การผ่าตัดปลูกถ่าย/เปลี่ยนไต (Kidney Transplantation)

การปลูกถ่ายไตหรือเปลี่ยนไต (Kidney Transplantation)  คือ วิธีนี้เป็นวิธีการรักษา โรคไตวายเรื้อรังที่ดีที่สุดเนื่องจากมีคุณภาพชีวิตและอัตราการรอดชีวิตดีที่สุดเมื่อเทียบกับวิธีการรักษาโดยวิธีอื่น การปลูกถ่ายไตสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

  1. การปลูกถ่ายไตจากผู้บริจาคที่มีชีวิต เป็นวิธีการปลูกถ่ายไตโดยนำไตที่บริจาคมาจากญาติ ได้แก่ พ่อแม่ พี่น้อง ลูก หลาน ลุง ป้า น้า อา หรืออาจได้จากสามี ภรรยา ที่ถูกต้องตามกฎหมาย โดยผู้บริจาคจะบริจาคไต 1 ข้าง ในคนปกติมีไต 2 ข้างซึ่งสามารถบริจาคไตให้ได้ 1 ข้าง เหลือไต 1 ข้าง ผู้บริจาคต้องมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ และบริจาคด้วยความสมัครใจ  
  2. การปลูกถ่ายไตจากผู้ป่วยสมองตาย เป็นวิธีการปลูกถ่ายไตโดยนำไตที่บริจาคมาจากผู้เสียชีวิต กล่าวคือไตที่ปลูกถ่ายจากการบริจาคจากผู้ป่วยสมองตาย สำหรับในประเทศไทย สภากาชาดไทยจะเป็นผู้รับบริจาคและเป็นผู้จัดสรรไตให้แก่ผู้ป่วยไตวาย

ขั้นตอนการปลูกถ่ายไต

  1. ก่อนการปลูกถ่ายจะมีการชี้แจงข้อดีและข้อเสียของการปลูกถ่ายไตให้ผู้ป่วยรับทราบและยินยอมก่อน
  2. ผู้บริจาคไตและผู้ป่วยที่ตกลงเข้ารับการปลูกถ่ายไตเตรียมตัวให้พร้อมก่อนการปลูกถ่าย
  3. เข้าสู่กระบวนการปลูกถ่ายไต
  4. ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่โรงพยาบาลตามขั้นตอน
  5. ผู้ป่วยได้รับการดูแลต่อที่บ้านอย่างเหมาะสม ทั้งการดูแลตัวเองและการดูแลโดยผู้ดูแล

ข้อดีของการปลูกถ่ายไต

  • ไม่ต้องฟอกเลือด หรือล้างไตทางหน้าท้อง
  • ร่างกายแข็งแรงขึ้น
  • ไม่ต้องจำกัดน้ำหรือควบคุมอาหาร
  • กลับไปสู่การใช้ชีวิตที่ใกล้เคียงปกติมากที่สุด คุณภาพชีวิตดีขึ้น
  • มีเวลาให้กับตัวเองและครอบครัวมากขึ้น
  • ผู้ป่วยที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ สามารถมีบุตรได้ปกติ

ข้อเสียของการปลูกถ่ายไต

  • เสี่ยงในการผ่าตัด เช่นเสียเลือด
  • อาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย
  • อาจทำให้เกิดภาวะปฏิเสธไตได้
[Total: 0 Average: 0]