การลดน้ำหนักด้วยบอลลูน (Gastric Balloon)

Gastric Balloon คือการใส่บอลลูนที่บรรจุสารน้ำเข้าไปในกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก โดยบอลลูนจะเข้าไปลดความจุของกระเพาะอาหาร ทำให้รับประทานอาหารได้น้อยลงและอิ่มนานกว่าเดิม ร่างกายจึงนำไขมันส่วนเกินออกมาใช้เป็นพลังงานแทน ส่งผลให้น้ำหนักตัวลดลงในที่สุด การทำ Gastric Balloon เหมาะสำหรับผู้ที่มีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) มากกว่า 27 ประกอบกับลดน้ำหนักด้วยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผล และมีน้ำหนักเกินจนเริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพ 

นอกจากเหตุผลเรื่องความมั่นใจในรูปร่างและบุคลิกภาพที่ดีแล้ว การลดน้ำหนักอย่างถูกวิธียังช่วยชะลอความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ที่มีผลมาจากความอ้วน เช่น เบาหวาน ความดัน ไขมัน หัวใจ และสมองตีบ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนควรให้ความสำคัญ 

แพทย์จะประเมินซักถามคนไข้ก่อนในเรื่องต่างๆ ดังนี้

– ประวัติโรคประจำตัว เช่น เบาหวานความดัน
– ยาประจำที่ใช้ประวัติแพ้ยาต่างๆ
– ประวัติการผ่าตัด
– ประจำเดือนครั้งสุดท้ายก่อนผ่าตัด
– ประวัติครอบครัว เคยมีบุคคลในครอบครัวมีปัญหาจากการดมยาสลบหรือไม่
– ประวัติอาการกรดไหลย้อน
– ประวัติการนอนกรน ถ้ามีนอนกรนต้องถามว่ามีเครื่องช่วยการหายใจเวลานอนหรือไม่ถ้ามีให้นำติดมาวันทำ Gastric Balloon ด้วย

ข้อดีของการทำ Gastric Balloon

  • เป็นวิธีลดน้ำหนักที่มีความเสี่ยงต่ำ ผลข้างเคียงน้อย เมื่อเทียบกับการผ่าตัดลดน้ำหนักด้วยวิธีอื่นๆ 
  • ไม่ต้องผ่าตัดจึงไม่มีแผลเป็นตามร่างกาย 
  • สามารถเพิ่มหรือลดขนาดบอลลูนได้ตามต้องการ 
  • อาจทำซ้ำได้หากน้ำหนักกลับมาเพิ่มขึ้นหลังนำบอลลูนออก 
  • เฉลี่ยแล้วทำให้น้ำหนักลดลงประมาณ 24 กิโลกรัมต่อปี

ข้อควรปฏิบัติหลังการใส่บอลลูน 

  • ช่วงแรกไม่ควรดื่มของเหลวมากจนเกินไป สามารถดื่มน้ำครึ่งแก้วได้ทุกๆ 1-2 ชั่วโมงหลังใส่บอลลูน 
  • ให้ความร่วมมือในการมาตรวจติดตามอาการอย่างต่อเนื่องตามที่แพทย์นัดหมาย 
  • รับประทานยากันแผลในกระเพาะ (PPI) ทุกวันเป็นเวลาหนึ่งปีแม้จะไม่มีอาการก็ตาม เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดแผลในกระเพาะและยืดอายุของบอลลูน
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาแก้ปวดแบบไม่ใช่เสตียรอยด์และการดื่มแอลกอฮอล์ เพราะแอลกอฮอล์จะเพิ่มโอกาสเสี่ยงในการเป็นแผลในกระเพาะ การเรอสามารถพบได้เป็นปกติ มักเกิดจากการกลืนเอาอากาศเข้าไป เนื่องจากผู้ป่วยกลืนน้ำลายเพื่อแก้อาการไม่สบายท้อง ซึ่งอาจเป็นสัญญาณของการรับประทานอาหารมากเกินไป และ/หรือการทนต่อบอลลูนไม่ได้ 
  • ผู้ป่วยบางรายอาจนอนหลับได้ดีกว่าหากตะแคงเอาด้านซ้ายลง 
  • หากรู้สึกถึงความผิดปกติควรรีบมาพบแพทย์ทันที 
  • เมื่อครบกำหนดนำบอลลูนออกแล้ว ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและพยายามรักษาน้ำหนักให้คงที่ไม่เพิ่มขึ้นอีก 

ข้อห้ามในการใส่บอลลูนลดน้ำหนัก

• เป็นสตรีที่กำลังตั้งครรภ์หรือวางแผนจะตั้งครรภ์ระหว่างที่ทำการรักษาด้วยบอลลูน
• มีความผิดปกติของหลอดอาหารกระเพาะอาหาร เช่น เป็นแผลในกระเพาะ กรดไหลย้อนรุนแรง หรือเคยผ่าตัดกระเพาะอาหารและหลอดอาหาร เป็นต้น
• แพ้ยางซิลิโคน
• มีภาวะเลือดออกง่ายหรือรับประทานยาละลายลิ่มเลือด
• ผู้ที่มีความเสี่ยงจะเกิดแผลในกระเพาะอาหารสูงอันเนื่องมาจากต้องรับประทานยาแก้อักเสบกลุ่ม NSAIDs (เช่น aspirin, ibuprofen, diclofenac เป็นต้น) เป็นประจำ
• คนที่มีโรคประจำตัวรุนแรง

[Total: 1 Average: 5]