้อลงในขวดที่มีน้ำยาฟอร์มาลิน 10% และส่งไปยังห้องตรวจเพื่อวิเคราะห์
2.ตรวจสอบสัญญาณชีพทันทีหลังจากตัดชิ้นเนื้อ ทุก 2 ชั่วโมงเป็นเวลา 4 ชั่วโมงและทุก 4 ชั่วโมง
3.สังเกตว่าตำแหน่งที่ตัดชิ้นเนื้อมีเลือดออกหรือไม่ มีอาการอย่างไรบ้างและอาการแสดงที่บ่งชี้ว่ามีการติดเชื้อ เช่น มีแผลแดง บวม และปวดที่แผล ให้ดูการคั่งของปัสสาวะ ความถี่ของการถ่ายปัสสาวะ และดูว่ามีเลือดปนในปัสสาวะหรือไม่
ข้อควรระวัง
ให้ดูภาวะแทรกซ้อนรวมทั้งเลือดที่ปนอยู่กับปัสสาวะโดยไม่มีอาการเจ็บปวด และดูว่ามีเลือดออกในท่อปัสสาวะที่กว้างที่สุดและขยายได้มากที่สุด (prostatic urethra) และในกระเพาะปัสสาวะหรือไม่
ผลการตรวจที่เป็นปกติ
ต่อมลูกหมากที่เป็นปกติ ประกอบด้วย ปลอกหุ้มโตรมาที่เป็นพังผืดบาง ๆ ซึ่งสร้างขึ้นด้วยเนื้อเยื่อที่มีความยืดหยุ่น เป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน และมีกล้ามเนื้อเรียบเป็นพังผืดมีต่อมบุผิวในเนื้อเยื่อเหล่านี้ มีกล้ามเนื้อพังผืด และมีสิ่งขับออกไหลไปยังท่อ
ผลการตรวจที่ผิดปกติ
หมายถึง แพทย์ตรวจพบว่า ต่อมลูกหมากเป็นมะเร็ง การตรวจดูเซลล์ต่อมลูกหมากสามารถยืนยันได้ว่าต่อมลูกหมากเป็นมะเร็ง และควรตรวจอย่างอื่นต่อไปด้วย เช่น การตรวจสแกนกระดูก (bone scans) การตรวจไขกระดูก (bone marrow biopsy) การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก (tests for prostate – specific antigen) และ การทดสอบเอ็นไซม์เอซิดฟอสฟาเทส (serum acid phosphatase) และ prostatic Acid phosphatase determination เพื่อแยกขอบเขตของมะเร็ง Prostatic acid Phosphatase (PAP) พบได้สูงในมะเร็งต่อมลูกหมากการตรวจดูเซลล์สามารถสืบค้นโรคต่อมลูกหมากโต (benign prostatic hyperplasia) ต่อมลูกหมากอักเสบ (prostatitis) วัณโรค (tuberculosis) มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (lymphomas) มะเร็งลำไส้ตรง (rectal cancer) มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ (bladder cancer)