ใส่สายอาหารทางหน้าท้อง (Percutaneous Endoscopic Gastrostomy: PEG)

ใส่สายอาหารทางหน้าท้อง (Percutaneous Endoscopic Gastrostomy: PEG) คือ การใส่สายยางให้อาหารทางหน้าท้อง โดยใช้กล้องส่องกระเพาะอาหารช่วยนำสายยางให้อาหารเจาะผ่านออกมาทางหน้าท้อง  วิธีนี้จะง่าย  สะดวก รวดเร็วและผู้ป่วยไม่ต้องเสี่ยงต่อการผ่าตัดใหญ่ ขนาดแผลหน้าท้องจะยาวเพียง 0.5 เซนติเมตร

ข้อบ่ครบ้างที่ควรใช้ PEG?

ผู้ป่วยทุกรายที่มีข้อบ่งชี้ในการใส่สายให้อาหารทางจมูกเป็นเวลานาน  เช่น ผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว หรือ มีปัญหาในการกลืน หรือ รับประทานอาหารเองไม่ได้ สามารถใช้วิธีนี้ได้ทั้งสิ้น โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการสำลักอาหารเข้าปอด ผู้ป่วยที่ดึงสายให้อาหารทางจมูกบ่อยครั้ง

ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องใส่สายให้อาหารทางจมูก (สาย NG , nasogastric tube) นานกว่า 4-6 สัปดาห์ ควรเปลี่ยนมาใช้ PEG เช่น ผู้ป่วยที่กินอาหารทางปากเองไม่ได้ หรือได้น้อยกว่าที่ร่างกายควรได้รับ ผู้ป่วยโรคสมอง ผู้ป่วยกลืนลำบาก ผู้ป่วยเสี่ยงการสำลัก ผู้ป่วยที่ต้องเว้นการกินทางปากบ่อยๆ จนขาดสารอาหาร เช่น เหนื่อยบ่อยจากโรคปอดหรือหัวใจ, ผู้ป่วยโรคมะเร็งปาก คอหอย และหลอดอาหารที่รอการฉายรังสีหรือผ่าตัด เป็นต้น

การดูแลสายให้อาหารทางหน้าท้อง

1.ทำความสะอาดสายให้อาหารด้านนอกและข้อต่อด้วยสบู่และน้ำสะอาด ส่วนสายสวนชนิดระดับผิวหนังใช้ไม้พันสำลีชุบน้ำสะอาดเช็ด

2.ไม่ควรหักหรือพับงอสายให้อาหารนานเกินไป อาจทำให้สายแตกหักหรือพับงอ ทำให้เกิดการอุดตันได้

3.กรณีใช้สายให้อาหารทางหน้าท้องชนิดลูกโป่ง ควรหมั่นตรวจสอบว่าตำแหน่งของสายที่ระดับผิวหนังอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง เนื่องจากสายอาจเลื่อนเข้าไปในกระเพาะมากเกินไป

4.ต้องดูแลให้ระดับบ่าท่อที่อยู่ทางหน้าท้องอยู่ที่ขีด 6 เซนติเมตร และควรหมุนตัวสายทุก 2 – 3 วัน เพื่อป้องกันการฝังตัวของหัวเปิดในช่องกระเพาะอาหาร

5.ไม่ควรใช้อาหารที่มีความร้อนเพราะจะทำให้อายุการใช้งานน้อยลง ซึ่งปกติจะใช้ได้นาน 6 – 8 เดือน

ข้อดีและข้อเสีย ใส่สายอาหารทางหน้าท้อง (Percutaneous Endoscopic Gastrostomy: PEG)

ข้อดี

  • ลดภาวะแทรกซ้อนจากการใส่สายให้อาหารทางจมูกเป็นเวลานาน อาทิ แผลกดทับจากสายที่ขอบจมูก โพรงจมูก ไซนัสอักเสบ
  • ลดความรำคาญหรือเจ็บจากสายในลำคอ
  • ลดการสำลักอาหารเข้าปอด
  • ลดความถี่ของการต้องเปลี่ยนสายจากทุกเดือนเป็นมากกว่า 6 เดือนครั้ง เนื่องจากสาย PEG ผลิตจากวัสดุที่คงทนกว่า จึงรองรับอาหารได้ดีกว่า และใช้ได้นานกว่า
  • เพิ่มประสิทธิภาพการฝึกกลืน
  • เพื่อความสวยงามเนื่องจากสามารถซ่อนสายไว้ภายในเสื้อผ้าได้
  • กรณีไม่จำเป็นต้องใส่สายต่อไป เช่น หลังฉายรังสีครบ หรือหายจากโรคต้นเหตุจนทำให้กลับมากินทางปากได้ดีปกติ เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย  ก็สามารถนำสาย PEG ออกโดยแพทย์ และรูแผลจะปิดเองภายใน 2-3 วัน หรือกรณีวันที่กินเองทางปากได้ดี ก็เพียงปิดจุก PEG ไว้ไม่ต้องใช้งาน

ข้อเสีย

  • ผู้ป่วยจะมีแผลเล็กๆที่หน้าท้อง และจะรู้เจ็บแผลหลังใส่ครั้งแรกประมาณ 2-3 วัน
  • ต้องมีการดูแลหมุนสาย และทำแผลด้วยน้ำเกลือวันละ1 ครั้ง
  • ค่าใช้จ่ายการทำ ค่าวัสดุสูงกว่า NG โดยเฉพาะในการใส่ครั้งแรก
[Total: 1 Average: 4]