การผ่าตัดต่อมลูกหมากออกทั้งหมด (Radical Prostatectomy)

การผ่าตัดต่อมลูกหมากออกทั้งหมด (Radical Prostatectomy) คือ การผ่าตัดใหญ่เพื่อเอาต่อมลูกหมากที่เป็นมะเร็งรวมทั้งต่อมน้ำเหลืองออกทั้งหมด เป็นวิธีการที่สามารถทำให้หายจากโรคได้ ผู้ป่วยที่ผ่าตัดได้สำเร็จจะมีพยากรณ์โรคดีมาก มะเร็งในระยะที่ 1 จะมีอัตราการรอดชีวิตใน 10 ปีสูงถึงร้อยละ 80 ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดต้องมีสุขภาพที่แข็งแรง โดยทั่วไปไม่นิยมผ่าตัดในผู้ป่วยอายุมากกว่า 70 ปี ผลข้างเคียงที่อาจพบหลังผ่าตัด ได้แก่ การสูญเสียสมรรถภาพทางเพศ ท่อปัสสาวะตีบ และปัสสาวะเล็ด เป็นต้น

Robotic Radical Prostatectomy คืออะไร ?

การผ่าตัด (Robotic radical prostatectomy) คือ การผ่าตัดโดยเอาต่อมลูกหมากที่มีเซลล์ที่ผิดปกติ และ ต่อมน้ำเหลืองบริเวณอุ้งเชิงกรานออก การผ่าตัดโดยใช้หุ่นยนต์นี้จะมีข้อดีในแง่ของการฟื้นตัวจากการผ่าตัดที่ไม่มีผลข้างเคียงในระยะยาวที่ดีกว่าการผ่าตัดแบบเดิม คือ แบบเปิดหน้าท้อง (Open radical prostatectomy method) โดยโรงพยาบาลศิริราชได้มีการนำเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดเข้ามาใช้ คือ การผ่าตัดโดยใช้หุ่นยนต์ที่เรียกว่า Robotic Surgery โดยหุ่นยนต์ที่ติดตั้งนี้มีชื่อว่า da Vinci Surgical System ซึ่งการผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์นี้จะช่วยให้แพทย์สามารถผ่าตัดและฟื้นตัวไวกว่าการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง จากการศึกษาพบว่าการผ่าตัดโดยใช้หุ่นยนต์จะสามารถพัฒนาการควบคุมโรคมะเร็งและอาการของโรคของผู้ป่วยสามารถกลับไปสู่ภาวะปกติได้เร็ว แต่อย่างไรก็ตามประโยชน์ของการผ่าตัดโดยใช้หุ่นยนต์นี้ก็ยังต้องขึ้นอยู่กับผู้ป่วยแต่ละรายซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาเป็นรายบุคคลว่ามีความเหมาะสมเพียงใดในการรักษาโดยการผ่าตัดโดยใช้หุ่นยนต์

เป็นตัวเลือกในการรักษามะเร็งที่คาดว่าจะแพร่กระจายออกนอกต่อมลูกหมาก โดยวิธีหลักคือ การผ่าเอาต่อมลูกหมากทั้งหมดออกไป รวมถึงเนื้อเยื่อบริเวณรอบ ๆ และต่อมน้ำเหลืองบางส่วนออก การรักษาด้วยวิธีนี้แพทย์จะหวังผลให้โรคหายขาดถ้าระยะของโรคยังอยู่ในระยะแรก และสามารถใช้เป็นการรักษาร่วมกับการฉายรังสีและการให้ฮอร์โมนได้ในรายที่มะเร็งมีการแพร่กระจายออกนอกต่อมลูกหมาก แต่ยังไม่แพร่กระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองและอวัยวะอื่น ๆ แพทย์มักใช้วิธีนี้กับผู้ป่วยที่ยังมีสุขภาพโดยรวมแข็งแรง มีอายุต่ำกว่า 65 ปี หรือคาดว่าจะมีชีวิตอยู่ได้นานเกิน 10 ปี และก้อนมะเร็งยังจำกัดอยู่เฉพาะที่ภายในต่อมลูกหมากเท่านั้น ยังไม่แพร่กระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองและอวัยวะอื่น ๆ

[Total: 1 Average: 5]