การผ่าตัดปลูกถ่าย/เปลี่ยนผิวหนัง (skin graft)

การปลูกถ่ายผิวหนัง (Skin grafting) เป็นการผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการปลูกถ่ายผิวหนัง เนื้อเยื่อที่ปลูกถ่ายเรียกว่าการปลูกถ่ายผิวหนัง ศัลยแพทย์อาจใช้การปลูกถ่ายผิวหนังเพื่อรักษา: การกระทบกระทั่งอย่างกว้างขวางหรือการบาดเจ็บ การเผาไหม้

การปลูกถ่ายผิวหนังเป็นการย้ายผิวหนังจากบริเวณที่จะนำไปปลูกถ่าย ซึ่งเรียกว่า บริเวณผู้ให้ (donor site) ไปวางลงบริเวณบาดแผลเปิดที่เรียกว่า บริเวณผู้รับ (recipient site) โดยหนังที่ถูกถากไป จะถูกตัดขาดอย่างสิ้นเชิงจากบริเวณผู้ให้ และจะสามารถรอดอยู่ได้ และ “ติด” (take) ในบริเวณผู้รับ เนื่องจาก ได้รับสารอาหารออกซิเจนจากบริเวณที่ผิวหนังปลูกถ่ายที่นำไปวางลงไว้นั้น ดังนั้น บริเวณนั้นต้องไม่ใช่บริเวณซึ่งเป็นกระดูก ที่ไม่มีเยื่อหุ้ม หรือบริเวณที่มีเลือดมาเลี้ยงน้อย เช่น บาดแผลที่ถูกฉายรังสี รวมทั้งบริเวณที่มีเส้นเอ็นหรือเส้นประสาท ที่ไม่มีเยื่อหุ้มโผล่ออกมา ซึ่งกรณีเหล่านี้ต้องพิจารณาใช้แผ่นหนัง (skin flap) แทน

ผิวหนังที่ปลูกถ่ายมานี้อาจมีขนาดความหนาเท่ากับผิวหนังเอง เรียกว่า full-thickness skin graft หรืออาจถากมาบางๆ เพียงบางส่วนของผิวหนัง เรียกว่า partial-thickness skin graft โดยในกรณีแรกบริเวณผู้ให้นั้นจะต้องเย็บปิดได้ ซึ่งมักใช้บริเวณ ที่ผิวหนังหย่อนพอควร เช่น หลังหู เหนือกระดูกไหปลาร้า ขาหนีบ ส่วนในกรณีหลังมักใช้บริเวณต้นขาอ่อน หรือบริเวณก้น ผิวหนังที่ถูกถากออกไปสามารถที่จะหายเองได้ โดยการงอกของเซลล์ผิวหนังจากต่อมเหงื่อ ต่อมไขมัน และรูขุมขนบริเวณนั้น

[Total: 1 Average: 5]