การตัดชิ้นเนื้อจากต่อมไทรอยด์ส่งตรวจ (Thyroid biopsy)

การตัดชิ้นเนื้อจากต่อมไทรอยด์ (Thyroid  biopsy) คือ การตัดชิ้นเนื้อเยื่อที่ต่อมไทรอยด์เพื่อตรวจดูเซลล์  การตรวจนี้บ่งชี้ว่าผู้ป่วยที่มีต่อมไทรอยด์โตหรือมีก้อนเนื้อจะหายใจและกลืนลำบาก  มีภาวะที่สายเสียงไม่ขยับ (vocal  cord  paralysis) น้ำหนักลด  และความรู้สึกไม่สบายเหมือนกับว่ามีอาหารค้างอยู่ในลำคอ การตรวจนี้ทำบ่อยเมื่อตรวจวินิจฉัยต่อมไทรอยด์ด้วยเครื่องอัลตราซาวนด์ (thyroid  ultrasonography) และสแกนแล้วได้ผลผิดปกติหรือไม่สามารถสรุปได้  การตรวจการแข็งตัวของเลือดก่อนตัดชิ้นเนื้อจากต่อมไทรอยด์ไปตรวจ (thyroid  biopsy)
            ผู้ตรวจอาจจะใช้เข็มเจาะเนื้อเยื่อจากต่อมไทรอยด์โดยฉีดยาชาเฉพาะที่  ส่วนการผ่าตัดเปิดตัดชิ้นเนื้อต้องดมยาสลบ  การใช้เข็มเจาะเพื่อดูดเซลล์ไปตรวจ (fine Needle  aspiration) ร่วมกับการทำ cytologic  smear examination สามารถช่วยวินิจฉัย และทดแทนการตัดเนื้อออกตรวจแบบเปิด (open  biopsy) ซึ่งการตัดเนื้อออกตรวจแบบเปิดนี้ทำในห้องผ่าตัด  จะได้ข้อมูลมากกว่าการใช้เข็มเล็ก ๆ ตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ (needle biopsy) เพราะว่าเป็นการตรวจโดยตรงและตัดเนื้อเยื่อที่สงสัยเอาไปตรวจได้เลย

วัตถุประสงค์
1.เพื่อแยกแยะให้เห็นโรคไทรอยด์ที่เป็นเนื้อไม่ร้ายกับที่เป็นมะเร็ง (benign และ  malignant  thyroid disease)
2.เพื่อช่วยวินิจฉัย Hashimoto’s  disease, hyperthyroidism  และ  nontoxic  Nodular  goiter

การเตรียมผู้ป่วย
1.บอกวิธีการตรวจให้ผู้ป่วยทราบ และตอบคำถามที่ผู้ป่วยสงสัย
2.บอกผู้ป่วยว่าการตรวจนี้เป็นการตรวจหาเชื้อที่มีอยู่ในเนื้อเยื่อต่อมไทรอยด์
3.บอกผู้ป่วยว่าไม่ต้องงดน้ำงดอาหาร (ยกเว้นผู้ป่วยได้รับยาสลบ)
4.บอกผู้ป่วยว่าใครเป็นผู้ตัดชิ้นเนื้อและจะทำที่ไหน
5.ให้ผู้ป่วยหรือญาติเซ็นใบอนุญาตการตรวจ
6.ตรวจสอบประวัติผู้ป่วยว่ามีการแพ้ยาชาหรือยาแก้ปวดหรือไม่
7.บอกผู้ป่วยว่าเขาจะได้รับยาชาเฉพาะที่เพื่อช่วยให้มีอาการปวดน้อยลง
8.ตรวจสอบผลของการแข็งตัวของเลือด และบันทึกไว้ในรายงานของผู้ป่วย
9.บอกผู้ป่วยว่าอาจรู้สึกเจ็บคอวันที่ตรวจ
10.ให้ผู้ป่วยรับประทานยานอนหลับ 15 นาทีก่อนตรวจ

การตรวจและการดูแลหลังตรวจ
1.สำหรับ needle  biopsy ให้ผู้ป่วยนอนท่านอนหงาย แขนแนบลำตัว (supineposition) โดยหมุนหมอนใต้หัวไหล่ (ท่านี้จะช่วยดัน Trachea และ  ต่อมไทรอยด์ให้ไปข้างหน้า ส่วนหลอดเลือดดำที่คอจะตกไปข้างหลัง)
2.เตรียมผิวหนังรอบ ๆ  ตำแหน่งที่จะตัดชิ้นเนื้อ
3.ผู้ตรวจเตรียมพ่นยาชาเฉพาะที่ บอกผู้ป่วยว่าไม่ให้กลืน
4.หลังจากฉีดยาชา ให้คลำหลอดเลือดแดงคาโรติด (carotid  artery) และ ใช้เข็มเจาะตัดเนื้อเยื่อ (biopsy needle) ที่อยู่ใกล้ ๆ  กระดูกอ่อนไทรอยด์ (thyroid Cartilage) เพื่อป้องกันการเสียหายต่อโครงสร้างลึก ๆ และกล่องเสียง
5.เมื่อได้ชิ้นเนื้อแล้ว ให้ดึงเข็มออก และใส่ชิ้นเนื้อในฟอร์มาลินทันที
6. กดบริเวณตำแหน่งที่ตัดชิ้นเนื้อเพื่อหยุดเลือด หากมีเลือดออกต่อเนื่องนานหลายนาที กดตรงตำแหน่งนี้เพิ่มอีก 15 นาที ปิดพลาสเตอร์     (เลือดอาจจะยังออกอยู่ในผู้ป่วยที่มี  prolonged  PT หรือ prolonged PTT หรือในผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดไทรอยด์ขนาดใหญ่)
7.ช่วยให้ผู้ป่วยสุขสบาย โดยจัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่า semi – Fowler positionบอกผู้ป่วยให้หลีกเลี่ยงที่จะทำให้กล้ามเนื้อตรงตำแหน่งที่ตัดชิ้นเนื้อตึงโดยการไขว้มือทั้งสองวางอยู่ด้านหลังคอของผู้ป่วยเมื่อลุกขึ้นนั่ง
8.เฝ้าดูบริเวณที่กดเจ็บหรือแดง  ถ้ามีเลือดออกบริเวณที่ตัดชิ้นเนื้อให้รายงานให้แพทย์ทราบทันที  ตรวจดูบริเวณคอด้านหลังและบริเวณหมอนที่ใช้หนุนศีรษะผู้ป่วยทุก ๆ ชั่วโมงว่ามีเลือดออกหรือไม่เป็นเวลา 8 ชั่วโมง  สังเกตการหายใจลำบากที่เกิดจากการบวมหรือมีเลือดออกซึ่งส่งผลทำให้หลอดลมตีบ
9. ดูแลบริเวณที่ตัดชิ้นเนื้อให้สะอาดและแห้ง

ข้อควรระวัง
1.การตัดชิ้นเนื้อจากต่อมไทรอยด์ส่งตรวจควรใช้ความระมัดระวังในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของการแข็งตัวของหลอดเลือดซึ่งบ่งชี้โดยค่า PT หรือค่า PTT พบว่า Prolomged
2.ชิ้นเนื้อที่ได้มาต้องใส่ในฟอร์มาลินทันที เพราะถ้าไม่ใส่เซลล์ของชิ้นเนื้อจะสลายตัว

ผลการตรวจที่เป็นปกติ
            ถ้าผลการตรวจเซลล์ของเนื้อเยื่อเป็นปกติ จะเห็นตาข่ายของพังผืด (fibrous  networks) แบ่งต่อมภายใน  pseudolobules  ซึ่งทำเป็นกลุ่มเซลล์ที่เรียงตัวกันมีลักษณะคล้ายถุง (follicles) และหลอดเลือดฝอย (capillaries) พบ cuboidal Eqithelium ที่ผนังของ follicle  walls และประกอบด้วย protein thyroglobulin ซึ่ง สะสม T4 และ T3

ผลการตรวจที่ผิดปกติ
           จะมีก้อนเนื้อร้ายหรือก้อนมะเร็ง (malignant  tumors) เห็นเป็นปลอกหุ้มเรียบร้อยดี (well  encapsulated) ต่อมไทรอยด์เป็นก้อนเนื้อแข็ง (solitary thyroidnodule) แต่โครงร่างผิดปกติ เป็นมะเร็งที่แพบพิลล่า (papillary  carcinoma) ซึ่งพบมากที่สุดในมะเร็งของต่อมไทรอยด์  ส่วนมะเร็งที่ฟอลลิเคิล (follicular carcinoma) พบน้อยกว่า ซึ่งทีลักษณะคล้ายกับเซลล์ปกติ
            จะพบก้อนเนื้อที่ไม่ใช่มะเร็ง (benign tumors) เช่น คอพอกชนิดไม่เป็นพิษ (nontoxic  nodular goiter) จะพบต่อมไทรอยด์โตขึ้น   (hypertrophy, hyperplasia และ hypervascularity) ซึ่งอาจสงสัยเกี่ยวกับลักษณะเซลล์ของ  subacute Granulomatous  thyroiditis,   Hashimoto’s  thyroiditis และ  hyperthyroidism

[Total: 0 Average: 0]