การผ่าตัดเปลี่ยนแนวกระดูก (Osteotomy)

การผ่าตัดเปลี่ยนแนวกระดูก (Osteotomy) จะใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการเข่าโก่งเล็กน้อย ซึ่งแพทย์จะทำการผ่าตัดและปรับให้กระดูกเอียงกลับมาในทิศทางตรงกันข้าม เพื่อลดแรงผ่านข้อด้านที่มีการสึกมากกว่า โดยจำเป็นต้องใส่เหล็กดามเข้าไป เหมาะกับผู้ป่วยที่อายุน้อยและเข่ายังเสื่อมไม่มาก ที่สำคัญคือ เข่าต้องเสื่อมเพียงด้านเดียว (อาจเป็นด้านในหรือด้านนอกของเข่าก็ได้) อีกด้านหนึ่งต้องยังดีอยู่ ถ้าเข่าเสื่อมทั้ง 2 ด้าน หรือลูกสะบ้าเสื่อมมากๆ จะไม่สามารถผ่าตัดด้วยวิธีนี้ได้ ข้อเสียของการผ่าตัดด้วยวิธีนี้คือ ผู้ป่วยอาจจะเดินลงน้ำหนักได้ช้า คือ ต้องรอหลายสัปดาห์ถึงจะให้ลงน้ำหนักได้เต็มที่ และจะใช้เวลานานหลังผ่าตัดจึงจะหายปวด ส่วนข้อดีคือ ยังไม่ต้องใส่ข้อเทียมในเข่า และสามารถเก็บเนื้อกระดูกเดิมของคนไข้เอาไว้ได้อยู่

ข้อดี การผ่าตัดเปลี่ยนแนวกระดูก (Osteotomy)

1.ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตและเล่นกีฬาหนักๆ หรือการวิ่งและทํางานหนักๆได้ดีกว่าการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม ( TKA Total Knee Arthroplasty ) เพราะการผ่าตัดชนิดนี้แพทย์ยังสามารถเก็บข้อเข่าหมอนรองกระดูกข้อเข่าและผิวข้อคนไข้ไว้เหมือนเดิม ไม่ได้ตัดทิ้งโดยแพทย์อาจพิจารณาทําหัตถการเพิ่มเติมให้นอกจากทํา HTO คือทําการส่องกล้องเข้อเข่าให้ด้วย Arthroscopic surgery เพื่อเข้าไปจัดการรักษาเย็บซ่อม หรือแก้ไขหมอนรองกระดูกข้อเข่าที่ฉีกขาดและผิวข้อกระดูกอ่อนที่เป็นแผลให้ทีเดียวกันเลยโดยการผ่าตัดส่องกล้องข้อเข่าสามารถทําไปพร้อมกับการผ่าตัดHTO ในคราวเดียวกันได้เลยโดยเพิ่มเวลาผ่าตัดอีกประมาณ 30-45 นาทีเท่านั้น

2.ชลอการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียม ( TKA ) ออกไปได้หลายปี หรืออาการอาจจะหายเป็นปกติเลยจนไม่ต้องได้รับการผ่าตัดอื่นๆอีกแล้ว โดยเฉพาะในคนไข้ที่อายุยังไม่มากและยังต้องการใช้งานข้อเข่าหนักๆอยู่ ซึ่งการผ่าตัด TKA จะไม่สามารถให้ได้แบบนี้

ข้อเสีย การผ่าตัดเปลี่ยนแนวกระดูก (Osteotomy)

  1. ผู้ป่วยต้องเข่าใจการดูแลหลังผ่าตัดซึ่งจะใช้เวลานานกว่า ช่วงแรกใน 1-2 เดือนหลังผ่าตัดแพทย์อาจจะขอให้การเดินต้องใช้ไม้ค้ํารักแร้หรือ Walker เดินไปก่อน รอจนกว่ากระดูกที่จัดแนวจะสมานกัน
  2. คนไข้หลังผ่าตัดจําเป็นต้องทานยาบํารุงข้อเข่าหรือการฉีดน้ําเลี้ยงข้อเข่าต่อเนื่องแต่สามารถลดยาแก้ปวดลงได้เมื่ออาการหายแล้ว
[Total: 1 Average: 4]