เป็นหัตถการที่ทำเพื่อการวินิจฉัยการติดเชื้อในระบบประสาทส่วนกลาง และ subarachnoid hemorrhage นอกจากนี้ยังเพื่อการรักษาโดยการให้ยาเข้าน้ำไขสันหลัง เช่น ยาเคมีบำบัด ยาระงับปวด สารทึบแสง เป็นต้น หรือใช้ระบายน้ำไขสันหลังเพื่อรักษาภาวะความดันในช่องกะโหลกศีรษะ
วิธีทำ การเจาะตรวจน้ำไขสันหลัง
- จัดท่าผู้ป่วยให้อยู่ในท่าที่เหมาะสม เพื่อให้ช่องระหว่าง lamina กว้างขึ้น โดยให้เด็กนอนตะแคงชิด ขอบโต๊ะ ช้อนแขนใต้ศีรษะเด็กให้ก้มคางชิดหน้าอก สอดแขนอีกข้างใต้เข่าเด็ก และงอเข่าขึ้นมาชิดหน้าท้อง ผู้ช่วยจับข้อมือของตัวเองให้แน่น จะทำให้สามารถจับเด็กได้อย่างมั่นคงและดูแลให้ไหล่และสะโพกของเด็กตั้งฉากกับพื้น
- คลำตำแหน่ง posterior superior iliac crests ลากเส้นสมมุติตรงลงมาที่กระดูกสันหลังจะอยู่ตรงกับช่องกระดูกสันหลังที่ L3-L4 เลือกเจาะน้ำไขสันหลังที่ระดับ L3-L4 หรือ L4-L5 เด็กทารกอาจเลือกที่ระดับ L2-L3 ได้
- ทำความสะอาดผิวหนังด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ เริ่มจากตรงกลางวนไปรอบ ๆ เป็นบริเวณกว้าง ปูผ้าเจาะกลาง
- ฉีด 1% lidocaine ที่ตำแหน่งที่ต้องการ ผู้ป่วยบางรายอาจต้องให้ยานอนหลับร่วมด้วย
- ใช้เข็มเจาะหลังแทงเข้าตรงกลางช่อง ตัวเข็มให้ตั้งฉากกับผิวหนัง ปลายเข็มชี้ไปที่สะดือ ขณะแทงเข็มผ่าน ligamentum flavum และ dura จะรู้สึกว่ามีความหนืดต้านอยู่ ทันทีที่ทะลุผ่าน dura แรงต้านจะหายไป ให้เอา stylet ออก ตรวจสอบว่ามีน้ำไขสันหลังออกมาหรือไม่
- ถ้าไม่มีน้ำไหลออกมาให้ลองหมุนเข็ม 90 องศา ถ้ายังไม่มีน้ำไหลให้ใส่ stylet กลับเข้าไป แล้วเลื่อนเข็มเข้าไปอีกเล็กน้อย ตรวจสอบอีกครั้ง ถ้ายังไม่ไหลให้ดึงเข็มที่มี stylet ออกมา ให้ปลายเข็มอยู่ใต้ผิวหนังแล้วสอดเข็ม โดยเปลี่ยนทิศทางใหม่ ถ้าน้ำไขสันหลังมีเลือดปน อาจเป็น traumatic tap ถ้าไม่ไหลหรือมี clot ให้เปลี่ยนเข็มและอาจเปลี่ยนช่องไขสันหลังในระดับที่สูงขึ้น
- วัด opening pressure โดยใช้ manometer ควรทำทุกรายถ้าทำได้ เด็กที่ดิ้นมาก ไม่ให้ความร่วมมือ ค่าที่วัดได้อาจคลาดเคลื่อน ค่าที่วัดได้จะถูกต้องถ้าเด็กอยู่ในท่านอนตะแคง ไม่เกร็ง และน้ำไขสันหลังไหลดี ต่อเข็มเจาะน้ำไขสันหลังกับ manometer ผ่านท่อต่อ 3 ทาง จนระดับน้ำขึ้นได้สูงสุดใน manometer และขยับขึ้นลงตามการหายใจ ความดันปกติอยู่ที่ 5-20 เซนติเมตรน้ำ ถ้าขาและศีรษะเหยียดออก และถ้าผู้ป่วยอยู่ในท่าก้มศีรษะและงอขา ความดันปกติจะอยู่ที่ 10-20 เซนติเมตรน้ำ
- เก็บน้ำไขสันหลังจำนวนเท่าที่ต้องการส่งตรวจ
- วัด closing pressure จากนั้นใส่ stylet และเอาเข็มออก เช็ดผิวหนัง ปิดแผล
ข้อควรระวังและภาวะแทรกซ้อน
1.ควรหลีกเลี่ยงการเจาะไขกระดูกตรงตำแหน่ง sternum ในผู้ป่วยที่ไม่ให้ความร่วมมือหรือผู้ป่วยที่มีกระดูกบางกว่าปกติ เช่น ผู้ป่วย multiple myeloma, ผู้สูงอายุ เป็นต้น
2.การใช้ guard มีความจำเป็นในการเจาะไขกระดูกที่ sternum เพื่อป้องกันเข็มเจาะทะลุกระดูก ทำให้เกิด injuryต่ออวัยวะใกล้เคียง ซึ่งทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายถึงแก่ชีวิต ได้แก่ fatal hemorrhage,pericardial temponade, mediastinitis และ pneumomediastinum
3.ควรหลีกเลี่ยงการเจาะไขกระดูกในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของ coaglulation factors เพราะจะทำให้เลือดออกไม่หยุด
4.การเจาะไขกระดูกควรทำด้วยวิธี aseptic technique โดยเฉพาะมนผู้ป่วยที่เม็ดเลือดขาวต่ำถึงแม้โอกาสติดเชื้อจากการเจาะไขกระดูกจะพบน้อยมากก็ตาม
การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการเจาะไขกระดูก
1.อธิบายให้ผู้ป่วยทราบถึงเหตุผลของการเจาะ วิธีการเพื่อให้ผู้ป่วยเข้าใจและให้ความร่วมมือ
2.เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมด้วย aseptic technique
3.จัดท่าผู้ป่วยให้เหมาะสม
4.อยู่เป็นเพื่อนผู้ป่วยในระหว่างที่แพทย์ทำการเจาะไขกระดูก พร้อมกับสังเกตอาการผิดปกติ
5.หลังจากแพทย์เจาะเสร็จแล้วควรใช้สำลีหรือผ้าก๊อซกดแผลจนเลือดหยุดไหล หรือให้ผู้ป่วยนอนหงายทับ
6.วัดสัญญาณชีพผู้ป่วย
7.ประเมินอาการปวดแผลและสังเกตภาวะเลือดออกมากกว่าปกติบริเวณแผลเจาะ
ช่องไขสันหลังคืออะไร
เราขยับแขนขาร่างกายได้ก็ด้วยการสั่งงานจากสมองผ่านทางเส้นประสาท โดยเส้นประสาทจากสมองจะเดินทางลงมาตามแนวกระดูกสันหลังเรียกว่า”ไขสันหลัง” (Spinal cord) จากนั้นจึงจะแยกออกไปบังคับแขนขาต่อไป ด้วยความที่ไขสันหลังต่อออกมาจากสมองโดยตรง ดังนั้นจึงเปรียบเหมือนเป็นส่วนหนึ่งของสมอง ถ้าสมองมีการติดเชื้อ เชื้อโรคก็จะออกมาอยู่ในน้ำรอบๆสมองและลงมาตามไขสันหลัง ถ้าเส้นเลือดมีการแตกออกมาที่น้ำรอบๆสมอง ก็จะตรวจเจอเลือดในน้ำไขสันหลัง ถ้าสมองมีความดันเพิ่มขึ้น น้ำในไขสันหลังก็จะมีความดันที่เพิ่มขึ้น ดังนั้น การตรวจน้ำจากไขสันหลัง จึงคล้ายกับว่าเราตรวจน้ำที่มาจากสมอง เพียงแต่เปลี่ยนจากการเจาะกระโหลกศีรษะเข้าไปมาเป็นการเจาะที่หลังซึ่งง่ายและปลอดภัยกว่าแทน
น้ำไขสันหลัง ( Cerebrospinal fluid , CSF )
- หน้าที่สำคัญของน้ำไขสันหลัง คือ เป็นกันชนไม่ให้สมองและไขสันหลังได้รับการกระทบกระเทือนจากภายนอก รวมทั้งยังทำหน้าที่ในการขนส่งอาหารและลำเลียงของเสียต่าง ๆ ออกจากสมองด้วย
- หล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลัง
- น้ำไขสันหลังสามารถนำมาใช้ตรวจดูการติดเชื้อในระบบบประสาทส่วนกลางได้
- ในผู้ใหญ่จะมีปริมาณน้ำไขสันหลังประมาณ 90 – 150 มล.
- ในเด็กเล็กจะมีปริมาณ 10 – 60 มล.
- ปกติน้ำไขสันหลังจะใส ไม่มีเลือดปน ไม่มีเซลล์
- ถ้ามีอาจเป็นความผิดปกติจริงของผู้ป่วย
- แต่ก็อาจมาจากการเจาะเก็บตัวอย่างไม่ดี มีเลือดปนหรือการ contaminate การตรวจพบและรายงานค่าอาจผิดพลาดได้
- ความผิดปกติจากการบาดเจ็บ มีการอักเสบและการติดเชื้อ ที่ไขสันหลัง ทำให้ลักษณะสีเปลี่ยน เช่นชมพูแดงจากบาดเจ็บมีเลือดปน ขุ่นขาวจากหนองหรือ