ตรวจการบีบรัดตัวและเคลื่อนไหวทางเดินอาหารEsophageal Manometry

ตรวจการบีบรัดตัวและเคลื่อนไหวทางเดินอาหารEsophageal Manometry คือ เครื่องมือที่มีความละเอียดสูง ใช้ตรวจการเคลื่อนไหวของหลอดอาหารและการบีบรัดตัวของหูรูดหลอดอาหาร เพื่อใช้ดูการประสานงานกันของกล้ามเนื้อที่ใช้ในในระหว่างการกลืน การบีบตัวแบบส่งผ่านของกล้ามเนื้อเรียบในหลอดอาหาร และ การคลายตัวของกล้ามเนื้อหูรูดส่วนปลายของหลอดอาหาร เพื่อนำไปสู่การหาสาเหตุของการกลืนที่ผิดปกติในผู้ป่วย

หลักการตรวจ Manometry

การตรวจการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหารชนิดนี้ ใช้หลักการของการวัดความดันที่เกิดขึ้นในทางเดินอาหารทั้งขณะพัก และขณะที่มีการเคลื่อนไหว ทำให้สามารถตรวจดูความผิดปกติของการทำงานของอวัยวะนั้นได้ เครื่องมือชนิดนี้สามารถตรวจได้ทั้งการเคลื่อนไหวของหลอดอาหาร ลำไส้ใหญ่ ลำไส้เล็ก เป็นต้น สามารถบอกรายละเอียดว่ามีการเคลื่อนไหวที่ลดลง หรือมีการหดรัดตัวของหูรูดมากเกินไปได้ ดังเช่นกรณีตัวอย่างข้างต้น ที่ทำให้ทราบว่าสาเหตุของท้องผูกเกิดจากการทำงานของหูรูดทวารหนักหดรัดตัวผิดปกติ นอกจากการวินิจฉัยโรคได้แล้ว เครื่องมือชนิดนี้สามารถให้การรักษาแก่ผู้ป่วยได้ด้วย

Manometry มีวิธีการตรวจอย่างไร

ขั้นตอนการตรวจไม่ยุ่งยาก ไม่จำเป็นต้องใช้ยานอนหลับ หรือยาสลบ โดยอุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจที่สำคัญมีสองอย่าง คือ สายที่ใช้ในการวัดความดันภายในทางเดินอาหาร และเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีโปรแกรมในการบันทึกและแปลผลการตรวจ การตรวจใช้เวลาไม่นาน ส่วนใหญ่ไม่เกินครึ่งชั่วโมงถึงหนึ่งชั่วโมง กรณีการตรวจการเคลื่อนไหวของหลอดอาหาร แพทย์จะใส่สายตรวจทางจมูก ส่วนการตรวจหูรูดทวารหนัก ก็จะใส่สายทางทวารหนัก ในการเตรียมตัวก่อนตรวจนั้น แนะนำให้งดน้ำและอาหารก่อนตรวจหลอดอาหาร แต่กรณีตรวจทวารหนัก ผู้ป่วยจำเป็นต้องสวนอุจจาระก่อนทำการตรวจวินิจฉัย โดยทั่วไปไม่มีข้อห้ามเฉพาะในการตรวจด้วยเครื่องมือชนิดนี้ และความเสี่ยงในการตรวจก็ต่ำมาก นอกจากนี้การตรวจชนิดนี้ไม่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายแต่อย่างใด ประโยชน์อื่นของเครื่องมือชนิดนี้ คือใช้ร่วมกับเครื่องมือตรวจวินิจฉัยโรคกรดไหลย้อน นั่นคือ การตรวจวัดปริมาณกรดไหลย้อนตลอด 24 ชั่วโมง จุดประสงค์ของการตรวจ

กล่าวโดยสรุป คือ เครื่องมือสำหรับตรวจการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหาร (Manometry) มีความสำคัญในการวินิจฉัยและรักษากลุ่มโรคที่มีความผิดปกติของการเคลื่อนไหวทางเดินอาหาร (Motility disorder) ทั้งชนิดที่เคลื่อนไหวน้อยไป หรือมากเกินไป ทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคได้แม่นยำและถูกต้องมากขึ้น ทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างถูกต้องตรงจุด และบางครั้งสามารถทำให้หายขาดจากโรคได้ โดยเป็นวิธีการตรวจที่ปลอดภัยและไม่ยุ่งยากแพทย์

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการตรวจด้วย Manometry

  1. คนไข้ต้องงดน้ำ งดอาหาร และต้องหยุดยาที่จะรบกวนการบีบตัวของหลอดอาหารก่อนใส่สายตรวจทางจมูก ยกเว้นยานั้นกินเพื่อความสุขสบายของคนไข้
  2. แพทย์จะพ่นยาชาก่อนใส่สายทางจมูก ใช้เวลาเพียงไม่กี่นาทีเท่านั้นหากคนไข้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
  3. เมื่อใส่สายลงไปในกระเพาะอาหารแล้วคนไข้สามารถเห็นจากจอแสดงผลได้แบบเรียลไทม์ทันที
  4. เมื่อปลายสายอยู่ในกระเพาะอาหารแล้วแพทย์จะให้คนไข้กลืนน้ำ 10 คำ เพื่อดูว่าระหว่างการกลืนหลอดอาหารและหูรูดบีบตัวอย่างไรซึ่งการกลืนแต่ละครั้งต้องมีคุณภาพมากพอที่จะดูการทำงานของอวัยวะได้อย่างชัดเจน
  5. การใส่สาย Manometryทางจมูกไม่มีผลข้างเคียงและภาวะแทรกซ้อนในการตรวจ หากใส่ทางจมูกอาจจะมีการระคายเคืองเล็กน้อยตอนใส่สาย และอาจมีน้ำมูกหรือเลือดออกเพียงเล็กน้อย แต่ไม่รุนแรงจนถึงขั้นอวัยวะทะลุแน่นอน ซึ่งหากคนไข้ให้ความร่วมมือกับแพทย์เป็นอย่างดีการรักษาจะใช้เวลาประมาณ 45นาทีเท่านั้น
[Total: 1 Average: 5]