การตรวจสมรรถภาพปอด (Pulmonary function test: PFT)

การตรวจสมรรถภาพปอด (Pulmonary function test: PFT) คือ การตรวจที่สำคัญและมีประโยชน์อย่างยิ่งในกระบวนการคัดกรองโรคปอดจากการทำงานตั้งแต่ในระยะเนิ่นๆ ก่อนที่จะมีอาการ เนื่องจากปอดเป็นอวัยวะที่มีความอดทนต่อการเปลี่ยนแปลของสภาพอากาศได้ค่อนข้างดี อาการเหนื่อยง่าย ไอเรื้อรัง หรือหอบเหนื่อย จึงมักปรากฏหลังจากพยาธิสภาพในปอดเกิดขึ้นมากแล้ว การตรวจสมรรถภาพปอดจึงถือว่าเป็นการตรวจคัดกรองเบื้องต้นที่ได้มาตรฐานในงานอาชีวอนามัย

วัตถุประสงค์ การตรวจสมรรถภาพปอด (Pulmonary function test: PFT)

1.เพื่อประเมินการระบายอากาศหายใจก่อนผ่าตัด
2.เพื่อประเมินผลก่อนและหลังจากการักษาด้วยยาขยายหลอดลม
3.เพื่อวิเคราะห์แยกโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังว่าเป็นชนิดใด  เช่น ปอดถูกจำกัดการขยายตัวหรือปอดขยายตัวได้ไม่เต็มที่ (restrictive) พบในผู้ป่วยผ่าตัดปอดออกทั้ง 2 ข้าง (pneumonectomy) มีพังผืดเกาะในปอด (pulmonary fibrosis) ปอดอักเสบ หรือปอดบวม (pneumonia) หรือปอดมีการอุดกั้น (obstructive) หรือมีความยืดหยุ่น  ตัวลดลง พบในโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง (chronic bronchitis) หรือถุงลมปอดโป่งพอง (pulmonary emphysema)

การเตรียมผู้ป่วย การตรวจสมรรถภาพปอด (Pulmonary function test: PFT)

1.อธิบายวิธีการตรวจให้ผู้ป่วยทราบ
2.บอกผู้ป่วยให้งดยาขยายหลอดลมหรืองดสูบบุหรี่ 6 ชั่วโมงก่อนตรวจ
3.วัดและบันทึกส่วนสูงและน้ำหนักผู้ป่วยก่อนตรวจ

การตรวจสมรรถภาพปอด (Pulmonary Function Tests) เป็นการตรวจที่สำคัญและมีประโยชน์อย่างยิ่งในกระบวนการวินิจฉัย, ประเมินและติดตามผลการรักษาโรคระบบการหายใจเช่น โรคหืด, โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, โรคปอดจากการทำงาน เป็นต้น นอกจากนี้การตรวจสมรรถภาพปอด ยังสามารถบ่งถึงการเสื่อมของการทำงานของปอดก่อนที่อาการแสดงทางคลินิกจะเริ่มปรากฏ เนื่องจากปอดเป็นอวัยวะที่มีความสามารถสำรองสูง อาการเหนื่อยจึงมักปรากฏหลังจากพยาธิสภาพในปอดเกิดขึ้นมากแล้ว โดยการตรวจสมรรถภาพปอดเป็นการตรวจที่ต้องอาศัยความร่วมมือของผู้ป่วยอย่างมากในการออกแรงเป่าอย่างเต็มที่ (maximal effort) การสูดลมและการเป่าต้องทำ ทางปากซึ่งไม่ใช่สิ่งที่คุ้นเคยสำหรับคนส่วนใหญ่ นอกจากนั้นจังหวะในการสูดลมและการเป่ามีความสำคัญมากเช่นเดียวกัน ผู้ควบคุมการตรวจ (technician) จึงจำเป็นต้องมีความเข้าใจ ความชำนาญ และประสบการณ์ ในการตรวจ ผลการตรวจจึงจะเป็นที่น่าเชื่อถือ

ข้อควรคำนึงถึงก่อนส่งพนักงานเข้ารับการตรวจสมรรถภาพปอดสำหรับสถานประกอบการ    

  1.เครื่องมือในการตรวจ ต้องได้รับการตรวจสอบคุณภาพเป็นระยะตามที่กำหนดไว้ และมีเอกสารรับรองการสอบเทียบเครื่องมือมาแสดงในวันที่ตรวจ

  2.คุณวุฒิของผู้ที่ทำการตรวจ   ควรมีการตรวจสอบคุณวุฒิของผู้ที่อยู่ประจำเครื่องที่หน้างานทุกครั้ง เนื่องจากการตรวจสมรรถภาพปอดที่จะให้ผลอย่างถูกต้อง  ต้องอาศัยเทคนิคการตรวจจากบุคคลากรที่ได้รับการอบรมมาเป็นอย่างดี

  3.เทคนิคในการตรวจ   ต้องมีการให้คำแนะนำพนักงานก่อนการตรวจอย่างครบถ้วนและถูกต้องทุกเคส  เพื่อให้เป่าให้ดีที่สุดในทุกเคส และต้องให้เป่าอย่างน้อย  3 ครั้งเพื่อให้สามารถเลือกผลที่ดีที่สุดมาแปลผล

ใครบ้างที่ควรได้รับการตรวจสมรรถภาพปอดเป็นประจำทุกปี เพื่อเฝ้าระวังโรคจากการทำงาน

  – อาชีพที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการสัมผัสไอระเหย ฝุ่น ควัน เช่น ทำงานภายในโรงงานที่มีฝุ่น-ควัน-เมืองแร่-ปูน เป็นต้น

  – พนักงานที่สัมผัสสารเคมีชนิดต่างๆในระหว่างการทำงาน

  – พนักงานที่ทำงานต่างๆที่ต้องอาศัยระบบการทำงานของระบบหายใจที่มีประสิทธิภาพ กลุ่มที่ต้องเข้าทำงานในพื้นที่อับอากาศ การทำงานบนที่สูง

  – พนักงานที่สูบบุหรี่เป็นประจำ  หรือมีโรคประจำตัว

[Total: 1 Average: 5]