การผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง Endoscope (Endoscopic Discectomy: Foraminotomy)

Endoscopic Discectomy / Foraminotomy คือ การผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง Endoscope ขนาดบาดแผลประมาณ 0.8 เซนติเมตร ผ่านท่อขนาดเล็กเพียงแผลเดียว (Single Portal) จากทางด้านข้างหรือด้านหลัง โดยมีระบบน้ำหล่อเลี้ยงตลอดเวลา เพื่อให้มองเห็นชัดเจน และมีการใช้ Bipolar/Radiofrequency ช่วยจี้หยุดเลือดขณะที่ศัลยแพทย์ทำการผ่าตัดผ่านจอ Monitor ด้วยชุดเครื่องมือการผ่าตัดเฉพาะทางและทีมแพทย์ที่ผ่านการฝึกอบรมเฉพาะด้าน เพื่อให้ผลการผ่าตัดมีประสิทธิภาพเทียบเท่าการผ่าตัดแบบเปิดแผลปกติ

ลดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น

การผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง Endoscope สามารถลดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นเมื่อเทียบกับการผ่าตัดแบบเปิดแผลปกติ ได้แก่

  • การติดเชื้อที่บริเวณหมอนรองกระดูกสันหลัง การติดเชื้อบริเวณแผลผ่าตัดติดเชื้อ อัตราการติดเชื้อ 1 – 2%
  • ถุงหุ้มเส้นประสาทฉีกขาด (Dural Tear) 1 – 2%
  • โอกาสเกิดซ้ำของหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท (Recurrent Disc Herniation) อยู่ที่ประมาณ 5%
  • มีโอกาสเล็กน้อยที่ต้องเปลี่ยนจากผ่าตัดส่องกล้องเป็นผ่าตัดแบบเปิดแผลปกติ

ผู้ป่วยที่เหมาะกับ Endoscopic Discectomy

  1. ผู้ป่วยโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
  2. ผู้ป่วยโพรงประสาทตีบแคบทับเส้นประสาทจากภาวะเสื่อมของกระดูกสันหลัง ข้อต่อ และหมอนรองกระดูกสันหลัง

ข้อดีของ Endoscopic Discectomy

  1. ผ่าตัดภายใต้การมองเห็นที่ชัดเจนทั้งแสงและการขยายภาพ (Excellent Magnification and Vision)
  2. บาดเจ็บเนื้อเยื่อ กล้ามเนื้อ และกระดูกน้อยมาก
  3. แผลผ่าตัดขนาดเล็ก เจ็บน้อย เสียเลือดน้อย ลดเวลาในการนอนโรงพยาบาล
  4. ลดการเกิดแผลเป็นในโพรงกระดูกสันหลัง ไม่มีพังผืดรัดเส้นประสาท
  5. หากต้องมีการผ่าตัดในครั้งต่อไป เนื้อเยื่อต่าง ๆ จะเหมือนเนื้อเยื่อปกติ

ดูแลหลังผ่าตัด

  • นอนโรงพยาบาลหลังผ่าตัด 1 คืน
  • สามารถลุกเดินได้เลยหลังผ่าตัด
  • สามารถกลับเข้าทำงานและเริ่มออกกำลังกายได้ในสัปดาห์ที่ 2 หลังผ่าตัด

การผ่าตัดโดยวิธีใช้กล้อง Endoscope ใช้ในการผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาททุกชนิด และโรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบทับเส้นประสาท โดยได้ผลการรักษาที่ดีไม่ต่างจากการผ่าตัดแบบเปิดแผลปกติ เจ็บน้อย เสียเลือดน้อย ใช้เวลาพักในโรงพยาบาลสั้น และหลังผ่าตัดหายจากความเจ็บปวด

[Total: 1 Average: 5]